กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
  • ข่าวสารหน่วยงาน

สรุปความก้าวหน้าในการจัดหาวัคซีนในปี 2563 ในสหภาพยุโรป

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
23 Jan 2021

news 20201230084352 1aa

ตลอดทั้งปี 2563 สหภาพยุโรปได้ให้งบสนับสนุนการวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการตรวจวินิจฉัย วิธีการรักษา และวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 รวมทั้งได้กำหนดเกณฑ์การคัดเลือกวัคซีนในการจัดทำซื้อขายวัคซีนล่วงหน้าและเดินหน้าเจรจาทำข้อตกลงซื้อขายวัคซีนสำหรับโรคโควิด-19 กับบริษัทต่าง ๆ ที่พัฒนาวัคซีนที่ให้ผลการทดสอบทางคลินิกเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งถือเป็นภารกิจภายใต้กรอบกลยุทธ์ EU vaccines strategy โดยมีจุดมุ่งหมายช่วยให้ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปทุกแห่งสามารถจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19  ได้ รวมทั้งบริจาควัคซีนให้กับประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง หรือให้กับประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรป (EEA)

โดยปัจจุบันมีบริษัทเวชภัณฑ์จำนวน 6 บริษัทที่สหภาพยุโรปจัดทำข้อตกลงซื้อวัคซีน ได้แก่ บริษัท BioNTech-Pfizer  บริษัท Moderna บริษัท AstraZeneca บริษัท Sanofi-GSK บริษัท Janssen Pharmaceutica NV และบริษัท CureVac ซึ่งวัคซีนที่ถูกพัฒนาขึ้นจากบริษัทเหล่านี้ส่วนใหญ่ได้ผ่านการทดลองทางคลินิกขั้นที่ 3 แล้วและคาดว่าจะมีการเริ่มฉีดวัคซีนจากบางบริษัท เช่น BioNTech-Pfizer  และ Moderna ในสหภาพยุโรปตั้งแต่เดือนมกราคม 2564 หลังจากได้รับการอนุมัติจากองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (European Medicines Agency, EMA) ในเดือนธันวาคม 2563 โดยวัคซีนจากทั้ง 6 บริษัทมีความแตกต่างกันด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่นำมาใช้ในการพัฒนาวัคซีน ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

ความแตกต่างด้านวิทยาการในการพัฒนาวัคซีน

บริษัท Pfizer-BioNTech

บริษัท Pfizer จากสหรัฐอเมริกา ได้ร่วมกับบริษัท BioNTech จากประเทศเยอรมนีได้พัฒนาวัคซีนที่ชื่อว่า BNT162b2 ซึ่งเป็นวัคซีนที่ถูกผลิตขึ้นด้วยเทคโนโลยี mRNA ในรูปแบบ nucleoside-modified mRNA-LNP โดยมีการนำ mRNA ของไวรัส SARS-CoV-2 มาดัดแปลงและทำให้บริสุทธิ์ และนำมาห่อหุ้มด้วยอนุภาคนาโนไขมัน (lipid nanoparticle) โดยสรุป วัคซีนชนิดนี้จะประกอบไปด้วยองค์ประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ 1) mRNA (messenger RNA) ที่จำเพาะต่อโปรตีนหนามของเชื้อไวรัส SAR-CoV-2 ซึ่งโปรตีนตัวนี้มีความสำคัญในการเข้าสู่เซลล์ของระบบทางเดินหายใจ โดยปกติ mRNA มีหน้าที่เป็นแม่พิมพ์ในการสร้างโปรตีน หรือนำข้อมูลทางพันธุกรรมจาก DNA ไปใช้ในการสร้างโปรตีนที่มีความสำคัญ และ 2) อนุภาคนาโนไขมัน (lipid nanoparticle) ที่ใช้ห่อหุ้ม mRNA ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้ mRNA ถูกย่อยสลายจากเอนไซม์ไรโบนิวคลิเอสซึ่งมีอยู่ทั่วร่างกาย

