วันนี้ (10 กรกฎาคม 2562) บริษัทไฟเซอร์ประเทศไทยและเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อสุขภาพหนึ่งเดียวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia One Health University Network) หรือ "ซีโอฮุน" (SEAOHUN) ซึ่งมีเครือข่ายมหาวิทยาลัย 72 แห่งในแถบภูมิภาคอาเซียน ร่วมสร้างศักยภาพการ
ดำเนินงานสุขภาพหนึ่งเดียว หรือ One Health พร้อมร่วมประกาศเจตจำนงจัดการภัยคุกคามอันเกิดจากการดื้อยาต้านจุลชีพในประเทศไทย ด้วยการควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ไปจนถึงการให้ความรู้และฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขชุมชนทั่วประเทศไทยรวมถึง
ประเทศสมาชิกภายในเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างการใช้ยาปฏิชีวนะให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยมี ดร.อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดงาน
สำหรับการประกาศเจตจำนงร่วมกันครั้งนี้ระหว่างบริษัท ไฟเซอร์ ประเทศไทย และซีโอฮุน นับว่าสอดรับกับ "แผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ.2560-2564" ซึ่งครอบคลุมประเด็นการเฝ้าระวัง การควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม ทั้งในการแพทย์การสาธารณสุข การสัตวแพทย์ และการเกษตรรวมไปถึงการกำหนดกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวกับการกระจายยาต้านจุลชีพ ทั้งรวมถึงการเพิ่มพูนความรู้ความตระหนักรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการดื้อยาต้านจุลชีพ
ความร่วมมือระหว่างซีโอฮุนและไฟเซอร์ในครั้งนี้ยังเป็นการสร้างโอกาสให้กับ บริษัท ไฟเซอร์ ได้ยกระดับการดำเนินงานด้านการแบ่งปันความรู้และการพัฒนาขีดความสามารถ ผ่านการเผยแพร่ความรู้ด้านการแพทย์อย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการร่วมจัดทำสื่อการให้ความรู้ และการดำเนินกลยุทธ์ในด้านการควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสม โดยมีหน่วยงานเครือข่ายของซีโอฮุนเป็นศูนย์กลางสำหรับการเผยแพร่ความรู้ต่างๆ ภายในกลุ่มประเทศสมาชิกเพื่อช่วยยกระดับความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการดื้อยาต้านจุลชีพ
ดร.อัจฉรา วงศ์แสงจันทร์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า ภารกิจของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.) คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพของ R&D และปรับปรุงเทคโนโลยีชั้นสูง เพื่อสนับสนุนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 และเป็นการริเริ่ม ความร่วมมือของ Pfizer และ SEAOUN ที่พัฒนายาปฏิชีวนะสําหรับอาชีพการรักษาทางการแพทย์
นอกจากนี้ ยังมีองค์กรภายใต้กระทรวง อว. ได้แก่ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (NSTDA) และศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) (TCELS) ที่ร่วมกันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชั้นสูงเกี่ยวกับ AMR ซึ่งนอกจากจะเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความร่วมมือที่มีอยู่แล้วนั้น ยังพัฒนาความร่วมมือใหม่ให้เพิ่มขึ้นอีกด้วย ถือเป็นเรื่องที่น่าดีใจ ที่ในอนาคตเราจะมีความสามารถในการทํางานร่วมกันอย่างแข็งแกร่งในสาขา AMR ระหว่างพวกเรา นอกจากนี้ ข้อตกลงนี้ยังสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์แห่งชาติสําหรับการต่อต้านเชื้อโรคในประเทศไทย รวมถึงการตรวจสอบ AML และการบริหารจัดการแอนติบอดี (AMS) การเพิ่มความรู้และการรับรู้เกี่ยวกับการรักษาแอนตี้บอดี เพื่อมนุษย์ สัตว์ และเกษตรกรรม ทั้งนี้ ทางกระทรวง อว. มีความยินดีที่จะสนับสนุนความร่วมมือในครั้งนี้ต่อไป
นางสาวซูซาน ซิลเบอร์มันน์ ประธานกรรมการ บริษัทไฟเซอร์ อิงค์ (ตลาดเกิดใหม่) กล่าวว่า "ไฟเซอร์ มุ่งมั่นที่จะป้องกัน และช่วยเหลือผู้ป่วยในทุกระยะเพื่อต่อสู้กับโรคติดเชื้อร้ายแรงซึ่งอาจเป็นภัยคุกคามถึงชีวิต ทั้งนี้ไฟเซอร์เชื่อว่า หน้าที่ความรับผิดชอบขององค์กรนั้น มิใช่เพียงแค่ผลิตและสนับสนุนให้มีการเข้าถึงยาปฏิชีวนะและวัคซีน แต่บริษัท ไฟเซอร์ ยังร่วมมือกับภาครัฐ สถาบันการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ รวมถึงชุมชนสาธารณสุขขนาดใหญ่ บริษัทไฟเซอร์ ตระหนักดีว่า ทุกภาคส่วนต่างมีบทบาทอันสำคัญยิ่งต่อความพยายามในการร่วมมือกัน เพื่อแก้ไขปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ ความร่วมมือระหว่าง บริษัท ไฟเซอร์ กับ ซีโอฮุน จึงเป็นการตอกย้ำความมุ่งมั่นของบริษัท ไฟเซอร์ ในการต่อสู้กับภัยคุกคามจากการดื้อยาต้านจุลชีพทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
ดร.วิพัฒน์ คุรุจิตธรรม กรรมการบริหารเครือข่ายมหาวิทยาลัยเพื่อสุขภาพหนึ่งเดียวแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือซีโอฮุน กล่าวว่า "ความร่วมมือระหว่างซีโอฮุนและไฟเซอร์ จะช่วยพัฒนาขีดความสามารถของผู้เชี่ยวชาญ ระบบสุขภาพหนึ่งเดียวในด้านการดื้อยาต้านจุลชีพ โดยเชื่อว่า ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกขนนั้นมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อภารกิจในการต่อสู้กับปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพทั้งในประเทศไทยและประเทศต่างๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้"
เขียนข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ถ่ายภาพนิ่ง : นางสาวพจนพร แสงสว่าง
ถ่ายภาพวิดีโอ : นายสุเมธ บุญเอื้อ
ส่วนสื่อสารองค์กร กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : sciencethailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.