กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • ศูนย์บริการร่วม
  • สาระน่ารู้

สัตว์ทะเลมีพิษ…ที่อาจแฝงมากับอาหารทะเล

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
06 Jun 2023

351016971 706913201237705 2000638783271300972 n

สัตว์ทะเลมีพิษ…ที่อาจแฝงมากับอาหารทะเล

      ในช่วงฤดูร้อนของไทย เป็นช่วงที่หลายๆ ครอบครัวได้มีโอกาสไปเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจกัน เนื่องจากมีวันหยุดยาวและตรงกับช่วงปิดเทอม "ทะเล" เป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกตัวเลือกหนึ่งของครอบครัว เนื่องจากมีกิจกรรมหลากหลายรูปแบบสำหรับผู้ใหญ่และเด็ก และที่สำคัญยังมีอาหารทะเลเป็นอาหารจานโปรดของหลายครอบครัว

      ปัจจุบันอาหารทะเลสามารถเลือกซื้อ หารับประทานได้สะดวก สามารถสั่งมารับประทานได้ทุกที่ทุกเวลา แต่ในความสะดวกนั้น อาจมีสัตว์ทะเลบางชนิดที่มีพิษร้ายแรง แฝงมากับอาหารทะเล เพราะสัตว์ทะเลมีพิษเหล่านั้นมีหน้าตาที่ไม่ค่อยต่างกับอาหารทะเลที่ปลอดภัยทั่วไปเท่าไรนัก มาทำความรู้จักกับสัตว์ทะเล 3 ชนิด ที่มีพิษรุนแรงและเคยมีข่าวว่าสัตว์เหล่านี้เคยแฝงมาในอาหารทะเลทั่วไปอยู่บ่อยครั้ง

      แมงดาถ้วย หรือแมงดาทะเลหางกลม หรือเห-รา หรือแมงดาไฟ เป็นแมงดามีพิษไม่สามารถรับประทานได้มีลักษณะลำตัวโค้งกลม มีหางกลม ผิวด้านบนมีขนสั้นสีน้ำตาลอมแดง ต่อจากส่วนท้องมีหางค่อนข้างกลมไม่มีสันและไม่มีหนาม พบอาศัยอยู่ตามพื้นทะเลที่เป็นดินโคลนและตามคลองในป่าชายเลน ฝั่งอ่าวไทยจะพบแมงดามากที่สุดตามพื้นที่แนวชายฝั่งของทะเลตั้งแต่จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ สมุทรสาคร เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์จนถึงชุมพร และพบได้ในฝั่งทะเลอันดามันตั้งแต่สตูลไปจนถึงระนอง

      จากข้อมูลทางวิชาการ พบว่า สารพิษที่พบอยู่ในเนื้อและไข่ของแมงดาถ้วย คือสารเทโทรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) และซาซิท็อกซิน (Saxitoxin) ซึ่งเป็นสารชนิดเดียวกันกับที่พบในปลาปักเป้า เป็นสารที่ส่งผลต่อระบบควบคุมการหายใจถึงขั้นเสียชีวิต โดยพิษในแมงดาถ้วย เกิดจาก 2 สาเหตุหลัก คือ

1.แมงดากินแพลงก์ตอนที่มีพิษ หรือกินสัตว์ทะเลอื่นๆ ที่กินแพลงก์ตอนพิษเข้าไปทำให้สารพิษไปสะสมอยู่ในเนื้อและไข่ของแมงดา

2.เกิดจากแบคทีเรียในลำไส้ที่สร้างพิษขึ้นมาได้เอง หรือสาเหตุประกอบกันทั้งสอง

      สารพิษทั้ง 2 ชนิดนี้ เป็นสารที่ทนต่อความร้อนได้ดี การปรุงอาหารด้วยความร้อนวิธีต่างๆ เช่น ต้ม ทอด หรืออบเป็นเวลานานมากกว่าชั่วโมงไม่สามารถทำลายสารพิษชนิดนี้ได้จึงไม่ควรนำมาบริโภคอย่างเด็ดขาด

