กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • ภาพข่าวและกิจกรรม

เอ็มเทค- สวทช. หนุนผู้ประกอบการ ผุด Bicbok ‘แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูป’ นวัตกรรมเสริมความปลอดภัย

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
08 Jan 2020

DSCF0693 ok

         การลาดยางมะตอยและการซ่อมแซมถนน ต้องอาศัยกระบวนการหลอมยางมะตอยให้เหลวหรืออ่อนตัว และคลุกเคล้ากับหินบดก่อนนำไปบดอัดทับผิวถนน ซึ่งมีขั้นตอนที่ยุ่งยากเพราะใช้ทั้งพื้นที่กว้างและเครื่องจักรขนาดใหญ่ในการทำงาน แม้จะมีการพัฒนายางมะตอยแบบผสมสำเร็จรูปชนิดบรรจุถุง เพื่อให้สามารถใช้งานได้สะดวกในการปิดผิวหรือซ่อมแซมจุดเสียหายขนาดเล็ก แต่ก็ยังมีข้อจำกัดอยู่หลายประการ อาทิเช่น ต้องใช้แรงอย่างมากในการบดอัดและเกลี่ยวัสดุให้เรียบเนียน รวมถึงต้องทิ้งไว้เป็นเวลา 2-3 วัน เพื่อให้ยางมะตอยคงรูปและลดกลิ่นรบกวนลง

         ด้วยข้อจำกัดข้างต้นของวัสดุยางมะตอย นายพรพรต สุขสวัสดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บิทูเมน อินโนเวชั่น จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ในฐานะที่คุ้นเคยกับวัสดุยางมะตอยมานานจึงมองหาวิธีการใหม่เพื่อให้วัสดุยางมะตอยใช้งานง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น จนเกิดแนวคิดที่จะสร้างสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ “แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูป” พร้อมใช้งาน โดยร่วมกับ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) พัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ Bicbok ‘แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูป’ พร้อมใช้งาน ที่สามารถปูปิดทับพื้นผิวที่หลากหลายได้สะดวกโดยไม่ต้องใช้เครื่องจักร ไม่ต้องพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญ และใช้งานได้กับพื้นที่ทุกขนาดและยังคงคุณลักษณะที่โดดเด่นของยางมะตอย

DSCF0672

113577DSCF0698

         ดร.พิทักษ์ เหล่ารัตนกุล นักวิจัยอาวุโสของกลุ่มวิจัยเทคโนโลยีเซรามิกส์และวัสดุก่อสร้าง เอ็มเทค สวทช. กล่าวว่า แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูปที่พัฒนาขึ้น เป็นนวัตกรรมของวัสดุปิดผิวที่มีความโดดเด่นในด้านคุณสมบัติและความสะดวกในการใช้งาน ซึ่งสอดคล้องกับ lifestyle ของผู้บริโภคสมัยปัจจุบันที่นิยมสินค้าประเภท DIY (Do It Yourself) โครงสร้างวัสดุมี 3 ชั้น ชั้นบนเป็นชั้นยางมะตอยผสมหินกรวด เพื่อให้สามารถกันน้ำ รับน้ำหนักและแรงเสียดทานได้ดี ชั้นกลางเป็นชั้นที่มีตาข่ายไฟเบอร์ ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น พร้อมทั้งเสริมแรงป้องกันการฉีกขาด และรักษารูปทรงของแผ่นพื้นยางมะตอย ส่วนชั้นล่างจะเป็นยางมะตอยที่ปรับสูตรเป็นพิเศษ เพื่อสร้างแรงยึดเกาะกับพื้นผิวต่างๆ ที่จะนำไปปิดทับได้อย่างดี ทำให้สะดวกต่อการใช้งานโดยไม่จำเป็นต้องอาศัยวัสดุยึดเกาะหรือกาวเหมือนวัสดุปิดผิวโดยทั่วไป