หลักจากที่ฉีดวัคซีน BNT162b2 เข้าไปในร่างกายแล้ว mRNA ซึ่งเป็นชิ้นส่วนของพันธุกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดโรคแทรกซ้อนจะถูกถอดรหัสและนำไปสร้างเป็นโปรตีนที่มีลักษณะเหมือนกับโปรตีนบนหนามของไวรัส ซึ่งโปรตีนนี้จะเข้าไปกระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายสร้างแอนติบอดี้ ที่ใช้ในการต่อสู้กับเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคโควิด-19 ข้อดีของการใช้เทคโนโลยีชนิดนี้ในการพัฒนาวัคซีน คือ สามารถลดขั้นตอนและร่นระยะเวลาจากเดิมได้มาก เพราะการสร้างวัคซีนแบบเก่าจะต้องเพาะเชื้อไวรัสก่อนแล้วทำให้เชื้อนั้นอ่อนแอ ซึ่งถือว่ามีความเสี่ยงที่สูงกว่าและใช้ระยะเวลามากกว่า

นอกจากนี้ mRNA จะสร้างแต่โปรตีนของไวรัส ไม่ได้เป็นสารพันธุกรรมทั้งเส้นของไวรัส ดังนั้นจึงไม่มีโอกาสที่จะสร้างอนุภาคไวรัสที่ติดเชื้อต่อไปได้ ความปลอดภัยของวัคซีนจึงเทียบเท่ากับวัคซีนอื่น ๆ ที่ใช้โปรตีนเป็นแอนติเจน แต่ mRNA อาจจะไปกระตุ้นการสร้างสารจำพวก Interferon ได้ ซึ่งอาจจะมีผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้บ้าง

สำหรับวัคซีนจากบริษัท Pfizer-BioNTech ถือว่ามีจุดเด่น 2 ประการ คือ 1) จากผลการทดลองทางคลินิกพบว่ามีประสิทธิภาพในการยับยั้งการทำงานของไวรัสได้ดีถึงร้อยละ 95 และ 2) สามารถผลิตได้ในจำนวนมากในเวลาไม่นาน แต่ยังมีข้อกังวลในประเด็นที่ว่า mRNA เสียสภาพง่ายดังนั้นจึงต้องมีการจัดเก็บวัคซีน ณ อุณหภูมิที่ต่ำมาก ๆ ในกรณีวัคซีน BNT162b2 ต้องจัดเก็บ ณ อุณหภูมิ -70 องศาเซลเซียส รวมไปถึงก่อนฉีดวัคซีนให้ผู้ป่วยต้องมีการละลายและปรับอุณหภูมิของวัคซีน พร้อมทั้งมีการทำให้เจือจาง นอกจากนี้ยังพบผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนชนิดนี้แต่ถือว่าเป็นอาการที่ไม่รุนแรงและพบได้ทั่วไปจากการฉีดวัคซีน

บริษัท Moderna

บริษัท Moderna จากสหรัฐอเมริกาได้พัฒนาวัคซีนที่ชื่อว่า mRNA-1273 โดยใช้นำ mRNA ของไวรัส SARS-CoV-2 มาดัดแปลงและบรรจุในอนุภาคนาโนไขมัน (lipid nanoparticle) เพื่อพัฒนาเป็นวัคซีนเช่นเดียวกับ บริษัท Pfizer-BioNTech แต่มีใช้ mRNA ในปริมาณสูงกว่า และวัคซีนของบริษัท Moderna มีความคงสภาพที่อุณหภูมิ -20 องศาเซลเซียส

บริษัท CureVac

บริษัท CureVac เป็นบริษัทสัญชาติเยอรมันตั้งอยู่ ณ เมือง Tübingen ได้พัฒนาวัคซีนสำหรับโรคโควิด-19 โดยใช้เทคโนโลยีเดียวกับบริษัท Pfizer-BioNTech และบริษัท Moderna นั่นคือการใช้ mRNA ห่อหุ้มด้วยอนุภาคนาโนไขมัน (lipid nanoparticle)

