กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • ภาพข่าวและกิจกรรม

จุฬาฯ - สอวช. สร้างเวที BCG Global Network กุญแจสำคัญขับเคลื่อน BCG Economy ไทย

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
13 Nov 2019

Resize of ICBP16 191113 0021

          (13 พฤศจิกายน 2562) “สุวิทย์” ร่วมเวทีประชุมวิชาการนานาชาติ The 7th International Conference on Bio-based Polymers (ICBP 2019) กล่าวปาฐกถา “BCG Model: New Inclusive Growth Engine for Thailand” ส่งท้ายงาน พร้อมจับมือเครือข่ายผู้นำเทคโนโลยีระดับโลกพัฒนา BCG Model ของไทยอย่างก้าวกระโดด

Resize of . ICBP16 191113 0045  Resize of ICBP16 191113 0028

          วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ The 7th International Conference on Bio-based Polymers (ICBP2019) ระหว่างวันที่ 11-13 พฤศจิกายน 2562 ภายใต้หัวข้อเรื่อง Bio-based Polymers for Bio-Circular-Green Economy โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการต่อยอดองค์ความรู้จากเครือข่ายวิชาการ และเพื่อแสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG โดยเฉพาะด้านวัสดุฐานชีวภาพ (bio-based) สำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยได้เชิญนักวิทยาศาสตร์ ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญและผู้นำเทคโนโลยีระดับโลก ที่ครอบคลุมทั้ง เคมีชีวภาพ วัสดุชีวภาพ และ พลาสติกชีวภาพ อย่างครบวงจร รวมถึงภาคอุตสาหกรรม จากประเทศผู้นำด้านเทคโนโลยี เช่น เนเธอร์แลนด์ ญี่ปุ่น เยอรมนี เกาหลี ไต้หวัน และภาคอุตสาหกรรมจากประเทศไทยด้วย โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 200 คน ที่ได้เสนอผลงานและร่วมแลกเปลี่ยนหารือตลอดการประชุม 3 วันเต็ม ซึ่งทำให้ประเทศไทยได้แสดงถึงบทบาทในการริเริ่มและความมุ่งมั่นของไทยในการขับเคลื่อนเคมีชีวภาพ วัสดุชีวภาพและพลาสติกชีวภาพ เพื่อตอบรับนโยบายระดับชาติในประเด็น BCG Economy ในการประชุมนี้ วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกับ สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) จัดปาฐกถาในหัวข้อเรื่อง “BCG Model: New Inclusive Growth Engine for Thailand” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มาเป็นผู้กล่าวปาฐกถาส่งท้ายการประชุม

Resize of ICBP16 191113 0026Resize of ICBP16 191113 0033

          ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เปิดเผยในช่วงปาฐกถาว่า      การประชุมเชิงวิชาการนี้เป็นเวทีที่นักวิชาการนานาชาติมาร่วมแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาไบโอรีไฟเนอรี่ ไบโอเคมิคัล ไบโอโพลีเมอร์และไบโอพลาสติก ซึ่งล้วนเป็นการสนับสนุนการขับเคลื่อน BCG Economy ที่เป็นข้อริเริ่มที่ อว. ต้องการจะผลักดัน โดยหัวใจสำคัญหนึ่งในการขับเคลื่อน BCG Economy คือ การผนึกกำลังการทำงานในรูปแบบของ “จตุภาคี” หรือ Quadruple Helix ซึ่งเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ/เอกชน ชุมชน/สังคม มหาวิทยาลัย/สถาบันวิจัย รวมถึงเครือข่ายต่างประเทศ เพื่อพัฒนาต่อยอดและปรับใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับบริบทของไทย ซึ่งการประชุมหารือครั้งนี้ถือเป็นเวทีที่สำคัญในการสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือจากนักวิจัยชั้นนำ และผู้เล่นสำคัญในด้าน Bio-based Polymer จากนานาประเทศ เพื่อหาแนวทางที่จะไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศไทย แต่ยังรวมถึงประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อพันธมิตรในระดับโลกด้วย และเชื่อว่าการประชุมในครั้งนี้ ที่มีการเชิญผู้เชี่ยวชาญระดับโลกทั้งจากภาครัฐและเอกชน นักวิชาการจากทั้งไทยและบริษัทชั้นนำระดับโลกมาร่วมงานและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จะสามารถสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ขั้นสูงที่จะช่วยพัฒนาองค์ความรู้ Bio-based Polymer ของไทยให้เข้าสู่เศรษฐกิจมั่งคั่งอย่างทั่วถึง