         “แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูปสามารถออกแบบให้มีขนาดและความหนาได้หลากหลายตามลักษณะพื้นผิวและวัตถุประสงค์การใช้งาน แต่โดยทั่วไปได้กำหนดขนาดมาตรฐานไว้ที่ 50x50 และ 50x100 เซนติเมตรและมีความหนาตั้งแต่ 5-30 มิลลิเมตร เพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้งและขนส่ง โดยมีราคาขายประมาณ 270 - 450 บาทต่อตารางเมตร ขึ้นอยู่กับคุณลักษณะและความหนาของผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะใกล้เคียงกับราคาของกระเบื้องเซรามิกทั่วไป

         จุดเด่นอีกอย่างคือใช้งานง่าย เพียงลอกแผ่นกระดาษออกจากผิวด้านล่างของผลิตภัณฑ์ แล้วปูทับลงบนพื้นผิวที่ต้องการได้ทันที โดยกาวชั้นล่างนี้มีแรงยึดเกาะสูง สามารถใช้งานได้กับพื้นผิวเกือบทุกประเภท เช่น พื้นกระเบื้องเซรามิก พื้นคอนกรีต พื้นดินลูกรัง พื้นหญ้า รวมถึงพื้นที่ที่มีความลาดชันและไม่สม่ำเสมอ ที่สำคัญแผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูปยังสามารถตัดเป็นรูปทรงที่ต้องการได้ง่าย เพียงใช้คัตเตอร์กรีดแล้วใช้มือหักตามแนว จึงสะดวกแก่การนำไปใช้กับพื้นที่ทุกขนาดและรูปทรง นอกจากนี้ยังมีความสามารถนำไปใช้งานได้ทั้งในที่ร่มและกลางแจ้ง โดยหากเป็นการใช้งานพื้นที่กลางแจ้ง หลังปูพื้นแล้วจะต้องทำเพิ่มขั้นอีกขั้นตอนโดยการยาแนวด้วยเทปกาวยางมะตอยเพื่อเชื่อมรอยต่อของแต่ละแผ่นให้เป็นผืนเดียวกัน และป้องกันไม่ให้หญ้าแทรกขึ้นตามแนวรอยต่อ”

         ทั้งนี้ จากการวิเคราะห์และทดสอบสมบัติของผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานวัสดุปิดผิว พบว่า แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูปที่พัฒนาขึ้น จะยังคงคุณสมบัติสำคัญใกล้เคียงกับการปิดพื้นผิวด้วยยางมะตอยตามวิธีการทำงานปกติ คือ มีความยืดหยุ่นสูง สามารถรับแรงกระแทกและเสียดสีได้ดี พื้นผิวมีความขรุขระเล็กน้อยช่วยเพิ่มแรงเสียดทานลดการลื่นไถล ไม่ดูดซับน้ำและความชื้น ทำให้ผลิตภัณฑ์มีความทนทานและง่ายต่อการดูแลรักษา นอกจากนี้ยังค้นพบว่า ผลิตภัณฑ์นี้มีคุณสมบัติช่วยเก็บเสียงและลดการสะสมความร้อนจากแสงแดดอีกด้วย จึงนับเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีความน่าสนใจต่อการนำไปใช้เพื่อลดข้อจำกัดหรือปัญหาที่เกิดจากวัสดุปิดผิวแบบทั่วไป

DSCF0701DSCF0690

113545113566113576

         นายพรพรต กล่าวเสริมว่า จากการสำรวจตลาดจากผู้บริโภคที่เคยนำผลิตภัณฑ์ไปใช้งาน ได้รับการตอบรับที่ดีโดยสะท้อนว่า ผลิตภัณฑ์นี้มีความเหมาะสมอย่างยิ่งในบริเวณพื้นที่ที่ต้องการเสริมความปลอดภัยจากการลื่นไถล เช่น พื้นที่ซักล้าง พื้นที่ลาดชัน ทางเดิน ทางจักรยาน ที่จอดรถ ทางรถวิ่ง รวมถึงบริเวณไหล่ทางหรือเกาะกลางถนนที่ต้องการป้องกันหญ้าขึ้น นอกจากนั้น ยังสามารถนำไปใช้ปิดทับผิวเพื่อความสวยงามและลดการฟุ้งกระจายของฝุ่นจากพื้นดินแทนการใช้อิฐบล็อกตัวหนอนหรือเทพื้นคอนกรีตได้ดี โดยสามารถปิดทับพื้นผิวที่ทรุดตัวเล็กน้อยได้โดยไม่ฉีกขาดแต่อย่างใด

