รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากบรัสเซลส์ ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2562
โดย สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ (ปว. (บซ.))
คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกกฎระเบียบ Commission Regulation (EU) 2018⁄1847 เพื่อแก้ไขภาคผนวกของกฎระเบียบ Regulation (EC) No 1223⁄2009 ซึ่งว่าด้วยการใช้สาร Biphenyl-2-ol (ชื่อสามัญ: o-Phenylphenol) เพื่อเป็นวัตถุกันเสียในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยมีสาระสำคัญ 3 ประเด็น ดังนี้
1 สาร Biphenyl-2-ol ได้รับอนุญาตให้ใช้ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง โดยจะต้องมีความเข้มข้นสูงสุดไม่เกินร้อยละ 0.2 (คำนวณในรูป phenol)
2 ในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางทสำหรับผิวหนังหรือผมที่มีการล้างผลิตภัณฑ์นั้น ๆ ออกด้วยน้ำหลังจากการใช้ (rinse-off products) จะมีส่วนผสมของ Biphenyl-2-ol ณ ความเข้มข้นสูงสุดได้ไม่เกินร้อยละ 0.2 ในขณะที่ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางสำหรับผิวหนังหรือผม ที่ไม่มีการล้างออกด้วยน้ำหลังจากการใช้ (leave-on products) จะมีส่วนผสมของ Biphenyl-2-ol ณ ความเข้มข้นสูงสุดได้ไม่เกินร้อยละ 0.15 หากความเข้นข้นของ Biphenyl-2-ol เกินกว่าปริมาณที่กำหนดไว้ ให้ถือว่าผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางนั้นไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และในการใช้มีข้อควรระวัง คือ ให้หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับสาร Biphenyl-2-ol ในบริเวณรอบดวงตา
3 การประกาศห้ามใช้หรือวางขายผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของ Sodium 2-biphenylate, Potassium 2-biphenylate และ 2 -aminoethan-1-ol ซึ่งเป็นเกลือของสาร Biphenyl-2-ol เนื่องจากเกลือเหล่านี้มีความสามารถในการซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ดีกว่าสาร Biphenyl-2-ol จึงมีความเป็นพิษสูงกว่า Biphenyl-2-ol โดยให้มีผลบังคับใช้กฎระเบียบนี้ตั้งแต่วันที่ 17 มิถุนายน 2562 โดยสามารถอ่านกฎระเบียบฉบับเต็มได้ที่: http://obeliscosmetics.net/wp-content/uploads/2018/11/CELEX_32018R1847_EN_TXT-002.pdf
เผยแพร่ข่าว : นางสาวศิริลักษณ์ สิกขะบูรณะ
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : sciencethailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.