Resize of ICBP16 191113 0040  Resize of ICBP16 191113 0049

          เพื่อให้ประเทศไทยก้าวออกจากกับดักประเทศรายได้ปานกลางและอยู่รอดในศตวรรษที่ 21 ได้นั้น ประเทศไทยจะต้องพัฒนาจากประเทศผู้ผลิตในอุตสาหกรรมหนักที่ใช้ทรัพยากรมาก (Thailand 3.0) ไปสู่ประเทศที่เน้นการใช้ความรู้เพื่อสร้างเศรษฐกิจ หรือ Thailand 4.0 การพัฒนาดังกล่าวจะต้องไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง อีกทั้งยังต้องสอดคล้องไปกับแนวทางการพัฒนาของประชาคมโลกตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ดังนั้น BCG Economy จึงเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจไทยที่ โดยหลักการของ BCG คือ การเปลี่ยนจุดแข็งของประเทศไทยในด้านความหลากหลายทางชีวภาพและวัฒนธรรม ให้กลายเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขัน โดยได้ตั้งเป้าหมายว่าภายใน 5 ปี  BCG จะต้องกลายมาเป็นอุตสาหกรรมและบริการที่สร้างเสถียรภาพและมูลค่าเพิ่มให้กับประเทศ 4.4 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 24% ของจีดีพี รวมถึงสร้างโอกาสในการส่งออก และสร้างงานรายได้สูงให้กับคนไทยไม่ต่ำกว่า 10 ล้านตำแหน่ง ในขณะเดียวกันทุกคนจะได้รับผลประโยชน์อย่างเท่าเทียม ตลอดจนคาดว่าการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG จะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มเป็น 240,000 บาทต่อครัวเรือนต่อปี นอกจากการพัฒนาเศรษฐกิจแล้ว การพัฒนาตามแนวทาง BCG ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมนั้น จะช่วยให้ประเทศไทยลดการใช้ทรัพยากรตลอดห่วงโซ่คุณค่า ตลอดจนลดขยะและมลพิษอีกด้วย

Resize of ICBP16 191113 0031  Resize of ICBP16 191113 0018

          “การพัฒนา BCG Economy ไม่เพียงส่งผลดีต่อประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังมีประโยชน์ในระดับภูมิภาคและระดับโลก เช่น การแก้ไขปัญหา PM2.5 การใช้หลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาดูแลเรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก เป็นต้น โดยการริเริ่ม BCG Economy ของประเทศไทยได้มีข้อริเริ่มใน 4 อุตสาหกรรมหลักของประเทศ คือ เกษตรและอาหาร สุขภาพและการแพทย์ พลังงาน เคมีและวัสดุชีวภาพ และการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยจะมุ่งไปที่การอยู่บนพื้นฐานการพัฒนาเทคโนโลยีพร้อมใช้และการเปลี่ยนแปลงองค์กรหรือธุรกิจโดยใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเป็นเครื่องมือ และการสนับสนุนให้มหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยมีการพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ขั้นแนวหน้า โดยรัฐบาลจะส่งเสริมการลงทุนและสนับสนุนให้เกิดการร่วมลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้ ในปัจจุบันมีนักศึกษากว่า 2 ล้านคน ที่กำลังเรียนในสาขาที่เกี่ยวข้องเศรษฐกิจ BCG ซึ่งกลุ่มนักศึกษาเหล่านี้จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาท้องถิ่น ธุรกิจ SME และผู้ประกอบการนวัตกรรม (IDE) อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจะชูข้อริเริ่ม BCG เป็นหนึ่งในกลยุทธ์สำคัญที่ทำให้ประเทศไทยก้าวไปสู่สถานะที่สามารถแข่งขันในระดับโลกได้อย่างเท่าเทียมโดยใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม และเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปัจจัยขับเคลื่อนสำคัญ” ดร.สุวิทย์ กล่าว

