จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรน่า จากประเทศจีนที่ค่อยๆ ตีฝ่าด่านพรมแดนรัฐน้อยใหญ่ ข้ามทวีปมาราว 2 เดือนแล้วเราจะสังเกตเห็นได้ว่า สถานการณ์มีความเปลี่ยนแปลงรวดเร็วมากโดยเฉพาะ เมื่อเข้าสู่เดือนมีนาคม 2563 สถานการณ์การแพร่ระบาดในเอเชียตะวันออกอย่างจีน ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น กับ เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ฮ่องกง ไต้หวัน กลับมีตัวเลขการระบาดที่ชะลอตัวลงอย่างเห็นได้ชัดและคงใกล้สงบในระยะเวลาอีกไม่น่าจะนานนัก แต่ในอีกซีกหนึ่งของโลก ไม่ว่าจะเป็นตะวันออกกลาง อย่างอิหร่าน และยุโรปอย่างอิตาลี รวมทั้ง กลุ่มประเทศอาเซียน ซึ่งเดิมนึกว่าจะควบคุมได้แล้ว ก็มีตัวเลขการติดเชื้อได้พุ่งขึ้นสูงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะ สำหรับทวีปยุโรป การระบาดจากอิตาลี ได้ตลุยเข้าไปถล่มหมู่สมาชิก ประชาคมยุโรปอย่างสาหัส มียอดผู้ป่วยและเสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเพียงไม่กี่วันต่อ สถานการณ์ในสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะในมหานครนิวยอร์ก ก็วิ่งแรงแซงโค้ง นำยอดผู้ป่วยขึ้นแซงประเทศต่างๆ ในโลก โดยที่ผ่านมา สังคมอเมริกันเอง ก็เหมือนยังไม่ได้เตรียมการตั้งตัวรับสถานการณ์เท่าไหร่นัก เพราะผู้นำสหรัฐเองก็ยังเคยทักว่า "It's just a flu" สถานการณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในฝั่งซีกโลกตะวันตก ซึ่งประเทศที่มียอดนำ จึงเป็นบทท้าทายความสามารถของมวลมนุษยชาติ ว่าจะสู้กับโรคอุบัติใหม่ที่มองไม่เห็นนี้ได้อย่างไร เพราะไม่ว่าจะเป็น สหรัฐอเมริกา อิตาลี สเปน เยอรมนี ฝรั่งเศสและสหราชอาณาจักร รวมทั้งประเทศขนาดย่อมอย่าง เบลเยี่ยม เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ ก็ล้วนได้ชื่อว่าเป็นประเทศพัฒนาแล้วชั้นนำของโลกที่มีทั้งยา อุปกรณ์ และบุคลากรทางการแพทย์ และทฤษฎีในการจัดการกับโรคติดต่อมากมาย ปรากฏการณ์ครั้งนี้จึงจะกลายเป็นบทพิสูจน์สำคัญของเหล่าประเทศต่างๆ ทั่วโลก ที่จะต้องช่วยกัน เพราะแทบไม่เหลือพื้นที่ประเทศใดในโลกแล้วที่ยังไม่มีผู้ติดเชื้อ
ในวันเวลาที่ทุกประเทศ ทยอยคล้อยตามในการให้ประชาชนในสังคมปฏิบัติตนแนว Social Distance จนศูนย์กลางธุรกิจ สถานที่ท่องเที่ยวเงียบเหงาไร้ผู้คน และการประกอบธุรกรรม จับจ่ายใช้สอย ในอีกมุมหนึ่ง สำหรับบุคลากร แพทย์ พยาบาล และสายงานต่างๆที่สนับสนุนปฏิบัติช่วยแก้สถานการณ์ พวกเขาเหล่านั้นกำลังประสบปัญหาและความยากลำบากในระดับต่างๆ กันไป เพื่อที่จะช่วยกันกอบกู้โลกมนุษย์ให้กลับคืนมาปรกติสุขอีกครั้ง ว่าแต่ว่า โลกหลังโควิด - 19 จะเป็นเช่นไร จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากที่โลกยุคมุ่ง
เศรษฐกิจที่เคยเป็นมา ลองมาติดตามกันในรายละเอียดของฉบับนี้ดู
เผยแพร่ข่าว : นายธัชนนท์ บุญหล้า
ส่วนสื่อสารองค์กร สำนักบริหารกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.