เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. รศ.ดร.พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานร่วมฝ่ายไทย กล่าวปิดการประชุม JCM ครั้งที่ 3 โดยมี Jennifer R. Littlejohn, Acting Assistant Secretary, Bureau of Oceans and International Environment and Scientific Affairs, U.S. Department of State ประธานร่วมฝ่ายสหรัฐอเมริกาและผู้แทนจากกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และ Gwendolyn Cardno, Chargé d’Affaires, U.S. Embassy Bangkok ผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ร่วมกล่าวแสดงความขอบคุณกระทรวง อว. และผู้เข้าร่วมการประชุม JCM ครั้งที่ 3 ณ โรงแรมแลนด์มาร์ค กรุงเทพฯ
โดยผู้แทนทั้ง 4 สาขาความร่วมมือ ได้รายงานสรุปผลการประชุมกลุ่มย่อยและแผนการดำเนินความร่วมมือในอนาคต ดังนี้
กลุ่ม 1. Health and Medicine, Including OneHealth – แสดงความสนใจที่จะร่วมมือกันในด้าน genome sequencing การควบคุมโรค ความมั่นคงทางสุขภาพ และสุขภาพหนึ่งเดียว (One Health) เพื่อส่งเสริมสุขภาพคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ผ่านการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี การสนับสนุนการจัดการข้อมูล ฐานข้อมูลและทรัพยากรชีวภาพ ตลอดจนการเพิ่มจำนวนการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถ
กลุ่ม 2. STEM, Entrepreneurship and Innovation Ecosystem – มุ่งยกระดับการพัฒนาหลักสูตร Computer Science ในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ผ่านโครงการ CS for All ของสหรัฐฯ การตั้งคณะทำงานด้าน Computer Literacy ร่วมกัน และผลักดันความร่วมมือด้านการออกแบบหลักสูตรด้าน AI Engineering ในระดับอุดมศึกษา ตลอดจนการสนับสนุนผู้ประกอบการในการพัฒนานวัตกรรมผ่านการจัดกิจกรรมร่วมกันระหว่าง U.S. GIST Initiative และ Startup Thailand Program และการตั้งคณะทำงาน National Startup Committee
กลุ่ม 3. Biodiversity, Water, Agriculture and Climate Change Adaptation – สร้างแพลตฟอร์มสำหรับประเด็นที่มีความคาบเกี่ยว เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การเกษตร การสนับสนุนความหลากหลายทางชีวภาพ และความมั่นคงทางอาหาร เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
กลุ่ม 4. Energy and Climate Change Mitigation – ชูประเด็นเทคโนโลยีการดักจับ การใช้ประโยชน์ และการกักเก็บคาร์บอน (Carbon Capture, Utilization and Storage: CCUS) เทคโนโลยีกักเก็บพลังงาน พลังงานชีวภาพและเชื้อเพลิงชีวภาพ โดยเชื่อมโยงสถาบันวิจัยระหว่างสองประเทศเพื่อมุ่งสู่ Net Zero หรือการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์
ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม JCM ครั้งที่ 3 คณะผู้แทนสหรัฐอเมริกาเดินทางไปศึกษาดูงาน ณ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โดยได้รับการต้อนรับจาก ดร.วรรณพ วิเศษสงวน ผู้อำนวยการไบโอเทค พร้อมด้วยผู้บริหารและคณะนักวิจัย พร้อมเข้าเยี่ยมชมกลุ่มวิจัยของไบโอเทค ได้แก่ โรงงานต้นแบบชีวกระบวนการไบโอเทค กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีชีวภาพสัตว์น้ำแบบบูรณาการ ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ ธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ และโรงงานผลิตพืช
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.