(13 ธันวาคม 2562) ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (รมว.อว.) ลงนามบันทึกความเข้าใจ “การพัฒนาความสามารถของหน่วยตรวจสอบและรับรอง” ระหว่างภาคการศึกษากับกรมวิทยาศาสตร์บริการ พร้อมปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ BCG และนวัตกรรมด้วย NQI” (Driving BCG Economy and Innovation with NQI) ณ โรงแรมโกลเด้น ทิวลิป ซอฟเฟอริน กรุงเทพมหานคร
ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ (รมว.อว.) กล่าวว่า “ปัจจุบันรัฐบาลกำลังผลักดันการพัฒนาประเทศด้วยเศรษฐกิจ BCG หรือ Bio – Circular- Green Economy โดยเตรียมประกาศให้ปี 2020 เป็นปีแห่งเศรษฐกิจยั่งยืน ขับเคลื่อนความมั่งคั่งทั่วไทย เศรษฐกิจ BCG นั้นมีความพิเศษต่อประเทศไทยซึ่งมีความหลากหลายทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรม ตอบโจทย์ใน 6 มิติ คือ ต่อยอด เชื่อมโยง ตอบโจทย์ ครอบคลุม กระจาย และสานพลัง โดยเศรษฐกิจ BCG ประกอบด้วย 4 ตัวขับเคลื่อน ได้แก่ ด้านการพัฒนา 4 สาขายุทธศาสตร์ ด้านการเตรียมกำลังคน ด้านผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการการพัฒนาเชิงพื้นที่ และด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและองค์ความรู้ขั้นแนวหน้า และเสริมด้วย 4 ตัวสนับสนุน ได้แก่ ด้านการปลดล็อคข้อกำจัดทางกฎหมายและกฎระเบียบต่างๆ ด้านโครงสร้างพื้นฐานสำคัญและสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านการสร้างความสามารถของกำลังคน และด้านการยกระดับเครือข่ายพันธมิตรต่างประเทศ ซึ่งการทำงานของกระทรวงจะเป็นการทำงานในรูปแบบจตุภาค (quadruple helix) ที่มีมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยเป็นแกนหลักของกระทรวง อว.ดำเนินงานร่วมมือกับภาคเอกชน ภาคชุมชน รวมทั้งพันธมิตรจากต่างประเทศ การที่ไทยจะพัฒนาได้ทันโลกในศตวรรษที่ 21 นื้จะต้องทำการพลิกโฉมเศรษฐกิจของประเทศจาก ทำมากได้น้อยไปสู่ทำน้อยได้มาก เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ซึ่งจะเร่งให้ไทยสามารถก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลางไปสู่ประเทศพัฒนา
วศ.ในฐานะเป็นส่วนหนึ่งในระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ จึงมีภารกิจสำคัญที่จะต้องดำเนินการทั้งการพัฒนา NQI ที่เกี่ยวข้องด้านมาตรฐานเดิมที่มีอยู่แล้วให้มีประสิทธิภาพ รวมทั้งบูรณาการร่วมมือเพื่อสนับสนุนการทำงานของหน่วยงานด้าน NQI ที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญจะต้องพัฒนาไปสู่งาน NQI เพื่อเตรียมรองรับนวัตกรรรมใหม่ๆ ในอนาคต
ด้าน นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์บริการ กล่าวว่า กรมวิทยาศาสตร์บริการ เป็นหน่วยงานให้บริการตรวจสอบรับรองสินค้าและบริการ ตลอดจนดำเนินงานวิจัย พัฒนานวัตกรรมต่างๆ ออกสู่ภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์และนวัตกรรม เสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการในภาคการผลิตและบริการ ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืนต่อไป
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.