กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • ภาพข่าวและกิจกรรม

เสนอไทยพลิกโฉมสู่นิวนอร์มัลด้วยการวิจัยขั้นแนวหน้า ถึงเวลานักวิจัยรุ่นใหม่ถอดหมวกรวมตัวพัฒนาประเทศ “สุวิทย์” พร้อมหนุนปลดล็อกอุปสรรคขัดการสร้างอนาคต - มอบ สอวช. แม่งานนำกำลังคนหัวกะทิพบนายกเสนอไอเดีย

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
05 Jul 2020

1

          (22 มิถุนายน 2563) ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานการประชุมหารือการขับเคลื่อนการวิจัยขั้นแนวหน้า (Frontier Research in Action) จัดโดย สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เพื่อนำเสนอความก้าวหน้าการจัดทำยุทธศาสตร์และแผนที่นำทางการวิจัยขั้นแนวหน้ารายสาขาโดยนักวิจัยรุ่นใหม่ อาทิสาขา Quantum Technology, EarthSpace System (ESS), High Energy Physics (HEP) และ Biological Sciences & Life Sciences

          ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวง อว. กล่าวว่า ต้องขอบคุณในพลังคนรุ่นใหม่ที่มีความฮึกเหิมในการขับเคลื่อนประเทศผ่านการนำเสนออนาคตประเทศด้วยการวิจัยขั้นแนวหน้า หรือ Frontier Research ซึ่งโครงการการวิจัยขั้นแนวหน้า เป็นการลงทุนเพื่ออนาคตของประเทศด้านองค์ความรู้ การวิจัยและเทคโนโลยี และหากจะขับเคลื่อนประเทศสู่นิวนอร์มัลอย่างแท้จริง การวิจัยขั้นแนวหน้าก็เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยปรับโฉมไทยไปสู่จุดนั้น ซึ่งเชื่อว่าประเทศไทยมีศักยภาพที่จะทำได้หากทุกฝ่ายร่วมมือไม่แบ่งแยก อาจารย์ นักวิจัย ต้องทำงานร่วมกันแบบไม่มีหมวก ไม่มีสังกัด ต้องมีเป้าหมายร่วมกันคือเพื่อประเทศ โดยเอาความเชี่ยวชาญของตนมาร่วมพัฒนาประเทศแบ่งเป็นคลัสเตอร์องค์ความรู้ ไม่ใช่แบ่งตามสังกัดหน่วยงาน ต้องมาช่วยกันคิดว่าทำอย่างไรให้ไทยสามารถยืนบนขาตัวเองได้ด้วยทรัพยากรและบุคลากรของประเทศร่วมกับการหาความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนได้อย่างรวดเร็ว

