สัปดาห์ที่ผ่านมา กรมวิทยาศาสตร์บริการ (วศ.) ได้กิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) สาขาสอบเทียบ รายการ Calibration of Caliper (Digital) โดยกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ 2 กองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้มีการรับ-ส่งตัวอย่างเครื่องมือ ณ อาคารสถานศึกษาเคมีปฏิบัติ ในช่วงการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์บริการได้มีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาด ทำให้การติดต่อระหว่างเจ้าหน้าที่กับผู้รับริการ ต้องทำการเปลี่ยนสถานที่ติดต่อรับ - ส่งจากเดิม และกิจกรรมทดสอบความชำนาญได้เริ่มเวียนวัตถุตัวอย่าง (artifact) ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 จะสิ้นสุดเดือนกรกฎาคม 2563 มีห้องปฏิบัติการต่างๆ จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วม จำนวนทั้งสิ้น 43 ห้องปฏิบัติการ
การจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญในสาขาสอบเทียบรายการนี้ ถือว่าเป็นองค์ประกอบสำคัญส่วนหนึ่งที่พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีที่จำเป็นต่อการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ในการให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดด้านความยาวและมิติ ที่มีใช้ในภาคอุตสาหกรรมยานยนต์ เหล็ก การแพทย์ วัสดุนวัตกรรม และการวิจัยต่างๆ ดังนั้น ห้องปฏิบัติการสอบเทียบด้านความยาวและมิติ จึงจำเป็นต้องได้รับการรับรองความสามารถของห้องปฏิบัติการตามมาตรฐานสากล ISO/IEC 17025 เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นและความน่าเชื่อถือให้แก่ห้องปฏิบัติการ โดยห้องปฏิบัติการต้องมีวิธีการหรือขั้นตอนการปฏิบัติในการเฝ้าระวังความน่าเชื่อถือของผลทดสอบและสอบเทียบ การเข้าร่วมกิจกรรม PT ถือเป็นการประกันคุณภาพของผลการทดสอบและสอบเทียบ เพื่อยืนยันสมรรถนะและความสามารถของห้องปฏิบัติการที่ให้บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดแก่ภาคอุตสาหกรรมหรือหน่วยงานวิจัยทั้งภาครัฐและเอกชนของประเทศ นอกจากนี้ยังเป็นกิจกรรมที่สอดคล้องและสนับสนุนระบบ NQI ของประเทศ เป็นการสร้างหลักประกันทางคุณภาพให้แก่ผลิตภัณฑ์/ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมและยกระดับคุณภาพสินค้าให้ได้มาตรฐาน ช่วยลดการกีดกันทางการค้าทั้งในระดับประเทศและระดับสากล และห้องปฏิบัติการที่ให้บริการสอบเทียบยังต้องคงรักษาสภาพความน่าเชื่อถือของห้องปฏิบัติการไว้ และเตรียมความพร้อมหลังวิกฤติ COVID-19 ผ่านพ้นไป เพื่อบริการตรวจสอบความใช้ได้ของเครื่องมือในภาคอุตสาหกรรมที่มีการหยุดดำเนินการในช่วงนี้
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.