สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ (ปส.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ (อว.) ร่วมกับทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) จัดติวเข้มหน่วยงานความมั่นคงของไทย พม่า และเวียดนาม มุ่งพัฒนาโครงสร้างการตรวจจับด้านความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีในระดับประเทศ พร้อมแนะวิธีการพิสูจน์เอกลักษณ์และประเมินความเสี่ยงตามมาตรฐานสากล หวังเพิ่มศักยภาพและประสิทธิภาพการกำกับความปลอดภัยนิวเคลียร์-รังสีของเจ้าหน้าที่ไทย และภูมิภาคเอเชีย
เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 นางสุชิน อุดมสมพร ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน รักษาราชการแทนรองเลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ ได้รับมอบหมายจาก นางสาววิไลวรรณ ตันจ้อย เลขาธิการสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม “IAEA Regional Workshop on Nuclear Security Detection Architecture Design, Strategy and Planning for the Asia Region” ระหว่างวันที่ 24 – 28 กุมภาพันธ์ 2563 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคาร 1 ปส. โดยเชิญผู้แทนหน่วยงานความมั่นคงจากประเทศไทย 9 หน่วยงาน ได้แก่ ภาควิชาวิศวกรรมนิวเคลียร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายตำรวจสากลและประสานงานภูมิภาค 2 กองการต่างประเทศ กองบัญชาการตำรวจสันติบาล สำนักงานพิสูจน์หลักฐานตำรวจ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ กองสืบสวนและปราบปราม กรมศุลกากร สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง และ ปส. รวมทั้งผู้แทนจากประเทศเวียดนามและพม่า รวม 30 คน เพื่อร่วมเรียนรู้และพัฒนาการออกแบบโครงสร้างการตรวจจับด้านความปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีแบบบูรณาการซึ่งจะช่วยทำให้การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีในส่วนของวัสดุนิวเคลียร์และวัสดุกัมมันตรังสีที่อยู่นอกการกำกับดูแลเป็นให้ไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีการจัดทำแผนและยุทธศาสตร์ระดับชาติ นำไปสู่ศักยภาพในการตรวจจับด้านความมั่นคงทางนิวเคลียร์และรังสีของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับระหว่างประเทศภายใต้กรอบความร่วมมือของ IAEA ส่งผลให้ภารกิจด้านความมั่นคงปลอดภัยทางนิวเคลียร์และรังสีของไทยและทั่วโลกเกิดความเข้มแข็ง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ กลุ่มความร่วมมือและประสานงานระหว่างประเทศ โทร 0 2596 7600 ต่อ 4104
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.