       สำหรับผู้ได้รับพิษจากแมงดาทะเล อาการมักจะแสดงภายหลังรับประทานประมาณ 10-45 นาที หรืออาจช้าไปจนถึง3 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับแหล่งที่อยู่อาศัยของแมงดา ฤดูกาล จำนวนที่รับประทาน หรือปริมาณของสารพิษที่ได้รับ เช่น รับประทานไข่แมงดาถ้วย อาการพิษจะเกิดรุนแรงกว่ารับประทานเฉพาะเนื้ออาการมักเริ่มจากมึนงง รู้สึกชาบริเวณลิ้น ปาก ปลายมือ ปลายเท้าและมีกล้ามเนื้ออ่อนแรง เริ่มจาก มือ แขน ขา ตามลำดับรวมทั้งอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย บางราย อาจมีน้ำลายฟูมปาก เหงื่อออกมาก พูดลำบาก ตามองเห็นภาพไม่ชัด ในรายที่มีอาการรุนแรงมาก จะมีผลทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงหายใจลำบาก เนื่องจากกล้ามเนื้อกระบังลมไม่ทำงาน ระบบหายใจล้มเหลว หมดสติ และสมองขาดออกซิเจนหากช่วยไม่ทันอาจเสียชีวิตได้ภายใน 6-24 ชั่วโมง

       วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากได้รับพิษ คือ ทำให้ผู้ป่วยหายใจคล่องที่สุด และรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด หากผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ทำการผายปอดจนกว่าจะถึงโรงพยาบาล ห้ามให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารน้ำหรือยา เนื่องจากผู้ป่วยอาจเกิดอาการสำลักได้ กรณีท่านไม่สามารถแยกความแตกต่างของแมงดาทั้ง 2 สายพันธุ์นี้ได้ สามารถสอบถามข้อมูลทางวิชาการเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานประมงจังหวัดใกล้บ้านท่าน หรือกรมประมง โทร.02-5620600

       ปลาปักเป้า มีสารเทโทรโดทอกซิน (Tetrodotoxin) เป็นสารพิษที่เกิดจากสาหร่ายเซลล์เดียว กลุ่มไดโนแฟลกเจลเลต เมื่อปลากินสาหร่ายเข้าไปทำให้เกิดพิษ สะสมอยู่ในตัวปลาเพื่อใช้ป้องกันตัวจากการถูกกินโดยสัตว์อื่นพิษชนิดนี้พบได้ในวงศ์ปลาปักเป้า ซึ่งสะสมอยู่ในอวัยวะ แต่ละส่วนของปลาปักเป้ามีปริมาณการสะสมของพิษไม่เท่ากัน ส่วนที่สะสมพิษมาก ได้แก่ รังไข่ อัณฑะ ตับ ผิวหนัง และลำไส้ แต่พบน้อยในกล้ามเนื้อการปรุงปลาปักเป้าเพื่อการรับประทาน นิยมกันมากในแบบอาหารญี่ปุ่นโดยเฉพาะการทำเป็นซาซิมิหรือปลาดิบ ในประเทศญี่ปุ่น พ่อครัวที่จะแล่เนื้อปลาและปรุงต้องขึ้นทะเบียนและได้รับใบอนุญาตจากทางการเสียก่อน สำหรับในประเทศไทย เนื้อปลาปักเป้า มักพบ ปะปนจากการจำหน่ายเป็นเนื้อปลาที่แล่แล้วในราคาถูกในตลาดเรียกกันว่า "ปลาเนื้อไก่" ซึ่งอวดอ้างกันว่าเป็นปลาเนื้อไม่คาว สุกแล้วเนื้อขาวสวย หรือในรูปผลิตภัณฑ์ปลาแปรรูปอื่นๆ เช่น ลูกชิ้นปลา ปลาเส้น

