เมื่อวันที่ 5 ก.พ. นางสาวศุภมาสอิศรภักดีรมว.การอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการประชุมและมอบนโยบายในโครงการประชุมสัมมนาเพื่อขับเคลื่อนการจัดทำหลักสูตรในการผลิตและพัฒนากำลังคนโดยใช้แผนที่ทักษะ (Skill Mapping) และทรานสคริปต์แสดงผลทักษะ (Skill Transcript) พร้อมด้วยนายเพิ่มสุขสัจจาภิวัฒน์ปลัดอว. นางสาวสุชาดาแทนทรัพย์เลขานุการรมว.อว. ศ.ดร.ศุภชัยปทุมนากุลรองปลัดอว. นางสาววราภรณ์รุ่งตระการที่ปรึกษาด้านระบบบริหารการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมและนายอิสระว่องกุศลกิจประธานคณะอนุกรรมการด้านการสร้างและพัฒนาบัณฑิตณห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐณนครชั้น 3 อาคารอุดมศึกษา 1 สำนักงานปลัดกระทรวงอว. ถ.ศรีอยุธยาโดยมีผู้บริหารและคณาจารย์จากสถาบันอุดมศึกษาของรัฐและเอกชนจำนวน 109 แห่งหน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานภาคเอกชนเข้าร่วมประชุมในห้องประชุมจำนวน 188 คนและเข้าร่วมประชุมผ่านระบบออนไลน์จำนวน 408 คน
นางสาวศุภมาสกล่าวว่าการทำ Skill Mapping หรือแผนที่ทักษะเพื่อระบุทักษะที่สำคัญในการทำงานในสาขาอาชีพสมัยใหม่และเป็นไปตามความต้องการของประเทศโดยใช้ข้อมูลจากการสำรวจความต้องการทักษะของภาคธุรกิจและจากฐานข้อมูลการทำงานระดับโลกเพื่อทำการวิเคราะห์หาทักษะที่นักศึกษาควรมีปัจจุบันได้มีการประกาศทักษะที่พึงประสงค์จำนวน 5 สาขาได้แก่เกษตรสมัยใหม่การตลาดดิจิทัลการท่องเที่ยวสมัยใหม่ยานยนต์ไฟฟ้าและนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลเพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาหรือหน่วยงานที่จะพัฒนากำลังคนสามารถนำไปปรับใช้ในการออกแบบหลักสูตรได้
รมว.อว.กล่าวต่อว่าการสัมมนาครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษานำร่อง 6 แห่งได้แก่มหาวิทยาลัยพะเยาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาวิทยาลัยบูรพาและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนการนำ Skill Mapping ใช้ในการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนให้เป็นไปตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมหรือผู้ใช้บัณฑิตและนำไปสู่การขยายผลให้กับสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆในการจัดทำทรานสคริปต์แสดงผลทักษะ (Skill Transcript) และใบประกาศนียบัตรแสดงผลทักษะ (Skill Certificate) ต่อไป
“Skill Mapping ถือเป็นกลไกขับเคลื่อนและผลักดันให้การสร้างหลักสูตรบนฐานสมรรถนะและทักษะให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานที่มีการพัฒนาอยู่อย่างสม่ำเสมอและปรับให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะบุคคลเพื่อเพิ่มศักยภาพให้ผู้เรียนมีทักษะที่พึงประสงค์มีความพร้อมในการทำงานและเป็นที่ต้องการของภาคผู้ใช้บัณฑิตและอาชีพในอนาคต” นางสาวศุภมาสกล่าว
ทั้งนี้การประชุมสัมมนาเพื่อขับเคลื่อนการจัดทำหลักสูตรดังกล่าวมีการจัดเสวนา 4 หัวข้อได้แก่1.แนวทางการขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนตามปรัชญาการอุดมศึกษาไทย 2.การนำ Skill Mapping ไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน 3.การจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนโดยใช้Skill Mapping ของสถาบันอุดมศึกษา 6 แห่งและ 4.การสร้างและพัฒนากำลังคนเพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม
ทั้งนี้การประชุมสัมมนาเพื่อขับเคลื่อนการจัดทำหลักสูตรดังกล่าวได้มีการจัดเสวนา 4 หัวข้อดังนี้ (1) แนวทางการขับเคลื่อนการผลิตและพัฒนากำลังคนตามปรัชญาการอุดมศึกษาไทย (2) การนำ Skill Mapping ไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน (3) การจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนโดยใช้ Skill Mapping ของสถาบันอุดมศึกษา 6 แห่งและ (4) การสร้างและพัฒนากำลังคนเพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมรวมทั้งได้รับความร่วมมือจากสถาบันอุดมศึกษานำร่อง 6 แห่งได้แก่มหาวิทยาลัยพะเยาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีมหาวิทยาลัยขอนแก่นมหาวิทยาลัยบูรพาและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์สถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศภาคเอกชนและภาคอุตสาหกรรมเข้าร่วมแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์การจัดทำหลักสูตรการเรียนการสอนการนำ Skill Mapping ใช้ในการออกแบบหลักสูตรการเรียนการสอนเพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนให้เป็นไปตามความต้องการของภาคอุตสาหกรรมหรือผู้ใช้บัณฑิตและนำไปสู่การขยายผลให้กับสถาบันอุดมศึกษาอื่นๆในการจัดทำ Skill Transcript และ Skill Certificate ต่อไป” นางสาวศุภมาสกล่าวทิ้งท้าย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.