         “แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูป” ได้มีการผลิตและจัดจำหน่ายทางออนไลน์แล้วในชื่อ “Bicbok” และกำลังอยู่ในขั้นตอนการวางแผนขยายการจำหน่ายไปสู่ห้างร้านทั่วประเทศ จากความสำเร็จในการร่วมมือพัฒนาผลิตภัณฑ์แผ่นพื้นยางมะตอยสำเร็จรูปจนทำให้เป็นที่ยอมรับในตลาดและขยายกำลังการผลิตสู่ระดับกึ่งอุตสาหกรรมได้แล้วนั้น ปัจจุบัน ดร.พิทักษ์ และบริษัท บิทูเมน อินโนเวชั่น จำกัด ยังมีแผนการพัฒนาร่วมกันอย่างต่อเนื่อง เพื่อเพิ่มความน่าสนใจแก่ผลิตภัณฑ์ต่อการนำไปใช้งานได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น เช่น การพัฒนากระบวนการเพิ่มลวดลายและสีสันให้กับพื้นผิว การพัฒนาวัสดุให้สามารถลดการสะสมความร้อนและการคายความร้อนซึ่งเป็นหนึ่งในจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ให้ได้มากยิ่งขึ้น ถือเป็นอีกหนึ่งผลงานที่ประสบความสำเร็จ จากการประสานทำงานร่วมกันระหว่างสวทช. และเอกชน สร้างสรรค์นวัตกรรม ได้เป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือกใหม่ผู้บริโภคได้ใช้เสริมสร้างความปลอดภัยในชีวิตประจำวัน

         นอกจากนี้ยังมีแนวความคิดในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อยกระดับให้สามารถตอบสนองต่อนโยบายภาครัฐบาลทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจแบบ BCG  (Bio/Circular/Green) economy model โดยการนำน้ำยางพาราซึ่งเป็นผลผลิตทางด้านการเกษตรหลักของประเทศ และการนำเศษวัสดุพลอยได้จากอุตสาหกรรมต่างๆ มาเพิ่มมูลค่าโดยการใช้เป็นส่วนประกอบในอนาคตด้วย

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
วว. เชิญร่วมกิจกรรมรับวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2563 ABC CENTER ร่วมกับ ม.เทคโนโลยีสุรนารี เชิญเข้าร่วมงานสัมมนา AGTECH INNOVATION FORUM
  • สวทช. เปิดขุมพลังวิจัย ฟูดเซิร ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    สวทช. เปิดขุมพลังวิจัย ฟูดเซิร์ป (FoodSERP) “แพลตฟอร์มบริการผลิตอาหารและส่วนผสมฟังก์ชัน” ขับเคลื่อนอ...
    21 Jun 2023
    วศ.อว. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนา ...
    ภาพข่าวและกิจกรรม
    วศ.อว. จัดกิจกรรมทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการสาขาสอบเทียบ รายการ Calibration of Caliper (Digital)
    01 May 2020
    ถ้อยแถลงในนามประเทศไทย การประช ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    ถ้อยแถลงในนามประเทศไทย การประชุมใหญ่สมัยสามัญของ IAEA สมัยที่ 67 (The 67th IAEA General Conference: ...
    28 Sep 2023
    ดูทั้งหมด >

เรื่องล่าสุด

“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. ม ...
ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. มอบวุฒิบัตรและปิดการฝึกอบรม "หลักสูตรการบริหารงานอุดมศึกษาสายสนับสนุนระ...
16 May 2025
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไทยด้วยกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)“ ผลักดันกำลังคนสมรรถนะ...
16 May 2025
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบับที่ 2 รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ผลักดันเทคโนโลยีสู้วิก...
15 May 2025

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.