เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2565 ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้ร่วมเปิดการประชุมวิชาการประจำปี 2565 เรื่อง “บทบาทและความท้าทายของอนามัยสิ่งแวดล้อมในการพัฒนาประเทศ (The Role and Challenges of Environmental Health in National Development)” ของศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา พร้อมปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “บทบาทของศูนย์ความเป็นเลิศในการพัฒนาประเทศ” โดยมี นางสาวสุณีย์ เลิศเพียรธรรม หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ทีมผู้บริหารจากศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา และนักศึกษาเข้าร่วมรับฟัง ณ ศูนย์ประชุมสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ กรุงเทพมหานคร
ศ.ดร.นพ.สิริฤกษ์ ปลัดกระทรวง อว. กล่าวว่า “ทิศทางของ Center of Excellence (COE) ณ ขณะนี้นะครับ ผมพูดถึงเรื่องอุดมศึกษา ความจริงแล้วทางด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในเชิงโครงสร้างก่อนหน้านี้ไปไวกว่าทางด้านอุดมศึกษานะครับ แต่ในแง่ของการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ เรื่อง follow นี้ ทิศทางน่าจะไปแต่คล้าย ๆ กัน กระทรวงได้ดำเนินทิศทางในกลไกคล้าย ๆ Thailand Academy of Sciences ชื่อไทย ธัชวิทย์ ธั-ช-วิ-ท-ย์ แปลว่า ถือธงนำทางด้านวิทยาศาสตร์ ก่อนหน้านี้เค้าจะมีคู่แฝด แฝดของเค้าชื่อ ธัชชา ธัชชาตอนที่ตั้งตอนแรก คิดเป็นภาษาอังกฤษนะครับ Thailand Academy of Social Sciences TASSHA ตอนแรกเขียนภาษาอังกฤษง่าย ๆ คือ เป็น Center of Excellence ทางด้านสังคมและเรื่องอื่น ๆ ตอนที่คิดธัชชา คนก็อ่านไม่ค่อยออก เค้าก็อ่านว่า ธัชช่า ธัชชาฟังดูเหมือนภาษาอินเดีย ธัชชาก็เหมือนภาษารัสเซีย คิดว่าจะเปลี่ยนชื่อก็ไปเปิดหนังสือตั้งชื่อเด็ก ๆ แล้วก็พระราชบัณฑิตมาดู บอกว่าคำว่า ธัชชา ถ้าเปลี่ยนจาก ท เป็น ธ แล้ว ธัชชา จะแปลว่า ผู้ถือธงนำ ก็เป็นคำมงคลคำหนึ่งนะครับ คือ ผู้ถือธงนำในทางวิชาการของประเทศ พอเราขับเคลื่อนทางด้านวิทยาศาสตร์ ก็เป็นก็เป็น ธัชวิทย์นะครับ ธั-ช-วิ-ท-ย์ Academy of Sciences เรากำลังจัดรูปแบบ ผมความคิดว่าในเรื่องกลไกของ COE จะเป็นกลไกสำคัญ COE ก็จะ drive เข้าไปอยู่ในทิศทางที่ว่านะครับ เราก็คิดว่าทุกเรื่องที่ทำ จะต้องมีจุดมุ่งหมาย จุดมุ่งหมายที่ว่าคือการพัฒนาประเทศด้วยความเป็นเลิศ ในมุมของกระทรวงเอง ผมคิดว่าในหมู่นักวิชาการ ไม่ได้เกิดความขัดแย้งอะไรกันระหว่างทางด้านวิชาการกับการพัฒนาประเทศนะครับ สุดท้ายเราก็ต้องการให้ประเทศพัฒนา พัฒนาความเป็นเลิศ พัฒนาความเป็นเลิศที่เกิดขึ้นอยู่บนพื้นฐานของ 3 ด้าน ด้านที่ 1 จะต้องพัฒนากำลังคนกลไกที่เป็นที่เป็น ธัชวิทย์ หรือ Academy of Sciences มุ่งเข้าไปที่เรื่องของการพัฒนากำลังคนของประเทศ ต้องมี flow ของคนเข้าไปในระบบอยู่ตลอดเวลา นั้นเป็นเรื่องที่หนึ่ง
ประการที่ 2 จะต้องสามารถที่จะเป็นเป็นแหล่งรวบรวมกลไกลเครื่องไม้เครื่องมือ facility competency ด้านนั้นของประเทศได้ ตอนนี้เราอยากจะเห็นครับว่า COE แต่ละแห่งอย่างน้อยที่สุด ทราบว่าเรื่องนี้ประเทศไทยมีใครอยู่ที่ไหน และกำลังจะมีอยู่ที่ไหนบ้างครับ เรามี infrastructure มี facility และเรื่องอื่น ๆ ในด้านนั้นอยู่ที่ไหนบ้าง ทำอย่างไร ใช้อย่างไร ของการของการแชร์การใช้งานตรงส่วนนี้อย่างเต็มที่ ตอนนี้มีคน มีทีม IT กำลังทำรูปแบบเหมือน HUB เลยนะครับ เหมือนมีคนเคยใช้ ท่านเคยใช้ Airbnb หรือไม่ครับ ที่จองห้องพัก ตอนนี้เนี่ยประเทศไทยกำลังจะ launch คล้าย ๆ กับ Airbnb ทางด้านเครื่องมือวิทยาศาสตร์ facility ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่จะสามารถเข้าไปได้ สมมติใครต้องการที่จะใช้ HPLC แบบนึงที่อื่นมีอะไรที่น่าจะ lock เข้ามาแล้ว ก็ดูการใช้งานได้เลย เค้ากำลังคิดระบบ กำลังดูระบบหลังบ้าน เพื่อที่จะดูเรื่องของ maintenance เรื่องของ cost sharing เรื่องของ cost ต่าง ๆ
นอกจากนี้ภายในงานยังมีการอภิปราย เรื่อง “อนาคตของศูนย์ความเป็นเลิศในการขับเคลื่อนประเทศและภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม” โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ประกอบไปด้วย
- ศาสตราจารย์นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
- คุณหญิงลักษณาจันทร เลาหพันธุ์ รองประธานสถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ ฝ่ายวิเทศสัมพันธ์
- ดร. กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ
และผู้ดำเนินการอภิปราย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร. นายแพทย์พรชัย มาตังคสมบัติ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและพิษวิทยา มีการผสมผสานงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับผลกระทบของสารเคมีต่อสิ่งแวดล้อมและส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของคน ผลงานของศูนย์ฯ มีส่วนเกี่ยวข้องในการนำไปใช้เพื่อวางนโยบายในการป้องกันสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของประชาชน ที่จะช่วยให้ประเทศไม่ต้องเสียงบประมาณในการฟื้นฟูสภาพแวดล้อมและการรักษาพยาบาล ตลอดจนงานวิจัยที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศ
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.