วันนี้ (9 มีนาคม 2563) ณ โรงแรมสวิสโซเทล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ/ นายเพิ่มสุข สัจจาภิวัฒน์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดกิจกรรม SiBB Global Connect : Life Science Cluster ซึ่งเป็นความร่วมมือของสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการการส่งเสริมกิจการอุทยานวิทยาศาสตร์ (สอว.) สำนักปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ โครงการจัดตั้งสถานพัฒนาความเป็นผู้ประกอบการสำหรับนักศึกษา (SEDA) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ดำเนินการขึ้นภายใต้โครงการส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจนวัตกรรมรายใหม่ระหว่างกิจการขนาดใหญ่และมหาวิทยาลัย (Business Brotherhood) ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 โดยส่วนหนึ่งของการดำเนินการในปีนี้ สอว. ได้ริเริ่มกิจกรรม SiBB Global Connect เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษา ผู้ประกอบการ ให้เติบโตในระดับนานาชาติได้
กิจกรรม SiBB Global Connect เป็นการพัฒนาศักยภาพด้านความเป็นผู้ประกอบการอย่างเข้มข้น โดยครอบคลุมด้านการพัฒนากลยุทธ์ทรัพย์สินทางปัญญาสำหรับธุรกิจชีวการแพทย์ในการสากล การพัฒนาแนวทางการดำเนินธุรกิจนวัตกรรม การพัฒนากลยุทธ์การเข้าสู่ตลาดสากล การพัฒนาคุณค่าที่เป็นเอกลักษณ์ และการพัฒนาแบบจำลองทางเงิน โดยเชิญผู้เชี่ยวชาญจากภาคเอกชนร่วมเป็นวิทยากร และเป็นพี่เลี้ยงตลอดระยะเวลาการจัดกิจกรรม 5 วัน
โดยในกิจกรรมนี้ มีทีมนักศึกษาผู้ประกอบการจำนวน 15 ทีม จาก 6 มหาวิทยาลัย ได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยผู้ผ่านการคัดเลือกกิจกรรมนี้จะมีสิทธิเข้าร่วมกิจกรรม Bio Investment 2020 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค กรุงเทพมหานคร และยังได้สิทธิไปแสดงผลงานในกิจกรรม Bio International Convention ณ เมืองซานดิเอโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ในเดือนมิถุนยายน 2563
นายเพิ่มสุข ผู้ตรวจราชการ อว. กล่าวว่า กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มีนโยบายในการส่งเสริมการสร้างและพัฒนานวัตกรรม ไปสู่ประเทศฐานนวัตกรรม (Innovation Nation) โดยแปลงนวัตกรรมเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางสังคม ผ่านการพัฒนาสตาร์ทอัพรุ่นใหม่ เพื่อยกระดับระบบเศรษฐกิจของประเทศให้ขับเคลื่อนด้วย Bio - Circular - Green (BCG) Economy ซึ่งกิจการขนาดใหญ่และมหาวิทยาลัยจะมีส่วนสำคัญที่ทำให้สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ พัฒนาศักยภาพในด้านต่าง ๆ พร้อมที่จะเติบโตได้อย่างก้าวกระโดด
กิจกรรมครั้งนี้จะเป็นอีกก้าวสำคัญที่จะช่วยให้สตาร์ทอัพรุ่นใหม่ที่เป็นนักศึกษา นักวิจัยของมหาวิทยาลัย ในกลุ่มอุตสาหกรรมชีวการแพทย์ จำนวน 15 ทีม จาก 6 มหาวิทยาลัยได้มีความพร้อมในการออกสู่ตลาดต่างประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมสำคัญที่ช่วยสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทย และมหาวิทยาลัยของไทยzjkoเวทีในระดับสากลอีกด้วย
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.