เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม นายศุภชัย ใจสมุทร ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมงาน Kick off 30 บาทรักษาทุกที่ เพื่อคนไทยสุขภาพดีถ้วนหน้า ระยะที่ 4 ครอบคลุมทั่วประเทศ 1 มกราคม 2568 โดยมี นางสาวแพรทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมกล่าวปาฐกถา ในหัวข้อ ”30 บาทรักษาทุกที่ เพื่อคนไทยสุขภาพดีถ้วนหน้า“ ทั้งนี้มี นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และผู้ร่วมงานกว่า 100 คน เข้าร่วมงาน ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในวันนี้ 30 บาทรักษาทุกที่ได้เชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพของประชาชนแล้ว 100% ประชาชนทุกคนมี Health ID ประจำตัว ได้รับบริการรักษาพยาบาลที่สะดวกรวดเร็วขึ้น ไม่ต้องรอคิวตรวจนานที่โรงพยาบาลอีกต่อไป เราใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาสนับสนุนการให้บริการแก่ประชาชน เกิดเป็นใบส่งตัวในรูปแบบดิจิทัลการแจ้งเตือนนัดหมอผ่านไลน์ การหาหมอผ่านออนไลน์
“การเปิดให้ร้านยาและคลินิกเอกชนเข้ามาร่วมเป็นหน่วยบริการปฐมภูมิดูแลประชาชน เพิ่มทางเลือกให้ประชาชนรับบริการใกล้บ้านตามเวลาราษฎรไม่ใช่เวลาราชการ ผลจากการที่มีทางเลือกใหม่ ๆ พบว่าทำให้ประชาชนกว่า 80,000 คน ที่ไม่เคยใช้สิทธิมาก่อน มาใช้ 30 บาทรักษาทุกที่ ที่ร้านยาและคลินิกเอกชน อีกทั้งการมีนัดหมายออนไลน์และใบส่งตัวดิจิทัลได้ช่วยลดระยะเวลารอคอยของประชาชน เพราะไม่ต้องไปรอคิวแต่เช้า การมีระบบไอทีใน 30 บาทรักษาทุกษาที่ ผลวิจัยพบว่าทำให้ประชาชนในพื้นที่นำร่องมีความรอบรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศมากกว่าพื้นที่อื่น” นายกรัฐมนตรีกล่าว
นางสาวแพทองธาร กล่าวต่อว่า หลังจากความสำเร็จของ 30 บาทรักษาทุกที่ในปีแรกแล้ว ในปี 2568 นี้ รัฐบาลเดินหน้าพัฒนาระบบสาธารณสุข 6 ด้าน พร้อมทั้งงบประมาณรองรับ ดังนี้ 1. ระบบบริการสุขภาพผู้สูงอายุ จัดตั้งสถานชีวาภิบาลทั่วประเทศ 2. สร้าง Care Giver หรือนักบริบาลผู้สูงอายุ 15,000 ตำแหน่งทั่วประเทศ ซึ่งจะทำให้เกิดการจ้างานในชุมชน โดยจะเน้นกลุ่มที่เป็นนักศึกษาจบใหม่และผู้สูงอายุหลังเกษียณเพื่อให้มีงานทำ
ทั้งนี้ ภายในงานได้มีการแสดงนวัตกรรมการเชื่อมโยงข้อมูลสุขภาพ เช่น หมอพร้อม กระทรวงสาธารณสุข, Health Link โดยสถาบันข้อมูลขนาดใหญ่ กระทรวงดิจิทัลฯ, ระบบ AMED โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), ระบบ Dent Cloud ทันตแพทยสภา, Krungthai digital health platform โดยธนาคารกรุงไทย และบริการ 30 บาทรักษาทุกที่ แอปพลิเคชันทางรัฐ รวมถึงนวัตกรรม 30 บาทรักษาทุกที่ เช่น ตู้ห่วงใยหรือหมอตู้ หาหมอออนไลน์ แจกชุดตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูกด้วยตนเอง และชุดตรวจคัดกรองโรคพยาธิใบไม้ในตับและมะเร็งท่อน้ำดีด้วยตนเอง เครื่องล้างไตอัตโนมัติ GPO Life และระบบส่งต่อดิจิทัล เป็นต้น
31 จังหวัดที่พร้อมให้บริการ 30 บาทรักษาทุกที่ 1 มกราคม 2568 เป็นต้นไป ได้แก่ 1. ตาก 2. สุโขทัย 3. พิษณุโลก 4. อุตรดิตถ์ 5. ขอนแก่น 6. มหาสารคาม 7. กาฬสินธุ์ 8. มุกดาหาร 9. ยโสธร 10. ศรีษะเกษ 11. อุบลราชธานี 12. สมุทรปราการ 13. ปราจีนบุรี 14. ฉะเชิงเทรา 15. ชลบุรี 16. ระยอง 17. จันทบุรี 18. ตราด 19. กาญจนบุรี 20. สุพรรณบุรี 21. นครปฐม 22. สมุทรสาคร 23. สมุทรสงคราม 24. ราชบุรี 25. ประจวบคีรีขันธ์ 26. ชุมพร 27. ระนอง 28. สุราษฎร์ธานี 29. กระบี่ 30. นครศรีธรรมราช 31. ภูเก็ต
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สายด่วน สปสช. โทร. 1330
ทำข่าว : นางสาวพรชิตา รุกขชาติ
ถ่ายภาพ : นายสุรกิจ แก้วมรกต
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กลุ่มสื่อสารองค์กร
โทรศัพท์ 0 2333 3700
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : MHESIThailand
Instagram : mhesithailand
Tiktok : @mhesithailand
X (Twitter) : @MHESIThailand
YouTube : @MHESIThailand
Call Center 1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.