เมื่อวันที่ 10 ก.ค.ศ.สัมพันธ์ ฤทธิเดช เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา พร้อมด้วย รศ.ดร พาสิทธิ์ หล่อธีรพงศ์ รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และผู้บริหารจากสถาบันอุดมศึกษาเข้าร่วมการประชุมสัมมนาวิชาการเพื่อสร้างและพัฒนากำลังคนที่มีทักษะและสมรรถนะสูง ภายใต้โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ (ภาคเหนือ) โดยการประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันของผู้เข้าร่วมโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เพื่อรับฟังนโยบายจากผู้บริหาร อว. เพื่อเป็นข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะในการจัดทำโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ระยะที่ 2 ณ โรงแรมเชียงใหม่แกรนด์วิว จ.เชียงใหม่
ทั้งนี้ รศ.ดร.พาสิทธิ์ ได้กล่าวบรรยาย ในหัวข้อ “การสร้างและพัฒนากำลังคนที่มีทักษะและสมรรถนะสูง” ว่า การพัฒนาโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ในระยะที่ 2 ควรมีการคำนึงถึงการพัฒนาหลักสูตรที่จะช่วยเสริมให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาเป็น Global Citizen ที่มี Global Skills ที่ตรงความต้องการของอาชีพในอนาคตได้ ทักษะที่จำเป็นยกตัวอย่างเช่น ทักษะวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysts) ด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI Machine Learning Specialists) และ ทักษะความรู้ทางเทคโนโลยี (Technology Literacy) เป็นต้น เพื่อตอบโจทย์การผลิตกำลังคนรองรับการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคเหนือ หรือ Northern Economic Corridor :NEC (เชียงราย-เชียงใหม่-ลำปาง-ลำพูน) ที่ได้ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. ซึ่งจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการช่วยพัฒนาเศรษฐกิจในประเทศให้เจริญเติบโตและกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค
นอกจากนั้น รัฐบาลโดย BOI ยังมีการสร้างแรงจูงใจด้านการลงทุนให้กับอุตสาหกรรมเป้าหมายในแต่ละพื้นที่ด้วย โดยของภาคเหนือรัฐบาลกำหนดให้เป็น Creative Lan-na มุ่งเน้น อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ส่งเสริมการค้า การลงทุน ยกระดับสินค้าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เชื่อมโยงอุตสาหกรรมดิจิทัล อุตสาหกรรมเกษตร อาหาร อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ วัฒนธรรม ซึ่งมหาวิทยาลัยในกลุ่มภาคเหนือจะต้องเร่งจัดทำหลักสูตรในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ระยะที่ 2 ให้ครอบคลุมเพื่อตอบโจทย์การลงทุนของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเหล่านี้ใน NEC ให้มากขึ้น
“อว.ได้มีการตั้งเป้าหมายของกำลังคนที่เราจะพัฒนาว่าสุดท้ายแล้วต้องเป็นกำลังคนที่มีความพร้อมใน 3 ด้าน ดังนี้ 1.Social-ready: ต้องเป็น sustainability census worker มีความตระหนักรู้ เป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบต่อความมั่นคงทางสั่งคมและสิ่งแวดล้อม 2. Industry-ready: มีสมรรถนะที่ตรงต่อความต้องการของอุตสาหกรรม จบออกมาแล้วเป็นกำลังคนที่ตลาดต้องการ และ 3. Future-ready: มีความสามารถในการปรับตัว เรียนรู้ ให้ทันต่อความเปลี่ยนแปลงในอนาคตได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้จะสามารถสร้างกำลังคนคุณภาพเพื่อการพัฒนาประเทศได้” รศ.ดร.พาสิทธิ์ กล่าว
ทั้งนี้ ในการประชุมสัมมนาดังกล่าว ยังมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การบริหารจัดการในส่วนของสถาบันอุดมศึกษา การส่งต่อบัณฑิตพันธุ์ใหม่ สู่การออกแบบหลักสูตรตามมาตรฐานหลักสูตรคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา 2565 และการจัดนิทรรศการแสดงผลการดำเนินงานของหลักสูตรภายใต้โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่
สามารถรับชมการบรรยายย้อนหลังได้ที่ https://fb.watch/lH8cVv6ZYs/?mibextid=RUbZ1f
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.