ภาวะโลกร้อนทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ หลายฝ่ายร่วมหาทางแก้ไข เช่นเดียวกับไทย ที่วันนี้จะพาไปรู้จักกับแนวทางการศึกษาที่นอกจากจะช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์แล้ว ยังสามารถนำคาร์บอนไดออกไซด์ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เมทานอลได้อีกด้วย
พาส่อง 7 แนวทางการศึกษาการใช้ประโยชน์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ผลิตภัณฑ์เมทานอล
?หนึ่งในปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาโลกร้อน มาจากการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกออกสู่บรรยากาศจากกิจกรรมของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นจากอุตสาหกรรมการผลิต การผลิตไฟฟ้า การเกษตรกรรมและปศุสัตว์ และการขนส่ง เป็นต้น ซึ่งทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยล้วนตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว และได้มีการประกาศมุ่งสู่เป้าหมายที่จะบรรลุ “ความเป็นกลางทางคาร์บอน ภายในปี 2050” ซึ่งแนวทางในการนำประเทศไปสู่เป้าหมายได้อย่างยั่งยืนคือ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูงเข้ามาสนับสนุน รวมถึงการสร้างต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำในพื้นที่ที่มีศักยภาพ ภายใต้ความร่วมมือทั้งจากภาครัฐ เอกชน และชุมชน
?ในส่วนการสร้างต้นแบบเมืองคาร์บอนต่ำในพื้นที่ที่มีศักยภาพ กระทรวง อว. โดย สอวช. ได้ร่วมกับสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย (Thai Cement Manufactures Association: TCMA) สมาคมคอนกรีตแห่งประเทศไทย (Thailand Concrete Association: TCA) และภาคีต่าง ๆ โดยเฉพาะจังหวัดสระบุรี ร่วมขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาเขตนวัตกรรม Net Zero Emission “สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ (Saraburi Sandbox)” โดยดำเนินการด้านนวัตกรรม การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูงเข้ามาสนับสนุนการช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งจำเป็นต้องมีการศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์จากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มาเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับประเทศไทย
จึงได้เกิดโครงการการศึกษาการใช้ประโยชน์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เมทานอล ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบูรณาการความร่วมมือการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพัฒนาเขตนวัตกรรม Net Zero Emission สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ (Saraburi Sandbox) ระหว่าง สอวช. กับ สมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย ขึ้น เพื่อสนับสนุนให้เกิดเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องที่จะช่วยขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ของประเทศ สนับสนุนการดำเนินการ Saraburi Sandbox ซึ่งหากมีการดำเนินการใช้ประโยชน์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ผลิตภัณฑ์เมทานอลอย่างแพร่หลาย คาดว่าจะสามารถช่วยลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของไทยลงได้ถึง 12 ล้านตัน
?โครงการนี้จึงถือเป็นก้าวสำคัญในการเปลี่ยน “วิกฤติโลกร้อน” ให้เป็นโอกาสในการพัฒนา “เศรษฐกิจสีเขียว” ที่จะช่วยทั้งลดก๊าซเรือนกระจก และยังได้พัฒนาขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศอีกทางหนึ่งด้วย
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่ คลิก
ที่มา : โครงการการศึกษาการใช้ประโยชน์ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์เมทานอล ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การบูรณาการความร่วมมือการจัดการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และพัฒนาเขตนวัตกรรม Net Zero Emission สระบุรีแซนด์บ็อกซ์ (Saraburi Sandbox) ระหว่าง สอวช. (สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ) กับสมาคมอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ไทย
สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
https://www.facebook.com/NXPOTHAILAND
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กลุ่มสื่อสารองค์กร
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : MHESIThailand
Instagram : mhesithailand
Tiktok : @mhesithailand
X (Twitter) : @MHESIThailand
YouTube : @MHESIThailand
Call Center 1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.