เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา ณ วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ (IAAI) สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โครงการทุนการศึกษาค้นพบนักบินอวกาศไทย (DTAS - Discover Thailand’s Astronauts Scholarship Program) ประกาศผลอย่างเป็นทางการแล้วโดยเยาวชน 4 คน ที่ได้จะเป็นตัวแทนประเทศไทยไปศึกษาที่ศูนย์อวกาศและจรวดแห่งชาติสหรัฐ ฯ และ ดูงานครั้งประวัติศาสตร์ที่ NASA’s Marshall Space Flight Center มลรัฐแอละแบมา ประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 4 - 12 เมษายน 2563
สำหรับการแข่งขัน STEM CAMP ในครั้งนี้เยาวชนที่ผ่านเข้ารอบ 24 คนสุดท้ายที่ผ่านการสอบข้อเขียน จะต้องสอบวัดความสามารถพื้นฐานด้านอวกาศ (SCAT - Space Camp Aptitude Test) ไปจนถึงความเข้มข้มทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ ศิลปะโดยผู้แข่งขันต้องผ่านการทดสอบในการสร้างเกราะกันความร้อนสำหรับยานอวกาศ (Venus Landing Mission) ภารกิจเก็บกู้ยานอวกาศ (Spacecraft Rescue Mission) การสร้างยานอวกาศจำลองที่สามารถทนแรงกระแทกสูง (Deep Impact Challenges) และ การกล่าวสุนทรพจน์แสดงวิสัยทัศน์การนำความรู้ที่ได้จากทุนการศึกษาค้นพบนักบินอวกาศไทยมาพัฒนาประเทศไทย การคัดเลือกในรอบสุดท้ายนี้ใช้ระบบการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ โดยที่คะแนนเสียงเลือกตั้งจากเพื่อนร่วมค่าย (Popular Vote) คิดเป็นร้อยละ 40 คะแนนที่ทำได้ในภาระกิจทั้ง 3 คิดเป็นร้อยละ 30 และ คะแนนเสียงเลือกตั้งจากคณะกรรมการทุนการศึกษาค้นพบนักบินอวกาศไทย (Electoral Vote) คิดเป็นร้อยละ 30
ผลการแข่งขันในครั้งนี้ได้เยาวชนไทยที่ได้รับทุนได้แก่ นักเรียนทุนอันดับที่ 1 นางสาวชนิศา พร้อมพัฒนภักดี จากโรงเรียนกำเนิดวิทย์ รับทุนการศึกษาจาก Gistda นักเรียนทุนอันดับที่ 2 นักเรียนนายเรืออากาศ จิรภัทร คำนิล จากโรงเรียนนายเรืออากาศ รับทุนการศึกษาจาก บริษัท Frasers Property (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) นักเรียนทุนอันดับที่ 3 นายถิรวัฒน์ บุญสร้าง โรงเรียน เบญจมราชรังสฤษฎิ์ รับทุนการศึกษาจาก บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) นักเรียนทุนอันดับที่ 4 นายกันตพิสิฐ ลิ้มศุภพุฒิกุล รับทุนการศึกษาจาก บริษัท OnDemand Education จำกัด นักเรียนทุนสำรองอันดับที่ 1 นายภูวิศ เชาวนปรีชา โรงเรียนสาธิตประสานมิตร และ นักเรียนทุนสำรองอันดับที่ 2 นายคณธัช คูสุวรรณ โรงเรียนสามัคคีวิทยาคม
สำหรับกิจกรรมค่าย STEM Camp ในครั้งนี้ เป็นอีกบทพิสูจน์หนึ่งในการทดสอบทักษะความสามารถในหลาย ๆ ด้านของเยาวชนไทย อนาคตข้างหน้าเยาวชนเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะเป็นผู้ที่มีความสามารถในด้านวิทยาศาสตร์ ความเข้าใจในเทคโนโลยี ความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิศวกรรม การคำนวณ การทำงานเป็นทีมตลอดจนมีความสามารถในการเป็นผู้นำ เด็กๆจะได้เกิดการเรียนรู้ STEM อย่างเต็มที่ทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติในภาระกิจต่าง ๆ เช่น การขับยานอวกาศไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ การซ่อมแซมระบบวิศวกรรมของสถานีอวกาศนานาชาติ การวางดาวเทียมเข้าวงโคจร การทำงานในสภาวะไร้น้ำหนักร่วมกับทีมงาน การควบคุมภารกิจอวกาศของศูนย์อวกาศภาคพื้นดิน เป็นต้น
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.