Resize of . ICBP16 191113 0052  Resize of . ICBP16 191113 0055

          ดร.สุวิทย์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับกลไกการพัฒนา BCG ให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ประกอบด้วย “4 ประเด็นขับเคลื่อน” และ “4 ประเด็นส่งเสริม” โดย 4 ประเด็นขับเคลื่อน BCG ประกอบด้วย 1. การพัฒนาสาขายุทธศาสตร์ BCG 2. การเตรียมกำลังคน ผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการ BCG โดยกลุ่มคนเป้าหมายที่ต้องพัฒนาเพื่อเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อน BCG Economy ประกอบด้วย 6 กลุ่ม  คือ กลุ่มสตาร์ทอัพ (Startups) กลุ่มผู้ประกอบการเชิงนวัตกรรม (Innovation-Driven Enterprises: IDEs) กลุ่มสมาร์ทฟาร์มเมอร์ (Smart Farmers)  กลุ่มผู้ให้บริการมูลค่าสูง (High Value Service Providers) กลุ่มผู้สร้างนวัตกรรมเชิงลึก (Deep Technology Developers) และกลุ่มผู้ประกอบการสร้างสรรค์ (Creative Entrepreneurs) ผู้ประกอบการเพื่อสังคม (Social Enterprise) 3. การพัฒนาเชิงพื้นที่ BCG โดยสร้างการเติบโตอย่างทั่วถึงด้วยการเชื่อมโยงและมุ่งเน้นการพัฒนาความสามารถในระดับภูมิภาคควบคู่ไปด้วยกัน ประกอบด้วย ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ (NEC) เน้นการพัฒนาระบบการเกษตรปลอดภัย มีมูลค่าสูง ส่งเสริมการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และต่อยอดเศรษฐกิจด้วยทุนทางวัฒนธรรมล้านนา (Creative Lanna) ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NEEC) เน้นแก้ไขปัญหาสุขภาพหลักของประชากรในพื้นที่ เช่น พยาธิใบไม้ตับ รวมถึงส่งเสริมการผลิตสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) มุ่งเน้นการพัฒนาผลผลิตทางด้านการเกษตรโดยเฉพาะกลุ่มไม้ผล รวมถึงการพัฒนาต่อยอดสู่อุตสาหกรรมอนาคต และระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (SEC) มุ่งเน้นการส่งเสริมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ส่งเสริมการท่องเที่ยวปักษ์ใต้ยุคใหม่ สำหรับเคมีชีวภาพ วัสดุชีวภาพ นั้น สามารถพัฒนาได้จากวัตถุดิบชีวมวล (biomass) ซึ่งประเทศไทยมีความสามารถในการผลิตที่สูงลำดับต้นๆของโลก ดังนั้น การนำวัตถุดิบชีวมวลมาพัฒนาให้เป็น พลังงานทางเลือก เคมีชีวภาพ วัสดุเคมีชีวภาพ และรวมถึง พอลิเมอร์และพลาสติกชีวภาพ จึงเป็นการสร้างห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มให้แก่ประเทศไทย ในระดับแสนล้านบาทได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นโอกาสของประเทศไทย 4. การพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ขั้นแนวหน้า BCG ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนที่มีความสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จและการสร้างรากฐานที่มั่นคงและยั่งยืนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG ตัวอย่างของเทคโนโลยีที่สำคัญ อาทิ Complex Microbiota  เทคโนโลยีโอมิกส์ (OMICs) วิศวกรรมกระบวนการทางชีวภาพ (Bioprocess Engineering) Gene Editing และ Synthetic Biology เทคโนโลยีในย่านความถี่เทราเฮิร์ซ (Terahertz Technology) เทคโนโลยีการผลิตแบบคาร์บอนต่ำ (Decarbonization) และการนำคาร์บอนไดออกไซด์ระดับโมเลกุลพัฒนาเป็นวัสดุชีวภาพในรูปแบบวัสดุหมุนเวียนขั้นสูง เทคโนโลยีประมวลความเร็วสูงด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ยุคใหม่ และเทคโนโลยีดิจิทัลแพลตฟอร์มขั้นสูง เป็นต้นส่วน 4 ประเด็นส่งเสริมการพัฒนา BCG ประกอบด้วย 1. การปลดล็อคกฏหมาย กฎระเบียบและการกำหนดมาตรการ BCG เช่น Regulatory Sandbox การออกกฎหมาย กฏ ระเบียบที่สนับสนุนให้เกิดการพัฒนาสตาร์ทอัพและวิสาหกิจเพื่อสังคม 2. โครงสร้างพื้นฐานสำคัญและสิ่งอำนวยความสะดวกสนับสนุน BCG เช่น Biobank, National Quality Infrastructure (NQI), pilot plant, High Performance Computing (HPC), high speed connection network 3. การยกระดับความสามารถของกำลังคน BCG เพื่อรองรับเศรษฐกิจ BCG จำเป็นต้องดำเนินการในหลายระดับเพื่อเสริมความรู้และสร้างทักษะ BGC อาทิ การพัฒนาบุคลากรวิชาชีพเฉพาะ เช่น นักวิจัยเคมีชีวภาพ ศาสตร์ด้าน biorefinery นักอนุกรมวิธานวิทยา (Taxonomy) ปรับปรุงหรือเพิ่มหลักสูตรที่เกี่ยวข้องรองรับความต้องการของทั้งนิสิตนักศึกษา บุคคลทั่วไป หรือแม้กระทั่งบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในปัจจุบัน และ 4. การยกระดับเครือข่ายพันธมิตรต่างประเทศ BCG (BCG Global Network) การเชื่อมโยงเครือข่ายต่างประเทศเป็นปัจจัยส่งเสริมการพัฒนา BCG Economy โดยประเทศไทยต้องสร้างความร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศ สถาบันการศึกษาชั้นนำระดับโลก สถาบันการวิจัยชั้นนำ และบริษัทเทคโนโลยีดิจิทัลชั้นนำของโลก เพื่อพัฒนาต่อยอด ดึงความร่วมมือ การลงทุน และปรับใช้องค์ความรู้และเทคโนโลยีให้เหมาะสมกับบริบทของไทย เช่น การสร้างการเครือข่ายพันธมิตรต่างประเทศ ดังที่ได้เห็นจากการจัดงานประชุมในครั้งนี้

