ศิริราช ก้าวแรกเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพื่อช่วยชีวิตคนไทย
เมื่อพูดถึงนิวเคลียร์คนทั่วไปอาจจะติดภาพถึงระเบิดนิวเคลียร์ที่มีความรุนแรงสูง หรือสารกัมมันตรังสีที่คร่าชีวิตผู้คนไปอย่างมากมาย แต่แท้จริงแล้วเทคโนโลยีนิวเคลียร์ไม่ใช่เทคโนโลยีที่คิดค้นมาเพื่อทำลายล้าง แต่นิวเคลียร์ยังถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านอุตสาหกรรม พลังงาน ไปจนถึงด้านการแพทย์
ซึ่งการใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนิวเคลียร์ในด้านการแพทย์นั้นมีมาอย่างยาวนาน ตั้งแต่การ X-ray ไปจนถึงการฉายรังสีเพื่อรักษาโรคมะเร็ง ซึ่งประเทศไทยของเราก็มีการนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์เช่นเดียวกัน
โดยจุดเริ่มต้นของการรักษามะเร็งด้วยเทคโนโลยีนิวเคลียร์เกิดขึ้นในปี พ.ศ.2478 ที่คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล ได้ทำการซื้อเครื่องเอ็กซเรย์โวลท์เทจสูง 230 กิโลโวลท์ ด้วยเงินพระราชทานจากพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์จำนวน 16,000 บาท ซึ่งเป็นเครื่องรังสีรักษามะเร็ง เครื่องแรกของประเทศไทย และเป็นการเปิดศักราชของการรักษาโรคมะเร็งด้วยรังสี จนมีการศึกษาเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีนิวเคลียร์ในการรักษามะเร็งอย่างแพร่หลาย เกิดเป็นหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ที่ต่อมากลายเป็นสาขาวิชาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ ประจำคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาลในปัจจุบัน
เรียกได้ว่าจุดเริ่มต้นการนำเทคโนโลยีนิวเคลียร์มาใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์ในครั้งนั้น เป็นบันไดก้าวสำคัญที่ช่วยยกระดับการแพทย์ขึ้นมาเรื่อยๆปัจจุบันมีหน่วยเวชศาสตร์นิวเคลียร์อยู่ในโรงพยาบาลที่ให้การวินิจฉัยละรักษาโรคแก่ประชาชน โดยเฉพาะโรคมะเร็งและเนื้องอก และเป็นวิธีการที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม คลิก www.tint.or.th
ที่มา : สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.)
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.