แนวทางการส่งเสริม ประเทศไทยสู่ฐานยานยนตร์ไฟฟ้าแห่งอนาคต
จากกระแสของเทคโนโลยีเปลี่ยนโลก (Disruptive Technology) คงทำให้เราปฏิเสธกันไม่ได้ว่า เทคโนโลยีรถยนตร์ไฟฟ้าเป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีสำคัญเปลี่ยนโลกที่หลายประเทศจับตามอง ซึ่งการเปลี่ยนผ่านจาก อุตสาหกรรมรถยนต์สู่รถยนตร์ไฟฟ้า ถือว่ามีความท้าทายสูง ทั้งในแง่ของการแข่งขันในตลาดที่สูง และความพร้อมในการพัฒนาเทคโนโลยีให้ตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภค
ประเทศไทยเป็นฐานผลิตรถยนต์มาอย่างยาวนาน มีห่วงโซ่คุณค่าด้านยานยนต์ที่ครบวงจร บุคลากรมีความเชี่ยวชาญ ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมาทําให้อุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยมีความเข้มแข็งเป็นลําดับต้น ๆ ในอาเซียน แต่ในปัจจุบันไม่ว่าจะด้วยเหตุผลด้านสิ่งแวดล้อม การต้องการลดค่าใช้จ่ายหรือการบํารุงรักษาง่าย ทําให้ตลาดรถยนต์ไฟฟ้าเติบโตอย่างรวดเร็วนําไปสู่การเปลี่ยนแปลงคร้ังใหญ่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลก ประเทศไทยจึงจําเป็นต้องสร้างองค์ความรู้ทางเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ ที่ช่วยยกระดับประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ของไทยจาก “ผู้รับจ้างผลิต” ให้เป็น “ผู้พัฒนาเทคโนโลยี” ซึ่งจะสามารถเพิ่มมูลค่าจากการผลิต และช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน
จึงเป็นที่มาของ การจัดทำแผนของ สกสว. แผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ด้าน ววน.) ควบคู่กับจัดสรรงบประมาณด้าน ววน. ผ่านกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) ดําเนินงานตาม แผนงานตามจุดมุ่งเน้นสําคัญ (Flagship) ในแผนด้าน ววน. (F6 (S 1P7)) เร่งพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และเทคโนโลยีเกี่ยวเนื่อง ให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตของอาเซียน โดยการสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาและยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน สําหรับใช้ในการทําวิจัยและ พัฒนาเทคโนโลยี เช่น สนามทดสอบ การทดสอบแบตเตอรี่ มอเตอร์ หรือระบบซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่นอกจากจะทดสอบเพื่อการวิจัยแล้ว ยังทดสอบเพื่อการพัฒนาให้ได้มาตรฐานโลก
นอกจากนี้ กระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ประกาศเดินหน้าแผนพัฒนาระบบนิเวศยานยนต์ไฟฟ้าของประเทศทันที โดยมีนโยบายเร่งดำเนินการใน 3 แผนงาน คือ
?? 1) EV-HRD พัฒนาทักษะกำลังคนเพื่ออุตสาหกรรมไฟฟ้า
?? 2) EV-Transformation การเปลี่ยนผ่านจากการใช้รถยนต์ระบบสันดาป (ICE) มาเป็น EV ในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานในกระทรวง
?? 3) EV-Innovation การสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างนวัตกรรมใน EV
โดยเป้าหมายของนโยบาย “อว For EV” ในการส่งเสริมอุตสาหกรรมยานยนต์ในไทย คือ การทำให้ประเทศไทยเป็น EV Hub ที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และผลิตยานยนต์ที่ไม่ปล่อยมลพิษ (Zero Emission Vehicle: ZEV) ให้ได้อย่างน้อย 30% ของการผลิตยานยนต์ทั้งหมดของประเทศไทยในปี 2030 (พ.ศ. 2573)
✳️ ทั้งหมดนี้เป็นเพียงโครงการบางส่วนในการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า ที่พร้อมนำไปสนับสนุน ส่งเสริมและขับเคลื่อนการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ต่อไป ให้สังคมได้รับรู้และเห็นความสำคัญของการลงทุนด้าน วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ของประเทศต่อไป
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.)
https://www.facebook.com/ThailandScienceResearchandInnovation
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กลุ่มสื่อสารองค์กร
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : MHESIThailand
Instagram : mhesithailand
Tiktok : @mhesithailand
X (Twitter) : @MHESIThailand
YouTube : @MHESIThailand
Call Center 1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.