2

          “การตั้งกระทรวงใหม่ขึ้นมาโดยมีการนำมหาวิทยาลัยเข้ามาร่วมด้วยเพื่อให้เกิดการบูรณาการความร่วมมือกันเป็นกระทรวงที่รวมองค์ความรู้ระดับประเทศ เพราะฉะนั้นการทำงานของอาจารย์และบุคลากรของมหาวิทยาลัยรวมถึงสถาบันวิจัยนั้น ต้องเป็นในรูปแบบการเข้ามาร่วมมือกันแบบไม่แบ่งสังกัด ทรัพยากรต้องสามารถใช้ร่วมกันเพื่อพัฒนาประเทศได้ โครงการวิจัยขั้นแนวหน้าที่นักวิจัยรุ่นใหม่นำเสนอครั้งนี้ทำให้เห็นถึงพลังคนรุ่นใหม่ระดับหัวกะทิที่เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาประเทศ โดยปัจจัยความสำเร็จของการวิจัยขั้นแนวหน้าตนมองว่า นอกจากการจับมือกันแน่นของนักวิจัยรุ่นใหม่แบบไม่แบ่งสังกัดแต่แบ่งจัดตามความเชี่ยวชาญความถนัดขององค์ความรู้ที่จะนำมาช่วยประเทศแล้ว ยังต้องผนวกกับความร่วมมือกับต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน โดยกระทรวงมีหน้าที่ช่วยปลดล็อก และช่วยดูว่าอะไรที่เป็นกลไกสำคัญที่ช่วยในการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่การวิจัยขั้นแนวหน้าได้บ้าง โดยกระทรวงเห็นความสำคัญของโครงการดังกล่าว และได้มอบหมายให้ สอวช. เป็นแม่งานในการนำนักวิจัยรุ่นใหม่พบนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะนับเป็นครั้งที่ 2 หลังจากเคยได้มีโอกาสนำเสนอและยื่นสมุดปกขาวการวิจัยขั้นแนวหน้าต่อนายกรัฐมนตรีมาก่อนหน้านี้แล้ว เพื่อนำเสนอให้เห็นความสำคัญในการทำวิจัยเพื่ออนาคตประเทศที่ชัดเจนขึ้น และทำให้เห็นภาพว่าการวิจัยขั้นแนวหน้าจะเป็นการพลิกโฉมประเทศสู่นิวนอร์มัลอย่างแท้จริง” ดร. สุวิทย์ กล่าว

3

          สำหรับการนำเสนอของผู้แทนนักวิจัยรุ่นใหม่ในแต่ละสาขามีการนำเสนอที่น่าสนใจหลากหลาย ประกอบด้วยดร.ธนภัทร์ ดีสุวรรณ ผู้แทนจากกลุ่มนักวิจัยเทคโนโลยีควอนตัมในประเทศไทย ได้นำเสนอการวิจัยขั้นแนวหน้าด้านควอนตัมออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) การคำนวณและการจำลองเชิงควอนตัม (quantum computing and simulation) 2) การสื่อสารเชิงควอนตัม (quantum communication) และ 3) มาตรวิทยาและการตรวจวัดเชิงควอนตัม (quantum metrology and sensing) ทั้งนี้ด้วยการที่เทคโนโลยีควอนตัมอยู่ในขั้นแรกเริ่มของการพัฒนา และมีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากสามารถยกระดับเทคโนโลยีที่มีอยู่เดิมให้มีศักยภาพสูงขึ้น ทั้งในด้านความรวดเร็วในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ ความแม่นยำและความปลอดภัยทางด้านการสื่อสาร จึงมีหลายๆ ประเทศให้ความสำคัญในการลงทุนพัฒนา และผลักดันเทคโนโลยีควอนตัมอย่างจริงจัง เช่นประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนที่สามารถใช้เทคโนโลยีควอนตัมในการสร้างดาวเทียมและทดลองการส่งสัญญาณ รวมถึงการเข้ารหัสด้วยเทคโนโลยีควอนตัมได้ การนำเทคโนโลยีควอนตัมไปสร้างเซ็นเซอร์ในทางการแพทย์เพื่อตรวจตัวคลื่นสมองได้แม่นยำมากขึ้น เป็นต้น โดย ดร.ธนภัทร์ ได้เน้นยำถึงความจำเป็นที่จะสนับสนุนนักวิจัยไทยในการเตรียมความพร้อมด้านกำลังคน การร่วมมือวิจัยกับต่างประเทศเพื่อสร้างโอกาสของประเทศไทยให้เป็นหนึ่งในฐานะผู้กำหนดทิศทางการใช้เทคโนโลยีควอนตัมระดับโลก

