หลังจาก SPACE-F โครงการบ่มเพาะและเร่งการเติบโตของสตาร์ทอัพด้านอาหาร เปิดตัวและดำเนินการมาเป็นระยะเวลา 4 เดือน สตาร์ทอัพในโปรแกรม Accelerator จำนวน 7 บริษัท พร้อมแล้วที่จะนำเสนอผลิตภัณฑ์และแนวคิดต่างๆ ให้กับนักลงทุนจากสถาบันการเงิน และบริษัทเอกชน กว่า 70 ชีวิตภายในงาน โดยผลิตภัณฑ์และแนวคิดของสตาร์ทอัพนั้นได้พัฒนา ปรับปรุงและต่อยอดในระหว่างที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้เข้ากับตลาดและลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย
ซึ่งสตาร์อัพทั้ง 7 บริษัท ได้แก่ HydroNeo ระบบ IOT สำหรับฟาร์มกุ้ง, Eden Agritech สารเคลือบเพื่อช่วยยืดอายุผลไม้, Manna Foods คุ้กกี้จากแมลง, Sixtein โปรตีนจากจิ้งหรีด, Alchemy Foodtech สารปรุงแต่งเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด, Orgafeed อาหารสุนัขจากแมลง, และ Swirl.Go เครื่องผลิตไอศกรีมซอฟเซิร์ทระบบแคปซูล
ปัจจุบันความท้าทายด้านอาหารเกิดขึ้นทั่วโลก เนื่องจากจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความต้องการอาหารมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ โครงการ SPACE-F จึงถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี ในการแก้ปัญหาเหล่านี้ อีกทั้งประเทศไทยก็เป็นที่ตั้งของตลาดอาหารที่มีความหลากหลาย และมีห่วงโซ่อาหารที่กว้างขวางและครอบคลุมทั่วโลก ทำให้สามารถกลายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาสตาร์ทอัพด้านอาหาร (FoodTech) ได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ NIA ยังมีกลไลสนับสนุนสตาร์ทอัพในโครงการต่อไป เช่น การขอ SMART Visa สำหรับชาวต่างชาติ, การขอบัตรสนับสนุนจาก BOI, และถ้าเป็นบริษัทไทย ก็สามารถขอรับเงินทุสนสำหรับทำต้นแบบผลิตภัณฑ์ได้
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.