(4 มิถุนายน 2563) ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เป็นประธานการประชุมหารือกับสมาคมสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ (สคทส.) โดยมี นางสุวรรณี คำมั่น เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, นายปฐม สวรรค์ปัญญาเลิศ รองปลัดกระทรวงกระทรวงการอุดมศึกษาฯ, ดร.อรสา ภาววิมล รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา และผู้บริหารสมาคมสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เข้าร่วมประชุมและร่วมงานผ่านทางระบบออนไลน์ ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์ประเสริฐ ณ นคร ชั้น 3 อาคารอุดมศึกษา 1 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) (ศรีอยุธยา)
รศ.พีระพงศ์ ทีฆสกุล กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์การจัดประชุมในครั้งนี้ว่า สมาคมสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นการรวมตัวกันเพื่อดำเนินงานขับเคลื่อนนโยบายของประเทศและกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ประเด็นแรกทางสมาคมฯ คิดเห็นว่าจะร่วมดึงบริษัทที่ดีที่สุดของโลกในด้านไอทีให้มาร่วมลงทุนเพิ่มขึ้น สิ่งแรกที่ต้องทำก็คือเรื่องของคนที่ต้องเตรียมความพร้อมโดยเฉพาะเรื่องของการ Re-skill, Up-Skill, และ New-skill เรื่องที่สองก็คือ Big Data ซึ่งตอนนี้กำลังดำเนินการอยู่ ในส่วนที่สามเรื่องของนโยบายทางด้าน ววน. เรื่องที่สี่เป็นเรื่องของกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) และเรื่องสุดท้ายคือ บัณฑิตศึกษาที่เน้นการพัฒนาบุคลากรทางด้านอุสาหกรรม
ดร.สุวิทย์ รมว.อว. กล่าวว่า ในครั้งนี้ถือว่าเรื่องของ ICT, Digital หรือเรื่องของ Data Economy นั้นเป็นเรื่องที่มีความสำคัญมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกหลังโควิด เพราะฉะนั้นวันนี้จึงอยากหารือกับทางสมาคมฯ ว่ามีความคิดอ่านในเรื่องเหล่านี้อย่างไร พร้อมกันนั้นโจทย์ของรัฐบาลหรือประเทศ อยากจะให้พวกเราผนึกกำลังกันดำเนินงานให้เกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น และเมื่อโลกเข้าสู่ 5G จะเกิดการ Reinvention ของแต่ละส่วน เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นพลังของพวกเราที่มีความสำคัญที่จะช่วยเปลี่ยนผ่านในเรื่องต่าง ๆ ให้เป็นไปในทิศทางที่ถูกต้องและในเวลาที่รวดเร็วได้อย่างไร
ซึ่งโจทย์มีทั้งในด้านยุทธศาสตร์และโจทย์ในระยะสั้นด้วย อย่างที่ทราบกันดีว่าโลกในอนาคตเรื่องของ IT, Digital เป็นเรื่องที่มีความสำคัญและเรื่องต่าง ๆ ที่เรากำลังจะดำเนินการขับเคลื่อนอยู่ต้องใช้งบประมาณซึ่งมีอยู่จำกัด และจะมีการพิจารณาในเรื่องการใช้งบประมาณเงินกู้ 4 แสนล้าน บางส่วนจะเป็นเรื่องของยุวชนสร้างชาติ และเป็นเรื่องของสมาคมฯ ที่ต้องมาร่วมกันตั้งโจทย์ Re-skill, Up-Skill, และ New-skill ให้กับนักศึกษา บัณฑิต หรือคนไทยอย่างรวดเร็ว เป็นรูปธรรมภายใต้ concept ที่เรียกว่า Job Creation, Transformation นั้นได้อย่างไร