4

          ทางด้าน ดร.ปกรณ์ อาภาพันธุ์ ผู้แทนนักวิจัยจากกลุ่มระบบโลกและอวกาศ ได้นำเสนอประเด็นเกี่ยวกับการวิจัยขั้นแนวหน้าเพื่อการรับมือการภัยคุกคามจากธรรมชาติที่เปลี่ยนแปลงไปภายใต้กรอบทิศทาง เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals, SDGs) ของสหประชาชาติ และเสนอให้มีการสนับสนุนในระยะยาวของกิจกรรมนอกอวกาศ (long term support of outer space activities) ซึ่งการพัฒนาและวิจัยเทคโนโลยีด้านอวกาศจะสร้างความสามารถด้านวิศวกรรมขั้นสูงให้กับประเทศ ตลอดจนถึงการสนับสนุนให้เกิดอุตสาหกรรมและนวัตกรรมด้านอวกาศได้ โดยเสนอหัวข้อการพัฒนา 3 ด้านคือ 1) สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง 2) ผลกระทบต่อกิจกรรมอวกาศที่มีต่อโลก 3) การวิจัย สำรวจด้านอวกาศลึก และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อเศรษฐกิจ  ซึ่งการที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวต้องให้ความสำคัญต่อการสร้างกำลังคนผ่านการวิจัยขั้นแนวหน้าและการร่วมมือกับนานาชาติ รวมถึงการเพิ่มทักษะความรู้ด้านวิศวกรรมขั้นสูง และสนับสนุนให้เกิด การออกไปจัดตั้งบริษัท (spin off) เพื่อส่งออกเทคโนโลยีอวกาศได้

5

          ดร.วิภู รุโจปการ ผู้แทนจากนักวิจัยกลุ่มฟิสิกส์พลังงานสูง กล่าวถึงโอกาสที่ไทยจะผลักดันด้านวิศวกรรมขั้นสูงโดยผ่านการเข้าร่วมกับหน่วยงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ใหญ่ระดับโลก เช่น องค์การวิจัยนิวเคลียร์ยุโรป (CERN) หรือผ่านโครงการหมู่กล้องโทรทรรศน์รังสีเชเรนคอฟ (Cherenkov Telescope Array หรือ CTA) ที่มักเป็นการร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์ในระดับนานาชาติ (Global partnership) โดยมีรัฐบาลเป็นผู้สนับสนุน สำหรับประเทศไทยแม้ได้เข้าร่วมกับโครงการด้านวิทยาศาสตร์ใหญ่ ๆ บ้าง แต่รัฐบาลควรสนับสนุนผลักดันให้ไทยเข้าเป็นสมาชิกหลักในโครงการวิทยาศาสตร์ระดับโลก ซึ่งตั้งเป้าหมายภายในระยะ 10 ปี ประเทศไทยจะสามารถชนะประมูลหรือได้รับการคัดเลือกให้ร่วมออกแบบและสร้างงานด้านวิศวกรรมให้กับโครงการวิทยาศาสตร์เหล่านี้ได้

