1. ข้อมูลทั่วไปด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในช่วงทศวรรษ 2540 เป็นต้นมา จีนมีพัฒนาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่องและมีความก้าวหน้าอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์และการสาธารณสุข เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนและประสิทธิภาพการใช้พลังงาน เทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ เทคโนโลยีรถไฟและระบบราง เทคโนโลยีลดก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนเทคโนโลยีทางอุตสาหกรรม และเกษตรกรรมแปรรูปสมัยใหม่
ในปี 2558 รัฐบาลจีนประกาศแผนยุทธศาสตร์ 10 ปี เพื่อบรรลุนโยบาย “Made in China 2025” โดยกำหนดทิศทางการยกระดับอุตสาหกรรมการผลิตภายในประเทศจีนโดยอาศัยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งส่งผลให้เกิดการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดใน 10 กลุ่มอุตสาหกรรม และเมื่อเดือนกันยายน 2559 รัฐบาลจีนภายใต้การนำของประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ประกาศ “แผนพิเศษว่าด้วยการพัฒนาความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภายใต้ยุทธศาสตร์ “One Belt One Road (OBOR)” ที่ขับเคลื่อนโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (MOST) คณะกรรมการปฏิรูปและพัฒนาแห่งชาติจีน (NDRC) กระทรวงการต่างประเทศ (MOFA) และกระทรวงพาณิชย์ (MOC) โดยมีเป้าหมายในระยะ 4 - 5 ปี คือ การแลกเปลี่ยนและฝึกอบรมนักวิทยาศาสตร์ต่างชาติในประเทศจีน มีนักวิทยาศาสตร์ที่มีความสามารถในประเทศจีน สร้างความร่วมมือในรูปแบบของข้อตกลงและบันทึกความเข้าใจกับประเทศตามเส้นทาง OBOR และพัฒนาแพลตฟอร์มสำคัญ เช่น ห้องปฏิบัติการทดลองร่วม ศูนย์วิจัยร่วม ศูนย์ถ่ายโอนเทคโนโลยี ฐานส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี และอุทยานวิทยาศาสตร์
2. ความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ไทย – จีน
2.1 ความร่วมมือระดับรัฐบาล
ประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีนมีกรอบความร่วมมือในระดับรัฐบาลทั้งสิ้น 2 กรอบ
(1) ความร่วมมือภายใต้คณะกรรมการร่วมระดับรัฐมนตรีว่าด้วยความร่วมมือทางวิทยาศาสตร์และวิชาการ (คกร.) ไทย - จีน (Sino – Thai joint Committee of the Science and Technical Cooperation)
ประเทศไทยโดยกระทรวงการต่างประเทศมีข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ และวิชาการระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ลงนามเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2521 ซึ่งเป็นข้อตกลงที่ไม่ระบุวันหมดอายุจนกว่าจะมีการยกเลิก ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภายใต้ คกร. ไทย-จีน โดยมีการสร้างความร่วมมือใน 3 รูปแบบ คือ การศึกษาดูงาน ความร่วมมือทวิภาคี และไตรภาคี
ผลการประชุม คกร. ไทย-จีน สมัยที่ 22 เมื่อเดือนธันวาคม 2561 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบ โครงการในสาขาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม จำนวน 6 โครงการ ได้แก่ ข้อเสนอโครงการศึกษาดูงานของวศ. จำนวน 1 โครงการ และข้อเสนอโครงการความร่วมมือทวิภาคีของ ศน.สวทช. สสนก. และ วศ. หน่วยงานละ 1 โครงการ และของ ศอ.สวทช. จำนวน 22 โครงการ รวมทั้งฝ่ายจีนขอให้ฝ่ายไทยพิจารณาข้อเสนอของ สดร. เพิ่มเติมอีก 1 โครงการด้วย
(2) ความร่วมมือภายใต้คณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุน และความร่วมมือทาง เศรษฐกิจระหว่าง ไทย – จีน (JC เศรษฐกิจ ไทย – จีน)
ประเทศไทยโดยกระทรวงพาณิชย์มีความร่วมมือด้านการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศจีน ซึ่งมีการจัดประชุม JC เศรษฐกิจ ไทย – จีน ทุก 2 ปี โดยมีประเด็นความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม เป็นสาขาหนึ่งของความร่วมมือด้วย
ผลการประชุม JC เศรษฐกิจ ไทย – จีน ครั้งที่ 6 เมื่อเดือนสิงหาคม 2561 ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบในการสร้างความร่วมมือด้าน Quantum Computing การเกษตรแม่นยำและเกษตรสมัยใหม่ การจัดตั้ง Biopharma and Nanomedicine Innovation Hub รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนใน EECi และ Food Innopolis นอกจากนี้ ยังมีการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่าง สทอภ. กับสถาบันอวกาศแห่งชาติของจีนเพื่อสร้างความร่วมมือด้านการผลิตและการวิจัยเทคโนโลยีดาวเทียมและอวกาศด้วย
2.2 ความร่วมมือระดับกระทรวง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ( กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เดิม) มีการจัดทำข้อตกลงและบันทึกความเข้าใจ (MOU) ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม กับสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 5 ฉบับ คือ
ข้อตกลง/บันทึกความเข้าใจ | วันลงนาม | วันหมดอายุ |
1. ข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือใน 4 โครงการระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน | 11 ตุลาคม 2556 | 10 ตุลาคม 2561 |
2. บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี | 29 กรกฎาคม 2548 | ไม่มี จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแจ้งยกเลิก |
3. บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทยกับสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน | 16 พฤษภาคม 2549 | ไม่มี จนกว่าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะแจ้งยกเลิก |
4. บันทึกความเข้าใจระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทยกับสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีนแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานตามโครงการ EECi และ Silk Road Economic Belt) | 9 ธันวาคม 2559 | 8 ธันวาคม 2564 |
5. บันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระหว่างกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สาธารณรัฐประชาชนจีน | 5 พฤศจิกายน 2562 | 4 พฤศจิกายน 2567 |
(1) สถานภาพความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ไทย – จีน
ความร่วมมือภายใต้กรอบ STEP Program ตามข้อตกลงว่าด้วยการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งราชอาณาจักรไทยกับกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มี 6 สาขา ดังนี้
(2) สถานภาพความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ระหว่างหน่วยงานภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี กับหน่วยงานต่าง ๆ ของสาธารณรัฐประชาชนจีน
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.