บริษัท Sanofi-GSK 

บริษัท Sanofi-GSK  ซึ่งเป็นการร่วมมือพัฒนาวัคซีนระหว่าง 2 บริษัท คือ บริษัท Sanofi จากฝรั่งเศส และบริษัท GSK จากสหราชอาณาจักร  ได้ร่วมแบ่งปันเทคโนโลยีเพื่อผลิตวัคซีนป้องกันโรคโควิด โดยบริษัท Sanofi ได้ใช้เทคโนโลยีการตัดต่อดีเอ็นเอสายผสม (recombinant DNA) ซึ่งเป็นการนำโมเลกุลดีเอ็นเอจากสิ่งมีชีวิตที่มีสายพันธุ์แตกต่างกันมาเชื่อมต่อกันเป็นดีเอ็นเอสายเดียวกัน จากนั้นนำมาพัฒนาโปรตีนแอนติเจนที่ชื่อว่า S-protein COVID-19 antigen ซึ่งใช้เป็นสารตั้งต้นในวัคซีน ซึ่งวิธีนี้จะสามารถผลิตสารพันธุกรรมที่ตรงกับโปรตีนบนพื้นผิวของไวรัสอย่างแม่นยำ และสามารถนำมาผลิตเป็นวัคซีนได้อย่างถูกต้องและรวดเร็ว

ในขณะที่บริษัท GSK ได้พัฒนานวัตกรรมของระบบสารเสริมฤทธิ์ประเภทต่าง ๆ โดยสารเสริมฤทธิ์ เป็นสารประกอบที่ใส่ลงในวัคซีนบางชนิดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน ทำให้ภูมิคุ้มกันมีความแข็งแรงและออกฤทธิ์นานกว่าเดิม เพื่อให้ร่างกายสามารถต่อสู้กับการติดเชื้อต่าง ๆ ได้ดีกว่าการใช้วัคซีนเพียงอย่างเดียว การใช้สารเสริมฤทธิ์จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค เพราะช่วยลดปริมาณของแอนติเจนที่ต้องผสมลงในวัคซีน ช่วยให้ผลิตวัคซีนได้เพิ่มขึ้น และทำให้สามารถเข้าถึงผู้คนได้มากขึ้น ซึ่งเทคโนโลยีสารเสริมฤทธิ์นี้เคยถูกนำมาใช้ในการจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่จนเป็นผลสำเร็จมาแล้ว

บริษัท Johnson & Johnson

วัคซีนที่บริษัท Johnson & Johnson ทำการทดลองและพัฒนามีชื่อว่า Ad26.COV2.S โดยวัคซีนดังกล่าวได้ใช้อะดิโนไวรัสเซโรไทป์ 26 (Ad26) เป็นตัวเหนี่ยวนำ ซึ่งสามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่ง โดยสร้างแอนติบอดีที่มีฤทธิ์ลบล้าง ซึ่งสามารถป้องกันการติดเชื้อและสร้างภูมิคุ้มกันจากไวรัสในปอดอย่างสมบูรณ์

บริษัท AstraZeneca และมหาวิทยาลัย Oxford

บริษัท AstraZeneca (กลุ่มบริษัทยาสวีเดน-สหราชอาณาจักร) และมหาวิทยาลัย Oxford ได้พัฒนาวัคซีนที่ชื่อว่า ChAdOx1 nCoV-19 ในการทดลอง วัคซีนชนิดนี้เป็นวัคซีนที่พัฒนาขึ้นจากเชื้ออะดิโนไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคหวัดในชิมแปนซี ที่ถูกนำมาดัดแปลงพันธุกรรมจนไม่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อในมนุษย์ได้ และทำให้มีลักษณะคล้ายเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่

