“อว. ทำอะไรเพื่อคนไทยบ้าง?”
ภารกิจที่ 5 พลิกโฉมการเรียนและสอนออนไลน์
เมื่อโรคโควิด-19 ระบาดอย่างหนักในประเทศไทย สถานการณ์ได้บีบบังคับให้สถาบันการศึกษาต้องปรับตัวเพื่อลดการพบปะกันของผู้สอนและผู้เรียนตามหลักการเว้นระยะห่างทางสังคม ‘การเรียนการสอนออนไลน์’ จึงได้รับการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดจากความจำเป็นที่เกิดขึ้น ซึ่งนอกจากจะมี ‘ช่องทางใหม่’ ให้เรียนรู้เพิ่มเติมแล้ว ยังมี ‘วิชาความรู้ใหม่ ๆ’ ให้ผู้เรียนได้เลือกเรียนมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดอีกด้วย
ประเทศไทยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบในเรื่องนี้อยู่แล้ว นั่นคือ ‘โครงการมหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย’ (Thailand Cyber University: TCU) ภายใต้การดูแลของ ‘สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)’ ที่ดำเนินการ ‘ความร่วมมือทางวิชาการเพื่อการเรียนการสอนออนไลน์ในระบบเปิดสำหรับมหาชน’ (Thailand Massive Open Online Course: Thai MOOC) หรืออธิบายให้เข้าใจง่ายก็คือ ‘หลักสูตรการเรียนการสอนออนไลน์แบบเปิด’ ที่ทุกคนบนโลกสามารถสมัครเรียนได้โดยไม่จำกัดจำนวนคน ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาแบบเดิมที่มีอยู่แต่เฉพาะในห้องเรียนและรองรับผู้เรียนจำนวนจำกัด โครงการ Thai MOOC จึงถือเป็นโอกาสสำคัญให้สถาบันอุดมศึกษาหลายแห่งได้แสดงฝีมือภายใต้แนวคิดนี้
.
สถาบันอุดมศึกษาที่ขานรับโครงการ Thai MOOC มีด้วยกันหลายสถาบัน อาทิ ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CHULA MOOC) สำนักงานการศึกษาและนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (PSU MOOC) ศูนย์นวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU MOOC) ฯลฯ ซึ่งมีผลงานการเพิ่มรายวิชาและปรับการเรียนการสอนมาสู่โลกออนไลน์ในช่วงโควิด-19 ได้อย่างดีเยี่ยม
นอกจากระบบการเรียนการสอนออนไลน์แล้ว อีกหนึ่งระบบที่ได้รับการพูดถึงเป็นวงกว้างในช่วงโควิด-19 คือ ‘ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย’ (Thai University Central Admission System: TCAS) ที่รับผิดชอบโดยสมาคมที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ซึ่งต้องทำงานกันอย่างหนักเพื่ออำนวยความสะดวกด้วยการ ‘จัดสอบสนามพิเศษ’ ให้กับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ติดเชื้อโควิด-19 สามารถเข้าสอบคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาได้ตามปกติ
ส่วนอีกหนึ่งหน่วยงานที่จะลืมไปไม่ได้เลยคือ ‘สำนักงานบริหารเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการศึกษา (UniNet)’ หน่วยงานหลังบ้านที่คอยทำหน้าที่ดูแลเครือข่ายสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ใช้บริการที่มีจำนวนมากในช่วงวิกฤติโควิด-19
—————————
สำหรับผู้ที่สนใจอ่านชุดหนังสือ ‘เพราะเธอเป็นลมหายใจ’ เอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่บอกเล่าและถอดบทเรียนการทำงานและความร่วมมือของชาว อว. เพื่อช่วยเหลือประชาชนชาวไทยให้ก้าวผ่านวิกฤติการณ์โรคระบาดโควิด-19 ตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา สามารถคลิกอ่านได้ที่ https://bit.ly/MHESIagainstCOVID19
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.