ดาวน์โหลด วารสารวิทย์ปริทัศน์ จากกรุงวอชิงตัน ประจำเดือนตุลาคม 2564 ฉบับที่ 10/2564
สวัสดี ท่านผู้อ่านที่เคารพ
พบกันในวิทย์ปริทัศน์ ฉบับเดือนตุลาคม 2564 ต้อนรับฤดูใบไม้ร่วง กลับสู่ฤดูกาลที่เราจะเห็น สัตว์ป่า ที่เคยหลบซ่อนตัวในสุมทุมพุ่มไม้ ออกปรากฎตัวให้เห็นก่อนจะหลบหลีกหาที่กบดานจําาศีลใน ช่วงฤดูหนาวที่เข้ามาถึง ท่านผู้อ่านทราบหรือไม่ว่า ในปีๆ หนึ่งนั้น ในสหรัฐอเมริกามีคนเข้าป่าไปล่า สัตว์จําานวนมาก กลับจากเข้าป่าล่าสัตว์ แล้วก็มีอาการของแถมบางอย่าง เป็นไข้ ป่วย อ่อนเพลีย เช่น เดียวกับปรากฏการณ์เขย่าโลก ที่คนจีนในนครอู่ฮั่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เข้าไปช้อปปิ้งเนื้อสัตว์ป่า ประหลาดๆ มาบริโภค แล้วก็เกิดอาการปอดอักเสบ ล้มตายเป็นจําานวน และแพร่อาการดังกล่าวไป ทั่วโลก ในฐานะของโรคติดต่อร้ายแรง โควิด-19
อาการทั้งหลายเหล่านี้ ไม่ได้เพิ่งมาเกิดขึ้นมีขึ้นในยุคปัจจุบัน ตามภาษาโบราณ ไม่ว่าจะเป็นชาว อินเดียนแดงในอเมริกา หรือชนชาติอี๋ ในหุบเขามณฑลเสฉวน ก็เคยอธิบายอาการเหล่านี้ไว้พอสังเขป ใน ลักษณะของภาวะผีป่าเข้าสิง หรือวิญญาณสัตว์ป่าที่ถูกล่าเข้าสิง แต่หารู้ไม่นั้น สิ่งที่เข้าสิงคนเหล่านั้น หาได้เป็นวิญญาณสัตว์ป่าแต่อย่างใด แต่กลายเป็นการเข้าป่วนเซลล์์ในร่างกายมนุษย์ จากเชื้อโรคนานา พันธุ์ จําานวนนับไม่ถ้วนที่อาศัยอยู่ร่วมกับสัตว์ป่า หรืออยู่กับสัตว์จําาพวกแมลงที่อาศัยอยู่ในป่า หรือเกาะ อยู่ตามตัวสัตว์ป่า เช่น เหลือบ ยุง ริ้น ไร เห็บ หมัด เหา เป็นต้น และที่กล่าวมานี้ ก็คือ ปรากฏการณ์ ของการแพร่กระจายโรคจากสัตว์สู่คน
ในทางพระพุทธศาสนา เวไนยสัตว์หรือเดรัจฉานที่เป็นเพื่อนทุกข์ ก็เวียนว่ายตายเกิดข้ามไปมา ตามกฎแห่งกรรม ในทางวิทยาศาสตร์ สัตว์ทั้งหลาย จากชั้น อันดับ วงศ์ สกุล ก็มีระบบวิวัฒนาการของ ร่างกายที่มีความใกล้เคียงสัมพันธ์กัน จึงมีโอกาสติดโรคต่างๆ จากกันได้ไม่มากก็น้อย และโดยเฉพาะใน สถานการณ์ปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของ โควิด – 19 ยิ่งให้เห็นความสําาคัญของศาสตร์ว่าด้วย สุขภาพ หนึ่งเดียว (One Health) คนและสัตว์มีชีวิตที่สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ได้ โดยเฉพาะภาวะของการเจ็บไข้ ได้ป่วย
ดังนั้น ในโอกาสที่วันที่ 4 ตุลาคม ถูกกําาหนดให้เป็นวันสัตว์โลก (World Animal Day) เราลอง มารับทราบสาระข้อมูลเกี่ยวกับ One Health เมื่อชีวิตมนุษย์มีความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิดกับชีวิตสัตว์ อื่นบนโลกนี้ ดังนั้น สุขภาพของสัตว์ก็มีความเกี่ยวข้องกับมนุษย์ด้วยนั่นเอง
เผยแพร่ข่าว : นายธัชนนท์ บุญหล้า
กลุ่มสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.