6

          ดร.สมพลนาท สัมปัตตะวนิช ผู้แทนจากกลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการแพทย์ ด้าน BioFrontiers Initiativeได้ตีโจทย์การวิจัยขั้นแนวหน้าของกลุ่มว่าคือ การเตรียมความพร้อมของประเทศในการรับมือจากภัยคุกคุกความที่ส่งผลต่อชีวิตและสุขภาพของคนไทย เช่น ปัญหาอุณหภูมิที่สูงขึ้นส่งผลให้ความหลากหลายทางชีวภาพลดลง การเข้าสู่สังคมสูงวัยของไทยที่ต้องการเทคโนโลยีสมัยใหม่ในการดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงเรื่องภัยคุกความจากโรคอุบัติใหม่ โดยเน้นว่าต้องมีระบบนิเวศนวัตกรรมด้านชีวภาพเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน อีกทั้งอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ (Healthcare) มีการเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและมีมูลค่ามหาศาล โดยคาดว่าในปี 2012 จะมีมูลค่าตลาดถึง 11 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งบริษัทชั้นนำระดับโลกไม่ว่าจะเป็น Google Apple Amazon ต่างหันมาจับงานด้านเทคโนโลยีเพื่อตอบโจทย์ด้านสุขภาพ โดยทางกลุ่มนำเสนอแกนการวิจัยชีววิทยาระบบและชีววิทยาสังเคราะห์ (System biology and synthetic biology) เพื่อศึกษาการทำงานของสิ่งมีชีวิตตลอดจนถึงร่างกายซึ่งจะเอื้อประโยชน์ให้แพทย์สามารถออกแบบยารักษาโรครวมถึงอาหารเฉพาะบุคคลได้ และได้ยกตัวอย่างโยโกฮามะโมเดล ในการสร้างระบบนิเวศนวัตกรรมด้านชีวภาพที่ใช้ 3 ปัจจัยแห่งความสำเร็จ ได้แก่ การสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐและเอกชน การสร้างระบบนิเวศนวัตกรรม และการประชาสัมพันธ์ให้สังคมรับรู้และเข้าใจความสำคัญในการสร้างเทคโนโลยีใหม่ที่จะเป็นตัวขับเคลื่อนอุตสาหกรรมในอนาคต นอกจากจะสามารถดึงดูดผู้มีความสามารถสูงมาทำงานแล้ว ยังเกิดบริษัทเทคโนโลยีเชิงลึกและการจ้างงานทักษะสูงมากมาย สามารถส่งออกเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปทั่วโลก สำหรับประเทศไทยทางกลุ่มได้นำเสนอแผนงานโดย 1) สนับสนุนโครงการวิจัยร่วมระหว่างรัฐและเอกชน รวมถึงการแบ่งบันฐานข้อมูลชีวภาพให้นักวิจัยในไทยเข้าถึงได้ ภายใน 1-3 ปีแรก 2) ตั้งหน่วยงานดูแลและสนับสนุน Startups/SMEs ด้านเทคโนโลยีชีวภาพและการแพทย์ ให้สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้ภายใน 5 ปี และ 3) การพัฒนาและยกระดับนักวิจัยไทยให้เข้าถึงความรู้และเทคโนโยลีขั้นสูงใหม่ ๆ โดยสามารถสร้างผู้ประกอบการระดับ Unicorn ได้ภายใน 10 ปี ซึ่งทางกลุ่มเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็น building blocks นำไปสู่ความสำเร็จ

78

          ผศ.ดร.วศะพร จันทร์พุฒ ผู้แทนจากกลุ่มวิทยาศาสตร์ชีวภาพและการแพทย์ ด้านอาหารเพื่ออนาคต ได้กล่าวถึงประเทศไทยที่มีความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) สูงติดระดับโลกแต่ยังขาดการจัดการและใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ซึ่งอาจทำให้ประเทศพลาดโอกาสในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจชีวภาพ (BioEconomy) โดยได้นำเสนอแกนการวิจัยขั้นแนวหน้าในด้านเกษตรและอาหาร 3 แพลตฟอร์ม ซึ่งได้แก่ 1) แพลตฟอร์มด้านการจัดการทรัพยากรชีวภาพ (Bioresources) 2) แพลตฟอร์มด้าน Bioactive-Omics และ 3) แพลตฟอร์มอาหารเฉพาะบุคคล (Personalized Nutrition) โดยทาง รศ.ดร.ครศร ศรีกุลนาถ ได้กล่าวเสริมโดยการยกตัวอย่างการจัดการทรัพยากรชีวภาพที่ประสบความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงสัตว์ทดลองของศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็น 1 ใน 3 แห่งของโลกที่มีการเพาะเลี้ยงเพื่อใช้ประโยชน์ในการด้านแพทย์สำหรับทดสอบวัคซีนได้ และได้นำเสนอมาตรการในการจัดการทรัพยากรชีวภาพของไทย ได้แก่ การดูแลจัดเก็บสายพันธุ์อย่างเป็นระบบในรูปแบบการผสมพันธุ์เพื่อรักษาสายพันธุ์และตัวอย่างแช่แข็ง การจัดเก็บข้อมูลทางชีวภาพระดับจีโนมส์เพื่อศึกษาลักษณะเด่นของสายพันธุ์ในสัตว์เศรษฐกิจเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้ทางการเกษตรหรือการแพทย์  การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในการจัดเก็บรักษาพันธุ์ และการตั้งศูนย์ข้อมูลกลางที่จัดการข้อมูลความหลากหลายชีวภาพของไทย ในส่วนเทคโนโลยีโอมิกส์มีวัตถุประสงค์เพื่อหา Biomarkers สำหรับการผลิตอาหารเฉพาะบุคคลตั้งแต่การเพาะปลูกหรือเลี้ยงสัตว์ หาสารสำคัญเพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ จนถึงข้อมูลของการบริโภคอาหารต่อสุขภาพ ประโยชน์ในการป้องกันรักษาและความเป็นพิษ โดยทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อการป้องกันและรักษาผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง หรือ NCDs และสร้างอุตสาหกรรมใหม่จากอาหารเฉพาะบุคคล เป็นต้น

