(8 มิถุนายน 2563) ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) เป็นประธานการประชุมหารือในหัวข้อ Branding Thailand พร้อมด้วย ดร.อภิชัย สมบูรณ์ปกรณ์ โฆษกกระทรวงการอุดมศึกษาฯ ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และคณะทำงาน เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมชั้น 22 สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) (ถนนศรีอยุธยา)
ที่ประชุมนำเสนอวัตถุประสงค์ในการประชุมหารือของหัวข้อ Branding Thailand ว่า
1. สร้างความเชื่อมั่น และฟื้นฟูการบริโภค การท่องเที่ยวและการลงทุนภายในประเทศภายหลังโควิด 19
2. สร้างการรับรู้ถึงศักยภาพของประเทศไทยในภาพรวมเพื่อสื่อสารทั้งในและต่างประเทศ
3. สร้างความภาคภูมิใจในความเป็นไทยให้กับประชาชน
ซึ่งทั้งหมดถูกรวมและใช้เรียกว่า THAI CARE คือ การสัมผัสถึงความเป็นไทย จากการรักษา ดูแลเอาใจใส่ การบริการ อาหาร วัฒนธรรม พื้นที่ที่หลากหลาย และความคิดสร้างสรรค์ของไทยผ่านเรื่องราว และประสบการณ์จากการท่องเที่ยว การทำงาน การอยู่อาศัย ที่นำไปสู่การสร้างความรู้สึกดีในด้านสุขภาพกายและใจ (Wellbeing) ในทุกมิติ
THAI CARE มาจากจุดแข็งและศักยภาพของประเทศไทย คือ THAI CORE STRENGTH ซึ่งแบ่งตามนี้
1. HOSPITALITY
- Health : สาธารณสุขของไทย ในการรับมือกับสถานการณ์ COVID-19
- Care : การช่วยเหลือกันของคนไทยในสถานการณ์ COVID-19
- Service : บริการที่ดีของสถานบริการ เช่น โรงแรม ห้างสรรพสินค้า ร้านสปา ร้านอาหาร
2. DIVERSITY
- Food : ความหลากหลายทางชีวภาพ ด้านอุตสาหกรรมอาหาร สมุนไพรที่จะเป็นอุตสาหกรรมตอบโจทย์ในอนาคต
- Culture : ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
- Geography : ความหลากหลายทางภูมิศาสตร์ ธรรมชาติ
3. Creativity
- Creative Solution : ความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยในการแก้ปัญหา การพัฒนาสินค้าและบริการที่สวยงามและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดยุคใหม่
Branding Thailand Outcome ก็คือ (1) ช่วยกระตุ้นให้เกิดการบริโภคจากการออกจากบ้านมาท่องเที่ยว (2) ช่วยร้านค้าและผู้ประกอบการให้มีรายได้จากการท่องเที่ยว (3) ช่วยส่งออกสินค้าไทยผ่านนักท่องเที่ยวต่างชาติ (4) ช่วยจ้างงานคนในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่ได้รับผลกระทบ (5) ช่วยสร้างโอกาสในการลงทุนด้านการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพที่สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค
ด้าน ดร.สุวิทย์ รมว.อว. กล่าวว่า การประชุมหารือกันครั้งนี้จะเป็นการสร้าง Thailand in the new global landscape หลัง Post-COVID โดยมีเป้าหมายคือการ Reset ประเทศไทยอย่างไรมากกว่าคือ ประเทศไทยกำลังวิตกกังวลกับการที่จะมีวิกฤติเศรษฐกิจ แต่จริง ๆ แล้ว มีโอกาส งานนี้ถือเป็นการเปลี่ยนมุมมองของการมอง เปลี่ยนจากมองที่วิกฤติเป็นมองที่โอกาส งานนี้เป็นการ Reset ประเทศไทยโดยที่มองจากมุมของโอกาส และมี 4 กลุ่มสำคัญ คือ (1) ประชาคมโลก ประเทศไทยจะต้องสร้าง Soft power และในประชาคมโลกเราต้องการให้ประเทศไทยมีจุดยืน (2) คนในประเทศไทยต้องเปลี่ยนจากวิกฤติให้เป็นโอกาสและที่ต้องมีคือ Proud to be Thai (3) เรื่องของ Global Citizen คือต้องร่วมใจและใส่ใจในเรื่องนี้ ซึ่งงานนี้ต้องไม่ใช่งานของรัฐบาลฝ่ายเดียว
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.