ด้าน รศ.ดร.รัตติกร วรากูลศิริพันธุ์ นายกสมาคมฯ กล่าวว่า สมาคมสภาคณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศมีสมาชิกทั้งหมด 21 สถาบัน เป็นสถาบันของรัฐ 13 แห่ง และเอกชน 8 แห่ง ซึ่งทางสมาคมฯ พยายามดูว่ามีโจทย์อะไรบ้างที่สามารถร่วมมือกัน ให้การสนับสนุนในด้านต่าง ๆ ที่ทางกระทรวง อว. มีนโยบายที่จะให้เกิดขึ้น อาทิ Job Creation, Re-skill, Up-skill, New-skill เรื่องของ Smart Health หรือการใช้ AI ในเรื่องของอุตสาหกรรม การต่อยอด Innovation ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นเรื่องที่ทางสมาคมฯ ICT สามารถเข้าไปผลิตบัณฑิต หรือทำงานวิจัยทางด้านนวัตกรรม สร้างเสริมให้เกิดอุตสาหกรรมที่เป็นการรองรับในภาคต่าง ๆ ได้
โดยจะเสนอโครงการทั้งหมด 3 วาระ ดังนี้
1. สคทส. เสนอหลักสูตรพัฒนาบุคลากรเพิ่มทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT)
1.1 โครการ Up-Skill, Re-skill ให้กับครูสอนหมวดวิชา ด้าน Computing Science ระดับมัธยมปลาย ทั่วประเทศ
ปัญหาการเรียนการสอน ด้าน Computing Science เนื่องจากกระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการกำหนดให้มีการเรียนการสอน ในด้านวิทยาการคำนวณ (Computing Science) ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 6 ซึ่งเป็นแนวคิดให้นักเรียน มีทักษะในการคิดเชิงตรรกะ และสมารถเขียนโปรแกรม (Coding) อย่างไรก็ตาม การเขียนโปรแกรมนั้นต้องอาศัยผู้ที่ต้องมีประสบการณ์ในการปฏิบัติจริง และมีความเชี่ยวชาญ จึงจะทำให้การเรียนการสอนบรรลุเป้าหมาย แต่เนื่องจากครูโรงเรียนไม่ได้มีประสบการณ์ด้านนี้โดยตรง จึงทำให้การเรียนการสอนที่เกิดขึ้นในปัจจุบันขาดแคลนครูผู้ที่จะสามารถสอนในวิชาเหล่านี้ได้
1.2 โครงการหลักสูตร Cooperative and Work Integration Education (CWIE) ร่วมกับภาคอุตสาหกรรม
จากการประชุมอนุกรรมการพัฒนาบุคลากรตามแนวทาง EEC Model (ครั้งที่ 1/2563) ความร่วมมือระหว่าง สกพอ. กับ สป.อว. (1) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรตามแนวทาง Demand Driven โดยบูรณาการ EEC Model และ CWIE ให้ได้ทั้งในเชิงปริมาณและคุณภาพ (2) กำหนดแนวทางเพื่อสนับสนุนสถานศึกษา และให้สิทธิประโยชน์แก่เอกชนที่ร่วมผลิตบัณฑิตเพื่อเป็นการจูงใจเป็นพิเศษ (3) เร่งขยายจำนวนหลักสูตร CWIE ตามแนวทาง EEC Model Type A เพื่อรองรับความต้องการ EEC ให้ได้ 100,000 คน ภายในระยะเวลา 5 ปีี
ซึ่งสมาชิก สคทส. ที่มีประสบการณ์ในการพัฒนาและบริหารหลักสูตรรูปแบบ CWIE และที่สอดคล้องกับ EEC model ยินดีให้แลกเปลี่ยนและให้คำแนะนำ โดยเฉพาะกับสถาบันการศึกษาที่ต้องการพัฒนาหลักสูตรเพื่ออุตสาหกรรมดิจิทัล
แนวทางเบื้องต้นในการสนับสนุนสถานศึกษา
- สิทธิในการกู้กองทุน กยศ. เฉพาะสำหรับกลุ่มนักศึกษาที่เรียนในหลักสูตรรูปแบบนี้
- โครงการบัณฑิตพันธ์ใหม่ ที่ให้เฉพาะกับหลักสูตรเรียนในหลักสูตรรูปแบบนี้
1.3 โครงการ Up-Skill, Re-skill ในรูปของ Non-degree program ด้าน Data Science and Analytics
การพัฒนาทักษะทางด้าน Data Analytics และ Big Data ในยุคดิจิทัล แนวคิดและจุดประสงค์ในการออกแบบหลักสูตรประกาศนียบัตร
- แนวคิดของหลักสูตรเกิดจากแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมโดยมีวิสัยทัศน์ต้องการปฏิรูปประเทศไทยสู่ดิจิทัลไทยแลนด์ (Digital Thailand) เพื่อให้ประเทศใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเต็มศักยภาพ
- เตรียมความพร้อมด้านบุคลากรให้มีความรู้และทักษะทางด้านการวิเคราะห์ข้อมูล และ Big Data ในยุคดิจิทัลเพื่อสามารถประกอบอาชีพในยุคดิจิทัล 4.0 นี้ได้
