กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • ศูนย์บริการร่วม
  • สาระน่ารู้

รู้จักเอลนีโญ...ให้มากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีอวกาศ

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
22 Jun 2023

355274925 653759503457256 7934022074956522238 n

 

 รู้จักเอลนีโญ...ให้มากขึ้น ด้วยเทคโนโลยีอวกาศ

      ก่อนที่จะไปรู้จักกับเอลนีโญ เรามาทำความเข้าใจเรื่องพลังงานของโลกกันก่อน ทุกคนทราบกันดีอยู่แล้วว่าโลกของเราหมุนรอบตัวเองและโลกก็โคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วย โดยจะโคจรไปในทิศทางเดียวกันกับการหมุนรอบตัวเอง ซึ่งในรอบ 11 ปีจะไม่เท่ากัน พลังงานที่จะได้รับก็จะไม่เท่ากันด้วย การถ่ายเทพลังงานจึงไม่เท่ากันทั่วทุกมุมโลก โดยเฉพาะประเทศที่ตั้งอยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตร เมื่อได้รับพลังงานมากก็จะทำให้ร้อนมาก อย่างไรก็ตาม ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการถ่ายเทพลังงาน การหมุนเวียนของอากาศ การหมุนเวียนของกระแสน้ำ หรือ ภาวะโลกร้อน เป็นต้น

ปรากฏการณ์ “เอลนีโญ” มีลักษณะการเกิดที่เด่นชัด 3 ประเภทด้วยกัน
? เอลนีโญแปซิฟิกตะวันออก (Eastern Pacific El Niño) ส่งผลให้เกิดผลกระทบด้านสภาพอากาศที่รุนแรงที่สุดในแอนตาร์กติกา รวมถึงความผิดปกติของอุณหภูมิติดลบบนคาบสมุทรแอนตาร์กติกและความผิดปกติของอุณหภูมิในเชิงบวกทั่วแอนตาร์กติกาตะวันตก รูปแบบนี้มักจะเกิดขึ้นบ่อยที่สุดและส่งผลให้อุณภูมิผิวน้ำทะเลสูงขึ้นผิดปกติ
? เอลนีโญเบซิ่นไวด์วอร์ม (Basin Wide Warm El Nino) เกิดอุณหภูมิผิวน้ำทะเลบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกฝั่งตะวันตกสูงขึ้นผิดปกติไปจนถึงตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก ที่ผ่านมาปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นอย่างเด่นชัดมาแล้วเมื่อปี พ.ศ.2552 และ พ.ศ.2557 ซึ่งส่งผลให้ประเทศไทยและประเทศอื่นๆ โดยรอบเกิดภาวะภัยแล้งค่อนข้างรุนแรงกว่าปกติ ในขณะที่ฝั่งอเมริกาก็เกิดพายุและฝนตกมากกว่าปกติ
? เอลนีโญโมโดกิ (Modoki El Niño) หรือ เอลนีโญแปซิฟิกตอนกลาง จะเกิดอุณหภูมิสูงผิดปกติในบริเวณตอนกลางของมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งโอกาสเกิดน้อยมาก หากเกิดเป็นปรากฏการณ์นี้จะเป็นผลดีต่อประเทศไทยคือจะมีปริมาณฝนตกมากขึ้น