        เทโทรโดทอกซิน มีความรุนแรงกว่า ไซยาไนด์ถึง 1,200 เท่าและทนความร้อนได้สูงถึง 200 องศาเซลเซียส ดังนั้น จึงไม่สามารถทำลายพิษได้ด้วยการใช้ความร้อนปกติในการปรุงอาหาร และไม่มียาแก้พิษใดๆ ต่อต้านได้ เฉพาะปริมาณ สารพิษนั้นเพียง 1-2 มิลลิกรัม ก็ทำให้ถึงตายได้ มีรายงานว่าการรับประทานปลาปักเป้า (ที่มีสารพิษอยู่)อยู่ในปริมาณที่น้อยกว่า 50 กรัม ก็ทำให้เกิดอาการพิษได้อัตราการตายเท่าที่พบในรายงานบางฉบับ คือ ประมาณร้อยละ 3 แต่หากรับประทานปลาปักเป้าในปริมาณ 51-100 กรัม อัตราการตายจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 27 และเมื่อปริมาณที่รับประทานมากกว่า 100 กรัม อัตราการตายก็จะเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 50 จากการศึกษาวิจัยในประเทศญี่ปุ่น พบว่าผู้ที่ได้รับพิษจากปลาปักเป้าร้อยละ 50 เกิดจาก การกินตับของปลาร้อยละ 43 เกิดจากการกินไข่และร้อยละ 7 เกิดจากการกินหนัง เทโทรโดทอกซิน มีผลต่อเนื้อประสาท ทำให้เซลล์ประสาททุกส่วนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติและอาจเสี่ยงอันตรายถึงชีวิตได้ผู้ที่ได้รับพิษชนิดนั้นจะมีอาการชาที่ริมฝีปากและลิ้น ตามมาด้วยอาการชาแบบเดียวกันที่หน้าและมือ สำหรับอาการอื่นๆ ที่เกิดในช่วงแรกๆ ก็จะมีอาการน้ำ ลายออกมาก คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสียพร้อมด้วยปวดท้อง ขั้นต่อไปเป็นอาการผิดปกติเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว คือ อ่อนแรง หายใจไม่ค่อยออก และพูดลำบาก เมื่ออาการทรุดหนักก็จะเป็น อัมพาตอย่างรวดเร็วภายใน 4-24 ชั่วโมง โดยเริ่มที่มือและเท้า ริมฝี ปาก ลิ้น ปาก คอหอย กล่องเสียง ตามมาด้วยอาการ อัมพาตของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการหายใจ ท้ายที่สุด คือ หัวใจทำงานผิดปกติเต้นผิดจังหวะ ความดันตก และชัก ผู้ป่วย ที่ได้รับพิษสูงมาก อาจมีอาการรูม่านตาขยายไม่หดเล็กลงเมื่อถูกแสง หยุดหายใจเป็นช่วงๆ สูญเสียการตอบสนองของสมองทั้งหมด การตายเกิดได้ ภายใน 4-6 ชั่วโมง เนื่องจากเกิดอาการอัมพาตของกล้ามเนื้อเกี่ยวกับการหายใจและการหายใจล้มเหลว เมื่อมีอาการและสงสัยว่าจะได้รับเทโทรโดทอกซิน ให้รีบพบแพทย์โดยเร็วที่สุด การรักษาพยาบาลทำได้เพียง การล้างท้อง เฝ้าระวังไม่ให้เกิดอาการขาดน้ำ และไม่ให้เสียสมดุลของเกลือแร่ และให้ออกซิเจน ดูแลประคับประคองเรื่อง การหายใจล้มเหลวกับผลต่อหัวใจ ในรายที่เกิดอาการพิษปานกลางถึงรุนแรงอาจจำเป็นต้องอยู่ห้องไอซียู เพื่อป้องกันอาการแทรกซ้อน การหายใจล้มเหลวและผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด ประเทศไทยได้ตระหนักถึงพิษภัยอันอาจจะเกิดจากการบริโภคปลาปักเป้า จึงมีการประกาศกฎกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 246 พ.ศ. 2545 เรื่อง กำหนดอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่าย ปลาปักเป้า ตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ซึ่งกำหนดให้ปลาปักเป้าทุกชนิดและอาหารที่มีเนื้อปลาปักเป้าเป็นส่วนผสมเป็นอาหารที่ห้ามผลิต นำเข้าหรือจำหน่าย

       หมึกบลูริง หรือหมึกสายวงน้ำเงิน โดยทั่วไปสามารถสังเกตหมึกบลูริง ได้จากลักษณะภายนอก โดยเฉพาะลำตัวสีเหลืองหรือสีคล้ายทรายที่มีลวดลายวงแหวนสีน้ำเงินกระจายอยู่รอบ ๆ ซึ่งวงแหวนนี้จะเรืองแสงได้หากถูกคุกคาม แม้หมึกบลูริงจะไม่ใช่สัตว์ดุร้าย แต่มีพิษรุนแรงจนอาจทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิตได้ ดังนั้น หากรับประทานหมึกบลูริงเข้าไปหรือโดนกัด ควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน

