เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม2563 กรมวิทยาศาสตร์บริการ โดยกองความสามารถห้องปฏิบัติการและรับรองผลิตภัณฑ์ ได้จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ (proficiency testing, PT) โดยได้ดำเนินการจัดส่งตัวอย่างอาหารสัตว์ ให้แก่ห้องปฏิบัติการที่สมัครเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน 69 ห้องปฏิบัติการ ประกอบด้วยห้องปฏิบัติการภายในประเทศ 67 หน่วยงาน และต่างประเทศ 2 หน่วยงาน เพื่อให้ห้องปฏิบัติการดำเนินการทดสอบผลการวัด ในรายการ Moisture, Protein, Soluble proteins in Potassium hydroxide solution, Crude fiber and Ash in Feeding stuffs (Soybean meal) และส่งผลกลับมายังกลุ่มทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ ของกรมวิทยาศาสตร์บริการ ภายในวันที่ 29 พฤษภาคม 2563 เพื่อประเมินผลทางสถิติเปรียบเทียบผลการวัดระหว่างห้องปฏิบัติการต่อไป
กากถั่วเหลือง (Soybean meal) เป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่นิยมใช้กันเป็นอย่างมากเพราะมีโปรตีนสูงที่สุดในบรรดาอาหารสัตว์ที่ได้จากพืช และผลิตได้ง่ายทั้งนี้ในกระบวนการผลิตยังได้น้ำมันถั่วเหลืองซึ่งเป็นอาหารของคนได้อีกด้วย กากถั่วเหลืองสามารถผลิตได้เป็นปริมาณมากในประเทศ และฟาร์มเลี้ยงสัตว์นั้นใช้กากถั่วเหลืองเลี้ยงสัตว์เป็นหลักเพราะราคาไม่สูงและให้โปรตีนสูงต่อความต้องการของสัตว์
ดังนั้นผู้เลี้ยงสัตว์และผู้ผลิตอาหารสัตว์ จึงควรให้ความสำคัญในการตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนะทั้งวัตถุดิบที่นำมาเป็นอาหารสัตว์และผลิตเป็นอาหารสัตว์ การทดสอบคุณค่าทางโภชนะอาหารสัตว์ โดยทั่วไปจะใช้วิธีทดสอบแบบประมาณ (proxinmate analysis) โดยหลักการวิธีนี้จะแบ่งกลุ่มโภชนะออกเป็น 6 กลุ่ม คือ ความชื้น (Moisture) โปรตีน (Protein) ไขมันรวม (Crude fat) กากหรือเยื่อใยรวม (Crude fiber) เถ้า (Ash) และคาร์โบไฮเดรตที่ย่อยได้ง่าย (nitrogen free extract, NFE)
กรมวิทยาศาสตร์บริการ ได้สนับสนุนผู้ประกอบการที่ทำการทดสอบคุณภาพด้านอาหารและอาหารสัตว์ โดยจัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการ สาขาอาหารรายการ Moisture, Protein, Soluble proteins in Potassium hydroxide solution, Crude fiber and Ash in Feeding stuffs (Soybean meal) ประเมินสมรรถนะและพัฒนาคุณภาพห้องปฏิบัติการให้ได้ผลการทดสอบเป็นไปตามมาตรฐานสากล ถือเป็นการประกันคุณภาพผลการทดสอบอย่างหนึ่งของห้องปฏิบัติการทดสอบที่ได้รับการรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO/IEC17025 เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือในผลการทดสอบว่ามีความแม่นยำ ถูกต้อง รวมถึงเป็นที่ยอมรับทั้งหน่วยงานรัฐบาล และเอกชน ที่ส่งตัวอย่างมาทดสอบ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.