ความแตกต่างด้านคุณลักษณะอื่น ๆ

นอกจากนี้วัคซีนจากทั้ง 6 บริษัทยังมีความแตกต่างในประเด็นประสิทธิภาพการทำงาน จำนวนโดสที่ฉีด อุณหภูมิการจัดเก็บ และราคา ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

 

Pfizer-BioNTech

Moderna

AstraZeneca และมหาวิทยาลัย Oxford

CureVac

Sanofi-GSK

Johnson & Johnson

ชนิดวัคซีน

mRNA

mRNA

อะดิโนไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคหวัดในชิมแปนซี

mRNA

S-protein COVID-19 antigen ที่ได้จากการตัดต่อดีเอ็นเอสายผสม (recombinant DNA) และ การใช้สารเสริมฤทธิ์

อะดิโนไวรัสเซโรไทป์ 26 (Ad26)

สถานะการทดสอบทางคลินิกกับมนุษย์

ขั้นที่ 3

ขั้นที่ 3

ขั้นที่ 3

ขั้นที่ 3 (สิ้นสุดในปลายปี 2563)

ขั้นที่ 1/2

ขั้นที่ 3

ประสิทธิภาพการต้านไวรัส

95%

94.5%

70%

ยังไม่มีการเผยแพร่ผลการทดสอบอย่างเป็นทางการ

ยังไม่มีการเผยแพร่ผลการทดสอบอย่างเป็นทางการ

ยังไม่มีการเผยแพร่ผลการทดสอบอย่างเป็นทางการ

จำนวนโดสที่ต้องฉีด/คน

2 โดส

2 โดส

2 โดส

1 หรือ 2 โดส

1 หรือ 2 โดส

1 หรือ 2 โดส

อุณหภูมิการจัดเก็บ

-70 oC แต่เก็บภายใต้อุณหภูมิ 2-8 °C ได้เป็นเวลาแค่ 5 วัน

-20 °C นาน 6 เดือน หรืออุณหภูมิ 2-8 °C ได้เป็นเวลา 30 วัน

อุณหภูมิ 2-8 °C ได้เป็นเวลา 6 เดือน

อุณหภูมิ 2-8 °C ได้เป็นเวลา 3 เดือน

อุณหภูมิ 2-8 °C

อุณหภูมิ 2-8 °C

ราคาต่อโดส

12 ยูโร

20-30 ยูโร

3 ยูโร

10 ยูโร

8 ยูโร

7 ยูโร

จำนวนโดสที่สั่งซื้อโดยสหภาพยุโรป

200 ล้านชุด (แผนซื้อเพิ่มเติมอีก 100 ล้านชุด)

80 ล้านชุด (แผนซื้อเพิ่มเติมอีก 80 ล้านชุด)

300 ล้านชุด (แผนซื้อเพิ่มเติมอีก 100 ล้านชุด)

225 ล้านชุด (แผนซื้อเพิ่มเติมอีก 180 ล้านชุด)

300 ล้านชุด

200 ล้านชุด

(แผนซื้อเพิ่มเติมอีก 200 ล้านชุด)

 