      ความอันตรายของหมึกบลูริงนั้นมาจากพิษที่ผสมอยู่ในน้ำลายอย่าง สารเทโทรโดทอกซิน (Tetrodotoxin) ซึ่งเป็นพิษชนิดเดียวกับที่พบในปลาปักเป้าและสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 200 องศาเซลเซียส ด้วยเหตุนี้ การประกอบอาหารด้วยความร้อนระดับทั่วไปจึงไม่อาจทำลายพิษนี้ได้ ทั้งนี้ อาการหลังได้รับพิษมักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่นาทีและจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปริมาณของพิษที่เข้าสู่ร่างกาย ช่วงอายุ และสภาวะทางสุขภาพของแต่ละคน ยกตัวอย่างเช่น มีน้ำลายฟูมปาก กลืนลำบาก แน่นหน้าอก รู้สึกมีคล้ายของแหลมทิ่มแทง ชา ตะคริว เหงื่อออก เวียนศีรษะ คล้ายจะหมดสติ ปวดศีรษะ คลื่นไส้ สูญเสียการมองเห็น ยิ่งไปกว่านั้นผู้ได้รับพิษจากหมึกบลูริงยังอาจมีอาการแย่ลงอย่างรวดเร็ว และเสี่ยงต่อการเป็นอัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง อวัยวะต่างๆ ในร่างกายทำงานไม่ประสานกัน หายใจไม่ออก กล้ามเนื้อกระบังลมและหน้าอกไม่ทํางาน ร่างกายขาดออกซิเจนจนส่งผลให้ผิวหนังเปลี่ยนเป็นสีเขียวหรือสีม่วง และอาจเสียชีวิตได้ในที่สุด

       เนื่องจากพิษของหมึกบลูริงเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ หากถูกกัดหรือเผลอรับประทานหมึกบลูริงควรรีบพาไปพบแพทย์ทันที เพื่อทำการช่วยชีวิตด้วยวิธีต่าง ๆ อย่างเร่งด่วน อาทิ การให้ออกซิเจน การให้สารน้ำทางหลอดเลือด หรือการใส่ท่อช่วยหายใจ และดูแลรักษาอาการที่เกิดขึ้นอย่างใกล้ชิดต่อไป โดยก่อนจะถึงมือแพทย์ ญาติหรือคนรอบข้างผู้ป่วยสามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นหรือดูแลบริเวณที่ถูกกัดได้ตามคำแนะนำต่อไปนี้

1. นำอากาศเข้าสู่ปอดด้วยการเป่าปากและป้องกันการขาดอากาศนานจนเกินไป

2. ทำความสะอาดแผลที่ถูกกัดด้วยน้ำสะอาด จากนั้นให้พันรอบแผลด้วยผ้ารัดยางยืดพร้อมกับไม้ดาม เพื่อไม่ให้อวัยวะส่วนนั้นเคลื่อนไหวและชะลอไม่ให้พิษกระจายไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย

3. ไม่ควรกรีดปากแผลที่ถูกกัด เพราะจะทำให้พิษแพร่กระจายมากขึ้น

       อย่างไรก็ตาม การถูกหมึกบลูริงกัดนั้นพบได้น้อยมากโดยจะพบเฉพาะเวลาที่หมึกรู้สึกถูกคุกคามอย่างโดนจับหรือโดนทำร้ายเท่านั้น อีกทั้งยังไม่เคยมีรายงานการพบหมึกบลูริงตามชายหาดที่คนลงไปเล่นน้ำแต่พบบ้างในบริเวณพื้นทะเลและนอกแนวแนวปะการัง ผู้ที่ดำน้ำจึงควรระมัดระวังและไม่ไปรบกวนสิ่งมีชีวิตและที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำในบริเวณดังกล่าว เพื่อป้องกันการสัมผัสหรือถูกกัดโดยสัตว์น้ำที่อาจมีพิษ

       ในส่วนของผู้บริโภคควรใช้ความระมัดระวังและสังเกตความผิดปกติของปลาหมึกจากร้านอาหารหรือตลาดอยู่เสมอ หากพบความผิดปกติก็ควรนำไปทิ้ง ไม่ควรนำมารับประทาน เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง ในกรณีที่กังวลหรือสงสัยว่า ปลาหมึกหรืออาหารใดๆ อาจเป็นพิษหรือไม่ปลอดภัยต่อร่างกายสามารถโทรแจ้งสายด่วนอย. ที่เบอร์ 1556 หรือติดต่อสำนักงานสาธารณสุขของแต่ละจังหวัดได้ทันที

        ท่านควรสังเกตอาหารทะเลในทุกครั้งก่อนรับประทานว่ามีลักษณะเดียวกับสัตว์ทะเลมีพิษหรือไม่ หรืออาหารทะเลนั้นมีลักษณะที่ผิดแปลกไปจากที่เคยรับประทาน ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานหากไม่แน่ใจ เพื่อความปลอดภัยของท่านและครอบครัว

 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก
กรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)

เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand

อว. โดย MTEC - สภาองค์กรของผู้บริโภค เปิดผลทดสอบหมวกกันน็อก ยี่ห้อไหนได้มาตรฐาน THEOS-2 เสริมประสิทธิภาพให้ประเทศไทยเดินทางบนเส้นทางเดียวกันกับ UNSDGs

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.