เมื่อวันที่ 24 ม.ค. ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้อำนวยการกองขับเคลื่อนและพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างเครือข่ายเชิงประเด็นโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (เครือข่าย C-อพ.สธ.) จัดโดยมหาวิทยาลัยบูรพา เครือข่ายภาคตะวันออก ระหว่างวันที่ 24-25 มกราคม 2568 ณ โรงแรมพรีมา พัทยา จ.ชลบุรี โดยมี รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก อธิการบดีมหาวิทยาลัยบูรพา ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ อพ.สธ. พร้อมด้วยสถาบันอุดมศึกษาสมาชิก 9 เครือข่ายทั่วประเทศ เข้าร่วมกว่า 200 คน ประกอบด้วย เครือข่ายภาคเหนือตอนบน (มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถาบันอุดมศึกษาแม่ข่าย) เครือข่ายภาคเหนือตอนล่าง (มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นสถาบันอุดมศึกษาแม่ข่าย) เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน (มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นสถาบันอุดมศึกษาแม่ข่าย) เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีเป็นสถาบันอุดมศึกษาแม่ข่าย) เครือข่ายภาคกลางตอนบน (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาแม่ข่าย) เครือข่ายภาคกลางตอนล่าง (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีเป็นสถาบันอุดมศึกษาแม่ข่าย) เครือข่ายภาคตะวันออก (มหาวิทยาลัยบูรพาเป็นสถาบันอุดมศึกษาแม่ข่าย) เครือข่ายภาคใต้ตอนบน (มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์เป็นสถาบันอุดมศึกษาแม่ข่าย) และเครือข่ายภาคใต้ตอนล่าง (มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์เป็นสถาบันอุดมศึกษาแม่ข่าย) โอกาสนี้ รศ.ดร.ยุทธนา ฉัพพรรณรัตน์ ประธานเครือข่าย C-อพ.สธ. ภาคกลางตอนบน ได้รับมอบธงเจ้าภาพ สำหรับการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ในปี พ.ศ. 2569
ดร.พันธุ์เพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า สำนักงานปลัดกระทรวง อว. เป็นหน่วยงานหนึ่งที่ร่วมสนองพระราชดำริโครงการ อพ.สธ. โดยน้อมนำแนวพระราชดำริในการอนุรักษ์และเรียนรู้การพัฒนา ต่อยอด และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติเป็นฐานในการกำหนดนโยบายและแนวทางการขับเคลื่อนภารกิจของกนะทรวง อว. ที่สอดรับกับการพัฒนาประเทศ โดยสถาบันอุดมศึกษาถือเป็นแหล่งทรัพยากรที่มีความพร้อม ทั้งบุคลากร นักวิจัย รวมถึงองค์ความรู้จากการทำวิจัยและนำไปสู่การสร้างกระบวนการใหม่ๆ ที่สามารถพัฒนาเป็นเทคโนโลยีที่เหมาะสมของประเทศ และขยายผลไปสู่พื้นที่ ภาคชุมชน เพื่อให้เกิดการปรับตัว ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาเครือข่าย C-อพ.สธ. ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ จึงเป็นกลไกหลักที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า การขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแนวพระราชดำริ อพ.สธ. ช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ และถือเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการปรับแนวคิดและทิศทางของอุดมศึกษาไทย ผ่านกลไกอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.)
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.