รายงานข่าววิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากบรัสเซลส์ ประจำเดือนสิงหาคม 2562
โดย สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ (ปว. (บซ.))
การยกเลิกใช้พลาสติกบางประเภทในประเทศไทย
สำหรับประเทศไทย คณะอนุกรรมการบริหารจัดการขยะพลาสติกได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านการจัดการขยะพลาสติก 20 ปี (พ.ศ.2561 - 2580) พิจารณากำหนดการลด และเลิกใช้ ผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง (single-use plastic) ที่พบมากในขยะซึ่งถูกทิ้งในทะเลของประเทศไทยและก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบนิเวศและสิ่งแวดล้อม โดยมีแผนการยกเลิกพลาสติก 7 ประเภทดังนี้ 1. พลาสติกหุ้มฝาขวดน้ำดื่ม (cap seal) 2. พลาสติกแตกสลายได้ชนิดอ๊อกโซ (Oxo-degradable Plastics) 3. ไมโครบีดจากพลาสติก (Microbead) เลิกใช้ปี 2562 4. ถุงพลาสติกหูหิ้วขนาดความหนาน้อยกว่า 36 ไมครอน 5. กล่องโฟมบรรจุอาหาร เลิกใช้ปี 2565 6. แก้วน้ำพลาสติก (ชนิดใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง) และ 7. หลอดพลาสติก เลิกใช้ปี 2568 โดยมีเป้าหมายรวมในการลดการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เป็นจำนวนร้อยละ 70 ภายในปี พ.ศ. 2580 ด้วยการใช้วัสดุทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น เพื่อลดมลพิษจากขยะพลาสติกซึ่งเป็นปัญหาระดับโลกที่ต้องได้รับการแก้ไขให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของประเทศ และเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ปี พ.ศ. 2573 เพื่อสร้างคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดมลพิษ และลดผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนและระบบนิเวศ แต่อย่างไรก็ตามยังต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยเฉพาะประชาชนและภาคอุตสาหกรรมในการรณรงค์การลดและคัดแยกขยะอย่างต่อเนื่อง และการนำขยะพลาสติกกลับมาใช้ประโยชน์เพื่อลดพลาสติกที่ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและทะเล
เผยแพร่ข่าว : นายธัชนนท์ บุญหล้า
ส่วนสื่อสารองค์กร สำนักบริหารกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : MHSRITHA
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.