รายงานข่าววิทยาศาสตร์
เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2563 สหภาพยุโรป นำโดย นาง Ursula von der Leyen ประธาน คณะกรรมาธิการยุโรป ได้เป็นประธานในการจัดการ ประชุมนานาชาติ “Coronavirus Global Response Pledging Conference” ในรูปแบบออนไลน์ ร่วมกับ ผู้นำประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป และผู้นำของ ประเทศอื่น ๆ เพื่อระดมทุนสนับสนุนการวิจัยพัฒนา วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 โดยในการประชุมครั้งนี้มี ผู้แทนจากประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมประชุมด้วยประมาณ 40 ประเทศ รวมทั้งผู้แทนของกลุ่มผู้บริจาคเข้าร่วม ประชุมด้วย จากข้อสรุปในที่ประชุมได้มีการกำหนด เป้าหมายของการระดมทุนภายใต้โครงการ Coronavirus Global Response ไว้ที่ 7,500 ล้านยูโร โครงการ Coronavirus Global Response ได้ถูกริเริ่มจากคณะกรรมาธิการยุโรปและอีก 9 ประเทศทั้ง ในและนอกสหภาพยุโรป ได้แก่ นอร์เวย์ แคนาดา ญี่ปุ่น เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี ซาอุดิอาระเบีย สหราช อาณาจักร และ สเปน โดยจุดประสงค์หลักของการ ระดมทุนครั้งนี้ คือ เพื่อสนับสนุนการวิจัยและ พัฒนาการปรับปรุงการวินิจฉัย การค้นหาวิธีการรักษา ที่มีประสิทธิภาพ และการพัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโค วิด-19 โดยให้ทุกประเทศทั่วโลกสามารถเข้าถึงได้ใน ราคาย่อมเยา ซึ่งถือว่าเป็นการพัฒนาที่เร่งด่วนที่สุด 3 ประการในการจัดการกับโรคโควิด-19 โดยจะร่วมมือ กับองค์การอนามัยโลกและองค์การด้านสาธารณสุข ระดับโลก การระดมทุนครั้งนี้ มีความสอดคล้องกับแถลงการณ์ ของนาย Antonio Guterres เลขาธิการสหประชาชาติ ที่ก่อนหน้านี้ได้เรียกร้องให้มีการพัฒนาวิธีการรักษาโรค โควิด-19 โดยให้ผลิตวัคซีนในราคาถูกและจัดหา เครื่องมือตรวจหาเชื้อให้เพียงพอสำหรับทุกคนเพื่อที่จะ สามารถควบคุมการแพร่ระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เผยแพร่ข่าว : นายธัชนนท์ บุญหล้า
ส่วนสื่อสารองค์กร สำนักบริหารกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.