เมื่อวันที่ 7 พ.ย. นางสาววราภรณ์ รุ่งตระการ ที่ปรึกษาด้านระบบบริหารการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการในตำแหน่งรองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ระยะที่ 2 เพื่อระดมความคิด ถอดบทเรียน แลกเปลี่ยนข้อมูล ปัญหาและอุปสรรคต่างๆ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นำไปสู่การจัดทำโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่นระยะที่ 2 ซึ่งจะเป็นต้นแบบการสร้างครูให้มีศักยภาพ มีทักษะและสมรรถนะ สามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของผู้ใช้ และตอบโจทย์การแก้ปัญหาการศึกษาของประเทศ โดยมี นายสุทน เฉื่อยพุก ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนากำลังคน กล่าวรายงาน ณ โรงแรมเซนจูรี่ พาร์ค กรุงเทพมหานคร
นางสาววราภรณ์ กล่าวว่า การประชุมในวันนี้ถือเป็นก้าวสำคัญของการผลิตและพัฒนาครูที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้และตอบโจทย์การแก้ปัญหาการศึกษาของประเทศ กระทรวง อว. ได้ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนากำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการของประเทศ โดยเชื่อมโยงกับหมุดหมายตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 นโยบายการปฏิรูปการอุดมศึกษาของรัฐมนตรีว่าการ อว. และระบบนิเวศอุดมศึกษาโดยใช้โครงการพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศและโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ เป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อน ซึ่งกระบวนการเหล่านี้ออกแบบเป็นวงจรที่สามารถพัฒนาและปรับเปลี่ยนอย่างต่อเนื่องตามความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้แน่ใจและมั่นใจได้ว่า บัณฑิตและกำลังคนมีทักษะที่พึงประสงค์สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้บัณฑิต
นางสาววราภรณ์ กล่าวต่อว่า สำหรับการปฏิรูประบบผลิตครู สป.อว. ได้ร่วมมือกับหน่วยงานผู้ใช้ครู จัดทำโครงการผลิตครู ได้แก่ โครงการผลิตครูการศึกษาขั้นพื้นฐานระดับปริญญาตรี (หลักสูตร 5 ปี), โครงการผลิตครูพันธุ์ใหม่, โครงการผลิตครูมืออาชีพ และโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น (ระยะที่ 1 ปี 2559 - 2561) โดยโครงการเหล่านี้เป็นโครงการที่บูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานผู้ใช้ครู กับหน่วยผลิต (สป.อว.) โดย หน่วยงานผู้ใช้ครู (สพฐ., สอศ., สกร.,กทม) เป็นผู้อนุเคราะห์อัตราการบรรจุรับราชการครู จากผลการดำเนินงานโครงการระยะที่ 1 สป.อว. ในฐานะหน่วยงานที่ส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ โดยเฉพาะการผลิตครูให้กับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นรากฐานในการสร้างคนให้มีคุณภาพ มีทักษะ สมรรถนะเป็นพลเมืองของโลกรู้เท่าทันและปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ระยะที่ 2 จึงเน้นผลิตครูที่มีความรู้ทางวิชาการ เชี่ยวชาญทางวิชาชีพ มีอุดมการณ์วิชาชีพครู
“การประชุมครั้งนี้มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นการระดมความคิดร่วมกันจากหลายภาคส่วน เพื่อกันร่วมกันกำหนดแนวทางการผลิตครูภายใต้โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ให้ตอบโจทย์การแก้ปัญหาการศึกษาของประเทศ และเชื่อมโยงไปถึงการพัฒนาครูของประเทศ โดยขั้นตอนและกำหนดการในการจัดทำโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ระยะที่ 2 โดย สป.อว. จะนำข้อคิดเห็นจากการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ไปประมวลเพื่อจัดทำโครงการและเสนอคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อบริหารโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น และคณะอนุกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้อง และประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายในเดือน ธ.ค. 67 เพื่อนำเสนอคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในเดือน ม.ค. 68 จากนั้นจะเสนอ ครม. พิจารณาให้ความเห็นชอบในเดือน ก.พ. 68 หากได้รับความเห็นชอบจะเริ่มการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการจากผู้สำเร็จการศึกษาชั้น ม.6 เพื่อเข้าศึกษาปีการศึกษา 2569 ต่อไป” นางสาววราภรณ์ กล่าว
ด้าน นายสุทน กล่าวว่า โครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ระยะที่ 2 นี้ หน่วยงานผู้ใช้ครู ได้แก่ สพฐ. และ กทม. ได้ให้ความอนุเคราะห์อัตราบรรจุเป็นข้าราชการครู รวมจำนวน 17,392 อัตรา เพื่อเป็นเป้าหมายในการดำเนินโครงการฯ ระยะเวลา 10 ปี (เริ่มบรรจุปี พ.ศ. 2573 – 2582) โดยจะเริ่มคัดเลือกนักศึกษาเข้าร่วมโครงการในปีการศึกษา 2569 เป็นปีแรก ดังนั้น เพื่อให้การจัดทำโครงการผลิตครูเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ระยะที่ 2 ตอบโจทย์แก้ปัญหาการศึกษาของประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครบถ้วนรอบด้าน
ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
กลุ่มสื่อสารองค์กร
โทรศัพท์ 0 2333 3700
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : MHESIThailand
Instagram : mhesithailand
Tiktok : @mhesithailand
X (Twitter) : @MHESIThailand
YouTube : @MHESIThailand
Call Center 1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.