ข้อมูลจาก THEOS-2 เพิ่มประสิทธิภาพการสำรวจและตรวจวัดการกักเก็บคาร์บอน
จุดเด่นสำคัญของดาวเทียม THEOS-2 คือ ความละเอียดภาพ 50 เซนติเมตร ข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมจาก THEOS-2 จึงประยุกต์ใช้งานได้หลากหลาย หนึ่งในการประยุกต์ใช้นั้นคือเป็นเครื่องมือติดตามและตรวจวัดปริมาณการกักเก็บคาร์บอนในต้นไม้ได้ถูกต้องแม่นยำ ซึ่งหากมีปริมาณคาร์บอนมากขึ้น โอกาสที่จะได้รับคาร์บอนเครดิตก็มีเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่มาจากที่ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ท่อไอเสียรถยนต์ โรงงานอุตสาหกรรม ไฟป่า ขยะ ฟาร์มสัตวเลี้ยง ฯลฯ ลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศเป็นจำนวนมหาศาล เปรียบเสมือนสวิตซ์หมุนเร่งให้โลกร้อนมากขึ้น เพื่อหาแรงจูงใจที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือ เพิ่มการกักเก็บก๊าซเรือนกระจกในต้นไม้ จึงเกิดไอเดียเรื่อง ‘คาร์บอนเครดิต’ ขึ้นมา
ในช่วงปี 2566 - 2567 ทาง GISTDA มีความตั้งใจในการประเมินการกักเก็บคาร์บอนทั้งประเทศ ในภาคเกษตรและป่าไม้ ไม่ว่าจะเป็น Green Carbon จากป่าสีเขียว เช่น ป่าเบญพรรณ ป่าดินชื้น ป่าดินเขา ปาดิบแล้ง ป่าเต็งรัง ฯลฯ และ Blue Carbon ที่มีในป่าชายเลนหรือพืชทะเลบางชนิด โดยอาศัยคุณสมบัติเด่นของดาวเทียม THEOS-2 เป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยประเมินพื้นที่ป่าตรงตามความเป็นจริง แล้วลงสำรวจในพื้นที่จริง โดยคาร์บอนจะกักเก็บอยู่ใน 5 แหล่ง ดังต่อไปนี้
1. กิ่งก้าน ใบ และลำต้นไม้
2. รากไม้
3. ดิน
4. ต้นไม้ที่ล้มตาย
5. เศษกิ่งไม้ ใบไม้ที่ร่วงลงบนพื้น
แหล่งกักเก็บคาร์บอนเหล่านี้ จะได้ค่าตัวแทนคาร์บอนในแปลงตัวอย่าง และนำข้อมูลนั้นมาคำนวณกับพื้นที่ป่าทั้งหมด ที่ได้มาจากภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อหาว่าป่าผืนนี้มีปริมาณการกักเก็บคาร์บอนเท่าไร และเมื่อมีข้อมูลการกักเก็บคาร์บอนใน 2 ช่วงเวลา ก็สามารถนำมาคำนวณหา คาร์บอนเครดิต ได้
ในอนาคตคาดการณ์ว่า คาร์บอนเครดิต จะเป็นที่ต้องการมาก ประชาชนจะหันมาปลูกต้นไม้มากขึ้น เพื่อนำคาร์บอนที่ถูกกักเก็บไว้ตามส่วนต่าง ๆ ของต้นไม้มาขาย นอกจากจะมีรายได้เพิ่มขึ้นแล้ว ยังช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวคืนกลับมาให้กับพื้นที่ในประเทศอีกด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณคติวิช กันธา
นักภูมิสารสนเทศชำนาญการพิเศษ
ฝ่ายทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และภัยพิบัติ
ที่มา : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.)
https://www.facebook.com/gistda
เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.