29 สิงหาคม 2565 ณ ต.อัยเยอร์เวง อ.เบตง จ.ยะลา/นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม ที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยนายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สป.อว ลงพื้นที่ต่อเนื่องในเขตอำเภอเบตง จังหวัดยะลา โดยวันนี้ได้ตรวจเยี่ยมการดำเนินงานของ "U2T for BCG"โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG )” คัดสรรบัณฑิต และประชาชนที่ มีศักยภาพ มีความรู้ความสามารถ ลงพื้นที่ไปทำงานร่วมกับชุมชนเป็นระยะเวลา 3 เดือน ผ่านการประยุกต์ใช้ BCG เพิ่มรายได้ให้กับชุมชนในเขตพื้นที่อัยเยอร์เวง โดยมีนายซอลาฮุดดีน ยาญา นายกองค์การบริหารส่วนตำบลอัยเยอร์เวง ผศ.ดร.เกสรี ลัดเลีย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและพัฒนาท้องถิ่น นายวิชาพร ชินประพัทธ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนยะลา คณาจารย์และผู้เข้าร่วมโครงการ U2T ให้การต้อนรับและเข้าร่วมประชุมหารือการดำเนินงานโครงการ U2T for BCG จังหวัดยะลา
นางสาวนิสากร จึงเจริญธรรม ที่ปรึกษา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่าโครงการ U2T for BCG ในความรับผิดชอบของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นการนำเอา วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม รวมทั้งองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่ทาง อว. มีมาพัฒนาเชิงพื้นที่ ซึ่งในเฟสที่ 2 เรียกว่า U2T for BCG ซึ่งได้งบประมาณจากงบกลางของประเทศมาช่วยขับเคลื่อน โครงการนี้เราจะดูในพื้นที่ว่าเราจะสามารถเอาองค์ความรู้ของมหาวิทยาลัยมาพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างไรบ้าง ซึ่งลักษณะการทำงานของเราเป็นการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ซึ่งคนที่ขับเคลื่อนร่วมกับเราก็คือคนในท้องถิ่น โครงการนี้เปรียบเสมือนไม้ขีดก้านแรกที่จุดไฟการทำงานร่วมกันของ อว. มหาวิทยาลัย อบต. และภาคส่วนต่างๆ และที่สำคัญ คือ คนในพื้นที่ และถึงแม้ว่าโครงการนี้จะจบลงไป แต่ประชาชนในพื้นที่ก็ยังมีองค์ความรู้ที่สามารถทำได้ต่อด้วยตนเอง และกระบวนการที่จะทำให้เกิดความยั่งยืนได้นั้น คือ การจัดการร่วมกันทั้งหน่วยงานกฎหมาย หน่วยงานท้องถิ่นและการท่องเที่ยว นอกจากนั้น ชุมชนในบริเวณที่ทาง อว. เอาโครงการ U2T for BCG เข้าไปช่วย จะสามารถใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาต่อยอด สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้า บริการและการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน
นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์ อารุณี หัวหน้ากลุ่มภารกิจบริหารยุทธศาสตร์ สป.อว กล่าวว่า อว. และทางมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ได้นำเอาเทคโนโลยีที่เป็นแพลต์ฟอร์มในไลน์ที่ชื่อว่า "Sakai Chatbot บริการข้อมูลการท่องเที่ยวตำบลอัยเยอร์เวง" มาเป็นส่วนหนึ่งที่ถ่ายทอดประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยวตำบลอัยเยอร์เวงและตำบลใกล้เคียง ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นแพลตฟอร์มซึ่งสามารถ ถาม-ตอบ ว่าที่นี่มีอะไรน่าสนใจ มีสถานที่ใดที่ควรไป มีอาหารอะไรอร่อย มีเส้นทางเดินทางอย่างไร เกิดเหตุฉุกเฉินต้องแจ้งใคร ฯลฯ และเป็นระบบที่มีการอัพเดทและพัฒนาให้ดียิ่งขึ้นไปอีกโดยจะสามารถใช้ได้ อีก 3 ภาษา คือ ภาษาอังกฤษ ภาษาจีนและภาษามาเลเซีย ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เกิดการส่งเสริมการท่องเที่ยวและความเป็นอยู่ของประชาชนในเขตพื้นที่ และถึงแม้จะเป็นโครงการระยะสั้นแต่อยากให้มหาวิทยาลัยร่วมกับทาง อบต. อัยเยอร์เวงในการพัฒนา เพิ่มขีดความสามารถในการลดขั้นตอนการสื่อสารและสะดวกต่อการใช้งานต่อไป
"นอกจากนั้นอีกหนึ่งการต่อยอดที่น่าสนใจของอัยเยอร์เวง คือ การนำเอาเทคโนโลยีเครื่องอบแห้งพลังงานแสงอาทิตย์ ผลงานของน้องๆ ที่ร่วมโครงการ U2T ในเฟส 1 มาเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผลิตภัณฑ์ในพื้นที่เป็นการหล่นระยะเวลาการผลิตโดยเครื่องอบแห้งดังกล่าวแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนของแผงรับแสงอาทิตย์ทําหน้าท่ีดูดซับความร้อนจากแสงอาทิตย์แล้วส่งผ่านไปยังห้องอบแห้ง และส่วนของห้องอบแห้งทําหน้าท่ีเป็นแหล่งรวมความร้อนในการอบแห้งผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบอบแห้ง และการ Repackaging Desigh ปรับโฉมผลิตภัณฑ์ข้าวเกรียบอบแห้งที่นอกจากอร่อยแล้ว ยังสามารถดึงดูดความสนใจจากประชาชนและนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมอัยเยอร์เวงให้กลายเป็นหนึ่งในของฝากที่ต้องซื้อกลับไปในอนาคต" นายพันธุ์เพิ่มศักดิ์
นางสาวนิสากร กล่าวปิดท้ายว่า การจัดทำแพลตฟอร์ม ซาไก แชทบอท ของกลุ่มน้องๆ U2T for BCG เฟส 2 เป็นผลงานที่น่าชื่นชมและเปรียบเสมือนศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลระดับเขตพื้นที่ อัยเยอร์เวง ซึ่งแนะนำให้บูรณาการข้อมูลร่วมกันกับ TCD ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ของชุมชน (Thailand Community Data) หรือ TCD ที่ อว.จัดทำขึ้นผ่าน โครงการ U2T ที่มีการอัพเดทข้อมูลเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ซึ่งข้อมูลอัพเดทล่าสุดเมื่อวันที่ 27 ส.ค. 65 มีชุดข้อมูล TCD ของจังหวัดยะลามากกว่า 4,502 ชุดข้อมูล ซึ่งจะทำให้ทางแพลต์ฟอร์ม ซาไก แชทบอท มีข้อมูลที่เพียงพอและเชิงลึกระดับพื้นที่ในจังหวัดยะลา เพื่อใช้ตอบคำถามแก่ประชาชนที่ติดต่อสอบถามผ่านซาไก แชทบอท ในท้ายที่สุด
ข่าว,ถ่ายภาพ : ควรแย้ม
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3972 โทรสาร 0 2333 3834
e-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailand
Twiiter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.