28 สิงหาคม 2565 ณ ต.เบตง อ.เบตง จ.ยะลา / นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม ที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านพัฒนาทรัพยากรบุคคล ผู้อำนวยการกลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สป.อว ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการ "U2T for BCG" โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG ภาคต่อของโครงการมหาวิทยาลัยสู่ตำบล หรือ U2T เฟส 1 โดยได้รับการต้อนรับอย่างอบอุ่นจากนายสกุล เล็งลัคน์กุล นายกเทศมนตรีเมืองเบตง ผศ.ดร.บุญสิทธิ์ ไชยชนะ รักษาการอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ผศ.ดร.เกศรี ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น คณาจารย์ ผู้เข้าร่วมโครงการ U2T และประชาชนในพื้นที่ อ.เบตง
นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม ที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโครงการ U2T for BCG ในครั้งนี้ เป็นการลงพื้นที่ที่ อ.เบตง จ.ยะลา ซึ่ง อว. โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลาเป็นผู้ดำเนินการ ครอบคลุม 64 ตำบลในเขตจังหวัดยะลา สำหรับอำเภอเบตง ซึ่งโครงการที่ อว. ร่วมผลักดันให้เกิดผล ได้แก่ โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการยกระดับผลิตภัณฑ์ แยมส้มโชกุนเบตง ด้วยวิธีการ Zero Waste จากการจ้างงานของประชาชนในพื้นที่และบัณฑิตจบใหม่ จำนวน 7 คนที่เข้าร่วมโครงการขับเคลื่อนในครั้งนี้ เพื่อลงไปช่วยประชาชนในพื้นที่ ผู้ประกอบการที่ปลูกส้มโชกุน ซึ่งนับเป็นผลผลิตที่มีจำนวนมากและขึ้นชื่อของ อ.เบตง
"การนำเอา BCG มาปรับใช้กับผลผลิตในชุมชนของ อ.เบตง ทำให้เกิดทรัพยากรหมุนเวียน และช่วยแก้ไขปัญหาส้มตกเกรดและยากต่อการจำหน่าย ด้วยวิธีการนำเอาส้มตกเกรดมาแปรรูปเป็นแยมส้มแบรนด์ "ส้มซิ่ง" ผสมผสานกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัยและสามารถนำเอากลับมาใช้ใหม่ได้ การให้องค์ความรู้ด้าน วทน. แก่ผู้ประกอบการ จะทำให้ส้มโชกุนและธุรกิจแยมส้มเติบโตขึ้น จนทำให้ส้มโชกุนสามารถยกระดับ จนกลายเป็นสินค้าของฝากของที่ระลึก ที่นักท่องเที่ยว ที่มา อ เบตง ต้องซื้อหากลับไป ต่อไป" นางสาวนิสากร กล่าวทิ้งท้าย
ด้าน นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์กล่าวว่า โครงการ u2t for bcg ที่ทาง อว. ขับเคลื่อนในช่วงระยะเวลา 3 เดือนที่เกิดขึ้นนี้ (กรกฎาคม 65 - กันยายน 65) เป็นโครงการระยะสั้นที่ขยายผลครอบคลุมกว่า 7,435 ตำบลทั่วทั้งประเทศ ซึ่งโครงการนี้จัดตั้งขึ้นมาเพื่อช่วยเหลือประชาชน บัณฑิตจบใหม่และนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ที่ส่งผลกระทบยืดเยื้อมาจนถึงปัจจุบัน โดยครั้งนี้มีมหาวิทยาลัยเข้ามาร่วมกับ อว. และตำบลในพื้นที่เป็นจำนวนมากขึ้นกว่าเดิม ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ และที่สำคัญการขับเคลื่อนในครั้งนี้จะเป็นการผลักดันพัฒนาศักยภาพของผลิตภัณฑ์และบริการมาขยายผลและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ในพื้นที่ที่เป็นของดีของตำบลต่อไป
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรชิตา รุกขชาติ
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3972 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Twiiter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.