       สิ่งที่ทำให้เราร้อนและรู้สึกแห้งแล้งคือ อุณหภูมิผิวน้ำทะเล เมื่อความชื้นน้อย เวลาเรารับรังสีแสงอาทิตย์ตรงๆ อุณหภูมิจะสูงขึ้นก็จะร้อนมาก และเนื่องจากแต่ละปีในช่วงเวลานี้เราจะได้รับพลังงานเต็มๆ ช่วงที่ถ่ายเทพลังงานในโซนของประเทศไทยยังไงก็จะร้อนขึ้นทุกปี แต่ก็ไม่ได้ร้อนขึ้นแบบมากจนเกินไป เพราะว่าจะมีปัจจัยความชื้นเข้ามาช่วยบรรเทาเรื่องอุณหภูมินั่นเอง พื้นที่ไหนใกล้ทะเลก็จะไม่ร้อนมาก ไม่หนาวมาก เช่น ถ้าไปอเมริกาแถวทะเลทราย อากาศจะแห้งจะทำให้เรารู้สึกร้อนมาก โดยปกติแล้วเอลนีโญ ลานีญา จะเกิดขึ้นเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ปีนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งจริงๆแล้วจะต้องมีการสะสมพลังงานอยู่สักพักทำให้เกิดการปรับตัวไม่ทัน เช่น เมื่อปีที่แล้วฝนตกมากทำให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ พอมาปีนี้ก็แล้งเลย เป็นต้น
       การที่โลกร้อนจะเป็นตัวเร่งให้เกิดความรุนรุนแรง จากที่อุณหภูมิสูงขึ้นเพียงแค่ระดับนึง แต่เมื่อเกิดภาวะโลกร้อนก็จะสูงขึ้นมากไปอีก ซึ่งปัจจุบันดาวเทียมสามารถวัดอุณหภูมิผิวน้ำทะเลได้ทั่วทั้งโลก ต่างจากสมัยก่อนที่ใช้ทุ่นในทะเลในการวัดซึ่งวัดได้เฉพาะบริเวณจุดที่มีทุ่นเท่านั้น แต่ดาวเทียมสามารถเห็นพฤติกรรมของปรากฏการณ์นี้และเห็นผลกระทบของในแต่ละพื้นที่ พอยิ่งศึกษาเข้าไปลึกมากขึ้นทำให้ทราบถึงอุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่สูงขึ้นในฝั่งอเมริกาที่สามารถแบ่งเป็นโซน สามารถวิเคราะห์ได้ว่าเกิดขึ้นเป็นปรากฏการณ์แบบไหน พื้นที่ใดจะได้รับผลกระทบบ้าง นอกจากนี้ดาวเทียมก็ยังสามารถติดตามสถานการณ์ในประเทศได้อีกหลายอย่าง ทั้งภัยพิบัติต่างๆ ภัยแล้ง ไฟป่า น้ำท่วม หรือ ด้านการเกษตร เช่น การติดตามปริมาณผลผลิต ด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เป็นต้น

       สำหรับแนวโน้มปรากฏการณ์เอลนีโญที่อาจเกิดขึ้นในครั้งนี้ ซึ่งถ้าหากปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน แต่ ณ เวลานี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นประเภทไหนเพราะเพิ่งเริ่มต้น ต้องใช้ระยะเวลาจึงจะรู้ประเภทของเอลนีโญ เพื่อเตรียมรับมือกับสถานการณ์ได้ โดยพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดคือพื้นที่ที่มีความห่างไกลจากทะเล และคาดว่าครั้งนี้จะมีผล 60 เปอร์เซ็นต่อประเทศไทย นั่นหมายความว่าประเทศไทยจะได้รับอิทธิพลจากเอลนีโญอย่างแน่นอน ส่วนอีก 40 เปอร์เซ็นต์ จะมาจากอิทธิพลของทะเลจีนใต้และมหาสมุทรอินเดีย ที่จะมาเป็นแรงเสริมให้แล้งมากขึ้นหรือแล้งน้อยลง การคาดการณ์หรือพยากรณ์ในประเทศไทยยังค่อนข้างยาก เพราะต้องอาศัยเรื่องลม ฟ้า อากาศ จากรอบๆพื้นที่ประเทศที่มีอิทธิพลประกอบร่วมด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักพัฒนานวัตกรรมภูมิสารสนเทศ
เรียบเรียง : ฝ่ายสร้างเสริมภาพลักษณ์

สามารถอ่านบทความอื่นๆ ของ สทอภ. ได้ที่ มองโลกเรา

 

ที่มา : สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.)

เผยแพร่โดย : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร (สอ.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand

 

 

ภัยแล้ง..!! กับการประเมินสถานการณ์จากแหล่งน้ำขนาดเล็กด้วยดาวเทียม อว. โดย MTEC - สภาองค์กรของผู้บริโภค เปิดผลทดสอบหมวกกันน็อก ยี่ห้อไหนได้มาตรฐาน

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.