ปัจจุบันการรักษาโรคได้นำเอาเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาเพื่ออำนวยความสะดวกและสร้างความแม่นยำ
ในทางการแพทย์มากขึ้น เช่นเดียวกันกับเครื่อง PET/CT ที่เป็นการรวมเอาเครื่องสร้างภาพทั้ง 2 แบบ
ที่แตกต่างกันมารวมเป็นหนึ่งเดียวเพื่อสร้างภาพของสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกายให้แม่นยำมากยิ่งขึ้น
เครื่อง PET และ CT scan ทำงานอย่างไร ทำไมถึงมีความแม่นยำ
- PET (positron emission tomography) จะมีการใช้ไอโซโทปรังสี PET ตรวจจับรังสีแล้วสร้างภาพขึ้นมาบนจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการสร้างภาพโดยใช้รหัสสี
สีที่แตกต่างกันจะแสดงให้เห็นถึงระดับกิจกรรมของเซลล์ที่แตกต่างกันภายในร่างกายของเรา
- CT (computed tomography) เป็นเครื่องที่สามารถแสดงตำแหน่งที่แม่นยำ
ของอวัยวะภายในร่างกายได้และยังแสดงให้เห็นถึงการเจริญเติบโตที่ผิดปกติของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายของเราอีกด้วย
เมื่อนำภาพที่ได้จาก CT ลงบนภาพของ PET แพทย์จะสามารถเห็นตำแหน่งของเซลล์
ที่ทำงานผิดปกติได้ชัดและแม่นยำมากขึ้น แม้ว่าภาพจากการทำ CT scan จะไม่แสดงผลการเจริญเติบโต
ของเซลล์ที่ผิดปกตินั้นแต่ PET scan สามารถทำได้
ถึงแม้ PET/CT จะมีการใช้รังสีในการตรวจจับภาพเซลล์ที่ผิดกติ แต่ก็ยังเป็นการใช้รังสีในปริมาณน้อย
และผู้ป่วยสามารถดื่มน้ำเพื่อขับถ่ายสารไอโซโทปรังสีออกจากร่างกายทางกระเพาะปัสสาวะ หลังจากนั้น
ก็สามารถกลับมารับประทานอาหารได้ตามปกติ
นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความน่าสนใจของการใช้รังสีในวงการแพทย์ แต่เรื่องของรังสียังมีความน่าสนใจและประโยชน์ทางการแพทย์รวมถึงด้านอื่นๆ อีกมากมาย
สามารถติดตามข้อมูลเกี่ยวกับรังสีและเทคโนโลยีนิวเคลียร์เพิ่มเติมได้ที่ www.tint.or.th
ที่มา : สถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติ (สทน.)
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.