- หลักสูตรระยะสั้นนี้ออกแบบขึ้นเพื่อผู้ที่กำลังทำงานในองค์กรต่าง ๆ หรือนิสิต/ นักศึกษา ที่สนใจเพิ่มพูนสมรรถนะในการวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytics) วิศวกรรมข้อมูล (Data Engineering) การเรียนรู้ของเครื่องจักร (Machine Learning) และการแสดงข้อมูลเชิงภาพ (Data Visualization)
1.4 โครงการหลักสูตรบูรณาการ แพทย์ศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ยอมรับวิชาที่สอน Online จากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก เรียนได้ทุกเวลาไม่ต้องสอนเองทั้งหมด
2. สามารถใช้ Competency base evaluations and assessments โดยไม่ต้องเรียนเป็นเทอม
3. ยอมรับ Medical application or project ที่ใช้งานได้จริงแทนการตีพิมพ์
4. รับรองการเรียนการสอนแบบผสมผสานระหว่างอาจารย์และผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรรัฐและเอกชน
5. นโยบายกระทรวง อว. ทันสมัย ทางบัณฑิตวิทยาลัยก็พยายามปรับแต่กฎระเบียบต่าง ๆ โดยเฉพาะ CHECO ยังเป็นปัญหา
6. สนับสนุนค่ใช้จ่ายหลักสูตร หรือช่วยเหลือนักศึกษาแพทย์
2. สคทส. เสนอโครงการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ที่ประยุกต์ AI เพื่ออุตสาหกรรมนำร่อง
2.1 โครงการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ประยุกต์ AI และ Digital Technology) เพื่อเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศ
- โครงการยกระดับยกระดับการท่องเที่ยวและโรงแรม ด้วย Digital Service
- โครงการยกระดับการท่องเที่ยวชุมชน (Smart Community Based Tourism)
การท่องเที่ยวชุมชนมีความเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละท้องถิ่น แสดงให้เห็นถึงวิถีชีวิต ศิลปะวัฒนธรรม ประเพณี และความเป็นอยู่ของคนในชุมชน เป็นการบริหารจัดการและดำเนินกิจกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน เป้าหมาย (1) ยกระดับและสนับสนุนการบริหารจัดการและการบริการด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเท่าตัว (2) ยกระดับการบริหารจัดการและคุณภาพการท่องเที่ยวชุมชนให้มีมาตรฐาน (3) การเพิ่มจำนวนผู้ท่องเที่ยวอีกหนึ่งเท่าตัว
2.2 โครงการวิจัยพัฒนานวัตกรรม ประยุกต์ AI และ IoT เพื่อเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรรมรังนกนางแอ่นของประเทศ
- RDI : AI for Food ลักษณะรูปร่างภายนอกนกแอ่นกินรัง (Edible-nest Swiftlet : Aerodramus fuciphagus Thunberg, 1812)
- รูปร่างโดยทั่วไปของนกแอ่นกินรังเต็มวัย
- สภาพการรวมกลุ่มของนกแอ่น กินรังเต็มวัย (roosting)
- รังและใข่ของนกแอ่นกินรัง
- ลูกนกที่เพิ่งฟักออกจากไข่
ผลผลิตรังนก เกรด A ส่งออก 200 ตัน 10,000 ล้านบาท
3. สคทส. ขอการสนับสนุนและส่งเสริมการศึกษาหลักสูตรด้านเทคโนลียีสารสนเทศ เพื่อผลิตบัณฑิตเป็น Digital Manpower และ Human Capital รองรับ 10 อุตสาหกรรม เป้าหมาย และ 3 โครงสร้างพื้นฐาน
การหารือครั้งนี้เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ยังมีงานอีกมากที่ต้องทำ เพื่อที่เราจะก้าวเข้าสู่ประเทศที่อยู่บนฐานดิจิทัล (Digital Nation) ได้อย่างแท้จริง ดร.สุวิทย์ กล่าวสรุป
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.