รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากกรุงบรัสเซลส์ ประจำเดือนธันวาคม 2563
ตลอดทั้งปี 2563 สหภาพยุโรปได้ให้งบสนับสนุนการ วิจัยอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัยวิธีการรักษา และวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 รวมทั้งได้ กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกวัคซีนในการจัดทำซื้อขาย วัคซีนล่วงหน้าและเดินหน้าเจรจาทำข้อตกลงซื้อขาย วัคซีนสำหรับโรคโควิด-19 กับบริษัทต่าง ๆ ที่พัฒนา วัคซีนซึ่งให้ผลกรทดสอบทางคลินิกเป็นที่น่าพอใจ ทั้งนี้ถือเป็นภารกิจภายใต้กรอบกลยุทธ์ EU vaccines stratesy โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อช่วยให้แต่ละประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปสามารถจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ได้ รวมทั้งการบริจาควัคซีนให้กับประเทศที่มี รายได้ต่ำและปานกลาง หรือให้กับประเทศในเขต เศรษฐกิจยุโรป (EEA)
โดยปัจจุบันมีบริษัทเวชภัณฑ์จำนวน 6 บริษัทที่สหภาพ ยุโรปได้จัดทำข้อตกลงซื้อวัคซีนแล้ว ได้แก่ บริษัทBioNTech-pizer บริษัท Moderna บริษัท AstraZeneca บริษัท Sanof-GSK บริษัท Janssen Pharmaceutica NV และบริษัท CureVac ซึ่งวัคซีนที่ถูกพัฒนาขึ้นจากบริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้ผ่านการทดลองทางคลินิกขั้นที่ 3 แล้วและคาดว่าจะมีการเริ่มฉีดวัคซีนจากบางบริษัท เช่น BioNTech-Pfzer และ Moderna ในสหภาพยุโรปได้ตั้งแต่เดือนมกราคม2564 หลังจากได้รับการอนุมัติจากองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (European Medicines Asency, EMA) ในเดือนธันวาคม 2563 โดยวัคซีนจากทั้ง 6 บริษัทมีความแตกต่างกันด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการพัฒนาวัคซีน ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
เผยแพร่ข่าว : นายธัชนนท์ บุญหล้า
ส่วนสื่อสารองค์กร สำนักบริหารกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.