SMRs มีข้อดีอย่างไร ทำไมหลายประเทศจึงอยากมี++
เมื่อเร็วๆนี้มีข่าวว่า Google บริษัทเทคโนโลยีและซอฟต์แวร์ชั้นนำของโลก ได้ลงนามข้อตกลงในการซื้อไฟฟ้า จากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ผลิตจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แบบโมดุลขนาดเล็ก หรือ SMRs ที่กำลังก่อสร้างโดย Kairos Power บริษัทด้านอุตสาหกรรมพลังงานจากแคลิฟอร์เนีย โดยบริษัท Kairos Power กำลังก่อสร้างโรงไฟฟ้าและคาดว่าจะส่งเข้าระบบกริดได้ครั้งแรกในปี 2573 และจะมีโรงไฟฟ้า SMRs ก่อสร้างและส่งไฟฟ้าเข้าระบบอย่างต่อเนื่องจนถึงปี 2578 โดยรวมแล้วข้อตกลงการซื้อไฟฟ้าของ Google จากโรงไฟฟ้า SMRs ของบริษัท Kairos Power นั้นจะอยู่ที่ราว 500 เมกกะวัตต์ โดยการสั่งซื้อไฟฟ้าในครั้งนี้เพื่อนำไปใช้ในศูนย์ข้อมูลหรือ Data Center ด้าน AI เพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ การขับเคลื่อนความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และยังสามารถเป็นส่วนในการสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาด โดยชุมชนมีส่วนร่วมในการช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายสำคัญของประเทศต่างๆทั่วโลก
จะเห็นว่าการใช้พลังงานนิวเคลียร์ในการผลิตไฟฟ้าถูกทั่วโลกนำกลับมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการพัฒนารูปแบบของโรงไฟฟ้านิวเคลียร์โมเดลใหม่ที่ เรียกว่า Small Modular Reactors : SMRs ถ้างั้นเราลองมาดูกันว่าจุดเด่นสำคัญๆ ที่ทำไมประเทศต่างๆจึงให้ความสนใจโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ประเภทนี้
ที่มา : สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.)
https://www.facebook.com/@thai.nuclear
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กลุ่มสื่อสารองค์กร
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : MHESIThailand
Instagram : mhesithailand
Tiktok : @mhesithailand
X (Twitter) : @MHESIThailand
YouTube : @MHESIThailand
Call Center 1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.