สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สถานีวิจัยลำตะคอง วว. จังหวัดนครราชสีมา เปิดให้เข้าชมอาคารเฉลิมพระเกียรติ (เรือนกระจกหลังที่ 1) ฟรี! เนื่องในวันพ่อแห่งชาติ “5 ธันวาคม” ในวันพฤหัสบดีที่ 5 ธันวาคม 2562 เวลา 09.00 - 16.00 น.
วว. ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าวชมนิทรรศการ “มหัศจรรย์พรรณไม้” ซึ่งจัดแสดงพรรณไม้หายากของทั้งไทยและต่างประเทศ แบ่งเป็น 6 โซน ได้แก่
1. พรรณไม้หายาก อาทิ “มะลิเฉลิมนรินทร์” ซึ่งเป็นพรรณไม้ที่นักวิจัยของ วว.ค้นพบและขอพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 รวมถึง โมกราชินี กล้วยคุนหมิงหรือกล้วยยูนนาน หรือกล้วยดารารัศมี สร้อยสยาม มะลิปันหยี ปาล์มเจ้าเมืองถลาง มังกรห้าเล็บ เอื้องดิน พลับพลึงธาร เปราะศรีสะเกษ และสารพัดพิษ เป็นต้น
2. พรรณไม้อิงอาศัยและกล้วยไม้ มีทั้งกล้วยไม้อิงอาศัย กล้วยไม้กินซาก กล้วยไม้ดิน และกล้วยไม้ที่อยู่ตามลานหิน กลุ่ม กล้วยไม้ดินที่น่าสนใจ เช่น ว่านร่อนทองหรือว่านน้ำทอง นอกจากนี้ยังรวบรวมกลุ่มกล้วยไม้ที่ถูกคุกคาม คือกลุ่มรองเท้านารี ชนิดต่างๆ เอื้องไข่ปลาหรือเอื้องหัวเข็มหมุด เถางูเขียว หวายแดง กุหลาบกระบี่ ม้าวิ่ง เอื้องมือชะนี ว่านเพชรหึง เอื้องโมก รวมทั้งสับปะรดสี ชนิดและพันธุ์ต่าง ๆ
3. พรรณไม้เขตอบอุ่น ไม้อัลไพน์ และไม้จากยอดดอย พรรณไม้ในกลุ่มนี้ จะมีลักษณะต้นขนาดเล็ก มีสีสันฉูดฉาด ออกดอกพร้อมกัน พรรณไม้ส่วนใหญ่ ต้องการอากาศเย็นเป็นพิเศษ มีความชื้นใน อากาศสูง เช่น บีโกเนียชนิดต่าง ๆ เทียนพระบารมี มณเฑียรทอง มณเฑียรสยาม ตาเหิรชนิดต่างๆ กุหลาบพันปีและแมกโนเลีย
4. พรรณไม้น้ำ จำลองระบบนิเวศ พื้นที่ชุ่มน้ำ เช่น ไม้กินแมลงในสกุล Nepenthes สกุล Drosera กกอียิปต์ เหงืองปลาหมอด่าง ไอริส แสม ไม้น้ำต่าง ๆ รวมทั้งยังมีมะหิ่งซำ ซึ่งจัดเป็นสนหายากมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก สูงได้ถึง 40 - 50 เมตร พบในประเทศจีนตอนใต้ เวียดนามและลาว
5. พรรณไม้ทะเลทรายและไม้อวบน้ำ จำลองสภาวะแวดล้อมเหมือนทะเลทราย เช่น ปีศาจทะเลทราย ไข่มุกทะเลทรายหรือ แฟรงคินเซนส์ ถังทอง ว่านหางจระเข้หลากชนิด ม้าลาย ม้าเวียน หูกระต่าย และเบาบับ
6. พรรณไม้วิวัฒนาการต่ำ จัดแสดงความหลากหลายของกลุ่มพืชวิวัฒนาการต่ำ มีท่อลำเลียงที่ไม่พัฒนามาก เช่น มอส เฟิน สน และปรง เช่น ปรงป่า ปรงสามร้อยยอด เฟิน เฟินกีบแรดฟิลิปปินส์ เฟินปีกแมลงทับ ชายผ้าสีดาหูช้างแอฟริกา ตีนตุ๊กแกหลากชนิด เขากวางตั้ง สนฉัตร ออสเตรเลีย แปกลม และพญาไม้
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่ สถานีวิจัยลำตะคอง วว. เลขที่ 333 หมู่ 12 ถ.มิตรภาพ ต.หนองสาหร่าย อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 30130 โทรศัพท์/โทรสาร 044-390107, 044-390150, คุณเบญจมาศ : 098-1934332, คุณอรุณวรรณ : 087-8793330 E-mail : lamtakhong@tistr.or.th, Facebook : สถานีวิจัยลำตะคอง วว.
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.