ถึงเวลาแล้ว ที่ต้องปรับกระบวนทัศน์มาตรฐานการอุดมศึกษาไทย
ให้ “แตกต่าง และตอบโจทย์” ศักยภาพที่ต้องการในอนาคต เพราะโลกแห่งเทคโนโลยีหมุนเร็วขึ้นทุกวัน ต้องตามให้ทัน
สอวช. ร่วมกับ สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนากำลังคน ด้วยการเสนอแนวทางการจัดการศึกษาที่แตกต่างไปจากมาตรฐานการอุดมศึกษาหรือที่เรียกกันว่า “Higher Education Sandbox” เปิดโอกาสให้สถาบันอุดมศึกษาได้ทดลองพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษารูปแบบใหม่ ออกแบบหลักสูตรได้โดยไม่มีข้อจำกัด เพื่อให้สามารถผลิตและพัฒนากำลังคนรองรับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมยุคใหม่ ให้ไทยมีกำลังคนที่พร้อมขับเคลื่อนประเทศสู่ประเทศที่พัฒนาแล้ว และเกิดการสร้างมาตรฐานการอุดมศึกษาในกระบวนทัศน์ใหม่
- Higher Education Sandbox จะปลดล็อกการศึกษาไทยได้อย่างไร
- หลักสูตรภายใต้แนวคิด Higher Education Sandbox จะก้าวข้ามข้อจำกัดของมาตรฐานการอุดมศึกษาแบบเดิม ส่งเสริมการสร้างนวัตกรรมการอุดมศึกษาและการผลิตกำลังคนให้ “ตอบโจทย์” ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมมากยิ่งขึ้น นำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้สามารถแข่งขันได้ในระดับโลก ด้วยการพัฒนาคนศักยภาพสูงรองรับอาชีพในอนาคต รวมถึงการกระจายโอกาสทางการศึกษาให้เข้าถึงได้ง่ายมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างข้อจำกัดที่ส่งผลให้มาตรฐานการอุดมศึกษาไทยในปัจจุบันไม่สอดคล้องกับบริบทโลก เช่น
- การจำกัดหน่วยกิตในการเทียบโอนก่อนเข้าศึกษาในระบบ ขัดต่อการส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)
- การกำหนดคุณสมบัติของผู้สอน ผู้ที่ต้องรับผิดชอบหลักสูตร และจำกัดชั่วโมงอาจารย์พิเศษซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาอาชีพต่างๆ
สอวช. มีตัวอย่างแนวทางการจัดทำหลักสูตรที่น่าสนใจ ที่ขับเคลื่อนโดยกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เช่น
- หลักสูตรผลิตกำลังคนรองรับการลงทุน : สายงานวิศวกร และนักวิทยาศาสตร์
- หลักสูตรผลิตกำลังคนด้าน Cybersecurity : สายงานด้านความปลอดภัยไซเบอร์
- หลักสูตรผลิตกำลังคนกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคม
และแนวทางการจัดทำหลักสูตรที่เสนอโดยสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งน่าสนใจมากๆ เช่น
- หลักสูตรผลิตกำลังคนสาขาดิจิทัล : สายงานเทคโนโลยี และโซเชียลมีเดีย
- หลักสูตรผลิตกำลังคน Tech Startup : สายงานธุรกิจสตาร์ทอัพใหม่ๆ
จากตัวอย่างหลักสูตรที่กล่าวมานั้น ล้วนถูกออกแบบมาเพื่อผลิตกำลังคนรองรับงานในกลุ่มสาขาอาชีพที่ต้องการกำลังคนศักยภาพสูงในอนาคตอันใกล้นั่นคือ กลุ่มสาขาอาชีพในอุตสาหกรรมดิจิทัลที่เทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ขาดแคลนกำลังคนเพื่อรองรับการเกิดธุรกิจใหม่ และพลิกโฉมธุรกิจเดิม กลุ่มสาขาอาชีพในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในการแข่งขัน ที่ต้องพัฒนาต่อยอดความรู้ ต้องการกำลังคนแบบข้ามศาสตร์ เพื่อยกระดับการผลิตสินค้าและบริการ สู่เศรษฐกิจฐานนวัตกรรม เช่น โมเดลเศรษฐกิจใหม่ BCG เพื่อการแข่งขันในระดับโลก และกลุ่มสาขาอาชีพในอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ทั่วโลกต้องการ เพื่อนำประเทศไปสู่การเป็นศูนย์กลาง หรือเป็นส่วนสำคัญ ในห่วงโซ่ของอุตสาหกรรมคุณภาพ ในระดับเศรษฐกิจโลกนั่นเอง
สอวช. พร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกอนาคต ด้วยการใช้ศักยภาพด้านการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) มาสร้างสรรค์เป็นนโยบาย ที่จะเข้าไปช่วยทั้งด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิต การยกระดับขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมไทยให้แข่งขันได้ในเวทีโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเตรียมกำลังคนเพื่อตอบโจทย์ตามสาขาอาชีพ และอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
ที่มา : สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.