แนวโน้มตลาดอาหารฉายรังสีเป็นช่วงขาขึ้น
มีรายงานจากเชิงลึกจากเว็บไซต์ Future Market Insights เกี่ยวการศึกษาภาพรวมตลาดสินค้าประเภทอาหารฉายรังสี ทั้งจากการฉายรังสีแกมมา รังสีเอกซ์ และอิเล็กตรอนบีม การศึกษาครอบคลุมประเทศในภูมิภาคต่างๆ มากกว่า 30 ประเทศ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร เยอรมนี ฝรั่งเศส นอร์เวย์ สวีเดน ซาอุดิอารเบีย สหรับอาหรับเอมิเรสต์ เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ญี่ปุ่น และอื่นๆ โดยในปี 2023 ตลาดอาหารฉายรังสีมีมูลค่าถึง 312 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราว 11,000 ล้านบาท และคาดว่าตลาดจะโตขึ้นอย่างน้อยปีละ 6 % โดยในปี 2033 คาดว่าตลาดอาหารฉายรังสีจะมีมูลค่า 540.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 19,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ตลาดอาหารฉายรังสีโตขึ้นได้ ก็ต้องมาจากการผู้บริโภคยอมรับประโยชน์อาหารฉายรังสี ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการช่วยให้ผู้บริโภคหลีกเลี่ยงความเจ็บป่วย นอกจากนั้นประโยชน์ของการฉายรังสีเป็นการถนอมอาหารวิธีหนึ่ง ที่ช่วยให้อาหารยังสามารถยืดอายุการเก็บรักษาอาหารได้อีกด้วย ส่งผลให้ธุรกิจทั่วโลกได้รับประโยชน์จากตลาดผลิตภัณฑ์ถนอมอาหาร ทำให้ยืดอายุผลิตภัณฑ์ และทำให้ปลอดเชื้อ และเป็นวิธีที่ได้รับการรับรองจาก องค์การอนามัยโลกว่าปลอดภัย และไม่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนต่อสุขภาพ
สำหรับอาหารฉายรังสีฉายรังสีในประเทศไทยก็เริ่มมีจำหน่ายกันมากว่า 30 ปีแล้ว โดยการฉายรังสีสามารถฉายได้ในอาหารสด อาหารแช่แข็ง อาหารแห้ง อาหารสัตว์ และสมุนไพร ถึงแม้การฉายรังสียังไม่เป็นที่แพร่หลายมากนักในประเทศไทย แต่แนวโน้มของผู้ประกอบการที่นำผลิตภัณฑ์มารับบริการฉายรังสีก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี
ที่มา : https://www.facebook.com/thai.nuclear
สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ(สทน.)
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.