9

          ด้าน ดร. กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช. กล่าวว่า จากการนำเสนอการวิจัยขั้นแนวหน้ารายสาขาของนักวิจัยรุ่นใหม่ทำให้เห็นภาพชัดขึ้น โดยก้าวต่อไปต้องโฟกัสภาพของประเทศไทยว่าเราจะเดินในทิศทางไหน ทั้งนี้ มองว่าเส้นทางของการเกิดการวิจัยขั้นแนวหน้ามีพื้นฐานเริ่มมาจากวิทยาศาสตร์ และพัฒนาเป็นการวิจัยขั้นแนวหน้าผ่านการบ่มเพาะให้เกิดเทคโนโลยีขั้นสูง และขับเคลื่อนออกสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งการจะให้เกิดเส้นทางดังกล่าวได้ต้องมีการสร้างระบบนิเวศน์ (ecosystem) ที่เหมาะสม ซึ่งหนึ่งในปัจจัยสำคัญคือกำลังคนระดับมันสมองที่ต้องเข้ามาช่วยกันพัฒนา

10

          สำหรับความสำคัญของการวิจัยขั้นแนวหน้านั้น ดร. กาญจนา วานิชกร รองผู้อำนวยการ สอวช. กล่าวรายงานในที่ประชุมว่า หากถามว่าทำไมประเทศไทยจึงต้องลงทุนด้านการวิจัยขั้นแนวหน้า สอวช. และนักวิจัยรุ่นใหม่เห็นร่วมกันว่า งานวิจัยขั้นแนวหน้าจะช่วยสร้างความรู้ ความเป็นเลิศ และความสามารถในการสร้างเทคโนโลยีขั้นสูงที่สำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และความมั่นคงของประเทศ ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบนวัตกรรมไทย สร้างอุตสาหกรรมอนาคตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ยกระดับประเทศไทยสู่การเป็นผู้ส่งออกเทคโนโลยีและนวัตกรรม อีกทั้งเป็นการเพิ่มศักยภาพในการรับมือภัยคุกคามอันเกิดจากภาวะวิกฤตและเทคโนโลยีที่แปรเปลี่ยนสู่ความสามารถพึ่งพาตัวเองได้ และหลังจาก สอวช. ได้มีการนำนักวิจัยรุ่นใหม่ยืนสมุดปกขาวต่อนายกรัฐมนตรีเมื่อช่วงปลายปี 2561 แล้ว การวิจัยขั้นแนวหน้าได้ถูกผลักดันให้บรรจุเป็นวัตถุประสงค์หนึ่งของการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) ใน พรบ. สภานโยบาย อววน. พ.ศ. 2562 มาตรา 54 และยังได้รับการบรรจุเป็นแผนงานสำคัญของนโยบายและยุทธศาสตร์ อววน. และแผนด้าน ววน. พ.ศ. 2563 – 2570 ทั้งนี้ แผนงานการวิจัยขั้นแนวหน้าและการวิจัยพื้นฐานที่ประเทศไทยมีศักยภาพ ได้รับการจัดสรรงบประมาณจากกองทุน ววน. ประจำปี 2563 จำนวน 757 ล้านบาท และกรอบงบประมาณประจำปี 2564 จำนวน 1,587 ล้านบาท พร้อมทั้งมอบหมายให้หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) เป็นหน่วยบริหารแผนงานการวิจัยขั้นแนวหน้าฯ และจัดการทุน และขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำกรอบยุทธศาสตร์และแผนที่นำทางการวิจัยขั้นแนวหน้ารายสาขา ซึ่งแบ่งเป็น 3 ด้านหลักๆ คือ 1. Physical Sciences & Engineering แบ่งเป็น Quantum Technology Earth-Space System และ High-Energy Physics 2. Biological Sciences & Life Sciences และ 3. Social Sciences, Humanities & Arts