Resize of . ICBP16 191113 0063Resize of . ICBP16 191113 0060

          การขับเคลื่อน BCG จำเป็นต้องทำควบคู่ไปกับการปรับเปลี่ยน mindset หรือวัฒนธรรมของคนไทย ใน 4 เรื่อง (4 W’s) คือ Human Wisdom การปรับเปลี่ยนแนวคิดในการพัฒนาจาก “Ego Centric” คือ การยึดหลักมนุษย์เป็นศูนย์กลาง เป็น “Eco Centric” คือการยึดโลกเป็นศูนย์กลางแล้วจึงนำมาสู่สังคม เศรษฐกิจและมนุษย์เป็นลำดับสุดท้าย, Social Wellbeing การปรับเปลี่ยนแนวคิดจาก “Me Society” เป็น “We Society” ซึ่ง BCG จะมุ่งสร้างวัฒนธรรมความร่วมมือในการสรรค์สร้างสิ่งที่เป็นประโยชน์กับสังคมโดยรวม  Environmentall Wellness เปลี่ยนจาก “Nature as Resource” เป็น “Nature as Source” ธรรมชาติไม่ใช่แค่เพียงทรัพยากรหรือปัจจัยการผลิตเท่านั้น แต่ธรรมชาติคือแหล่งกำเนิดของชีวิตและทุกสรรพสิ่งบนโลกซึ่งรวมไปถึงความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์เราดังนั้นจึงต้องรักษาสมดุลที่ดีไว้, Economic Wealth การพัฒนาเศรษฐกิจที่มุ่งเน้นการแข่งกันผลิตและขายให้ได้จำนวนมาก “Making & Selling” จะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบธุรกิจไปสู่ความร่วมมือเพื่อให้เกิดของฟรีและการแบ่งปัน “Sharing & Caring” วัฒนธรรมทั้ง 4 เรื่องนี้จะต้องถูกปลูกฝังและเป็นแนวคิดสำคัญของการพัฒนาตามแนวทาง BCG

----------------------------------------

 

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)

โทรศัพท์ 081-7536119 (แพรประพันธ์) 02160 5432 ต่อ 730 มือถือ 08-0441-5450 (วรรณพร)

Email: pr@nxpo.or.th / Website: www.nxpo.or.th / Facebook: https://www.facebook.com/NXPOTHAILAND

“สุวิทย์” มั่นใจผลงานก้าวแรก อว. มุ่งพัฒนารากฐานประเทศแข็งแกร่ง นำไทยสู่ศตวรรษที่ 21 ชู 5 ประเด็นหลัก ปฏิรูปสังคมไทยไม่หยุดเรียนรู้ ดร.สุวิทย์ รมว.อว. หารือความร่วมมือด้าน อววน. กับ AMCHAM หอการค้าอเมริกันในประเทศไทย
  • วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้อ ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    วศ.จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการทดสอบ สาขาสิ่งแวดล้อม : การวิเคราะห์คุณภาพน้ำ รายการทดสอบ :...
    18 Jan 2021
    สวทช. จับมือ ม.สวนดุสิต ร่วมพั ...
    ภาพข่าวและกิจกรรม
    สวทช. จับมือ ม.สวนดุสิต ร่วมพัฒนางานวิจัย ถ่ายทอดความรู้ด้าน วทน. พัฒนาอาชีพและยกระดับคุณภาพชีวิตสู่...
    04 Mar 2020
    ดร.สุวิทย์ รมว.อว. พร้อม ผู้อำ ...
    ภาพข่าวและกิจกรรม
    ดร.สุวิทย์ รมว.อว. พร้อม ผู้อำนวยการ อพวช. คณะผู้บริหาร คณะทำงาน ตรวจความก้าวหน้าการเตรียมความพร้อมร...
    11 Oct 2019
    ดูทั้งหมด >

เรื่องล่าสุด

“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. ม ...
ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. มอบวุฒิบัตรและปิดการฝึกอบรม "หลักสูตรการบริหารงานอุดมศึกษาสายสนับสนุนระ...
16 May 2025
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไทยด้วยกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)“ ผลักดันกำลังคนสมรรถนะ...
16 May 2025
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบับที่ 2 รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ผลักดันเทคโนโลยีสู้วิก...
15 May 2025

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.