1112

          นอกจากนี้ จากการทำงานร่วมกันของ สอวช. กับประชาคมวิจัย และทีมนักวิจัยรุ่นใหม่ซึ่งมาจากหลากหลายมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยและหน่วยงานภายใต้กระทรวง อว. เห็นว่าปัจจัยแห่งความสำเร็จในการเกิดการวิจัยขั้นแนวหน้าของไทย คือ กำลังคนและผู้เชี่ยวชาญ กรอบและโจทย์วิจัยที่เหมาะสมและท้าทาย เงินทุนสนับสนุนที่ต่อเนื่อง ระบบบริหารจัดการและการติดตามประเมินผลที่เหมาะสมกับการวิจัยขั้นแนวหน้า ที่ใช้เวลานานและมีความเสี่ยงสูง การเชื่อมโยงกับภาคเอกชน การสื่อสารให้สังคมเข้าใจถึงบทบาทและความสำคัญของการวิจัยขั้นแนวหน้า และความร่วมมือกับทีมวิจัยและองค์กรวิจัยขั้นแนวหน้าของโลก

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
มว. ตรวจสอบหลอดยูวีซี ฆ่าเชื้อโควิด-19 the Prodigy Generation ปส. ตรวจสอบกรณีรายงานการพบค่ารังสีสูงในแถบสแกนดิเนเวีย ยืนยันไม่กระทบสิ่งแวดล้อม-ประชาชน พร้อมจับตาสถานการณ์ 24 ชั่วโมง
  • อพวช. เข้าเยี่ยมชม อมตะ คาสเซิ ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    อพวช. เข้าเยี่ยมชม อมตะ คาสเซิล พร้อมหารือการสร้างความร่วมมือ
    28 Dec 2022
    ปลัด อว. เปิด “จงชิงคัพ” การปร ...
    ข่าวสารหน่วยงาน | ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
    ปลัด อว. เปิด “จงชิงคัพ” การประกวดนวัตกรรมและการทำสื่อการตลาดออนไลน์สู่ตลาดจีน 2564
    29 Oct 2021
    วศ.เตรียมขับเคลื่อนองค์กร สู่ท ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    วศ.เตรียมขับเคลื่อนองค์กร สู่ทศวรรษที่ 14 เล็งปรับแนวทางการทำงานในรูปแบบ Agile Team เพื่อตอบสนองความ...
    03 Feb 2021
    ดูทั้งหมด >

เรื่องล่าสุด

“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. ม ...
ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. มอบวุฒิบัตรและปิดการฝึกอบรม "หลักสูตรการบริหารงานอุดมศึกษาสายสนับสนุนระ...
16 May 2025
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไทยด้วยกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)“ ผลักดันกำลังคนสมรรถนะ...
16 May 2025
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบับที่ 2 รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ผลักดันเทคโนโลยีสู้วิก...
15 May 2025

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.