สถานะล่าสุดและแผนการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน

ตอนนี้จากทั้งหมด 6 บริษัทที่สหภาพยุโรปทำข้อตกลงซื้อขายวัคซีน มีเพียงแค่ 2  คือ บริษัท Pfizer-BioNTech และ บริษัท Moderna ที่ยื่นขออนุมัติวัคซีนให้ใช้ในกรณีฉุกเฉินกับองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (European Medicines Agency - EMA) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 วัคซีนของบริษัท Pfizer-BioNTech ได้รับอนุมัติจากการประเมินโดยองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) เรียบร้อยแล้ว และจะเป็นวัคซีนตัวแรกที่จะใช้ในยุโรป โดยจะเริ่มมีการฉีดวัคซีนของบริษัท Pfizer-BioNTech ทั่วสหภาพยุโรปพร้อมกันตั้งแต่ช่วงวันที่ 27-29 เดือนธันวาคม 2563 โดยบริษัท BioNTech สัญชาติเยอรมนีได้รับงบสนับสนุนส่วนหนึ่งจากสหภาพยุโรปในการวิจัยและพัฒนาวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในขณะที่วัคซีนของบริษัท Moderna คาดว่าจะเริ่มฉีดให้แก่ประชาชนในเดือนมกราคม 2564 นอกจากนี้บริษัท Pfizer-BioNTech ยังได้รับการอนุมัติจากทางรัฐบาลสหราชอาณาจักรไปเรียบร้อยแล้ว และเริ่มมีการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชนในรัฐบาลสหราชอาณาจักรแล้วตั้งแต่ช่วงต้นเดือนธันวาคม 2563 โดยวัคซีนได้มาจากโรงงานของบริษัท Pfizer-BioNTech ที่ตั้งอยู่ในเมือง Puurs ประเทศเบลเยียม แต่ยังมีข้อกังวลเกี่ยวกับระยะเวลาการขนส่งวัคซีนโดนรถบรรทุก เนื่องจากหลังจากวันที่ 31 ธันวาคม  2563 สหราชอาณาจักรจะออกจากสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ ทำให้ต้องมีการตรวจสินค้าที่ผ่านเข้าออกชายแดนระหว่างเบลเยียมและสหราชอาณาจักร จึงจะทำให้เกิดการจราจรติดขัดและอาจจะต้องเสียเวลานานในการรอ ด้วยเหตุนี้บริษัท Pfizer-BioNTech จึงมีแผนที่จะขนส่งวัคซีนโดยเครื่องบินไปยังสหราชอาณาจักร

สำหรับการฉีดวัคซีนให้แก่ประชาชน หลาย ๆ ประเทศในยุโรปมีการประกาศแผนการฉีดวัคซีนมาแล้วว่าจะให้สิทธิแก่ผู้อาศัยและเจ้าหน้าที่ในบ้านพักคนชรา รวมทั้งอาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ที่สัมผัสกับบุคคลดังกล่าว เจ้าหน้าที่ในเช่น โรงพยาบาลแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุขและที่ทำงานเกี่ยวกับครอบครัวและสังคม (อาจรวมถึงครูด้วย) บุคคลอายุ 65 ปีขึ้นไป และ บุคคลอายุระหว่าง 45-65 ปีที่มีโรคประจำตัว ตามลำดับ ตามมาด้วย ผู้ที่มีอาชีพที่มีความจำเป็นต่อการรักษาความสงบเรียบร้อยและปลอดภัย (เช่น ตำรวจ พนักงานดับเพลิง พนักงานทำความสะอาดหรือเก็บขยะ เป็นต้น) โดยมีการตั้งเป้าไว้ว่าร้อยละ 70 ของประชากรจะต้องได้รับการฉีดวัคซีนภายในฤดูร้อน (กรกฎาคม-สิงหาคม) ปี 2564

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการฉีดวัคซีน

หลักจากมีการฉีดวัคซีนของบริษัท Pfizer-BioNTech ให้กับชาวอังกฤษเป็นรายแรกของโลก ต่อมาในวันที่ 8 ธันวาคม 2563 บริษัท Pfizer-BioNTech ได้มีการเผยแพร่รายงานซึ่งมีข้อมูลว่าด้วยเรื่องประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของการฉีดวัคซีนรวมอยู่ด้วย โดยในรายงานระบุว่าประสิทธิภาพของวัคซีนมีความแตกต่างเพียงเล็กน้อยตามอายุและชาติพันธุ์ โดยพบว่าประสิทธิภาพของวัคซีนในกลุ่มคนผิวดำสูงถึงร้อยละ 100 ขณะที่ในกลุ่มผู้สูงอายุมากกว่า 55 ปี ประสิทธิภาพของวัคซีนอยู่ที่ร้อยละ 94 และกลุ่มที่มีโรคประจำตัว ประสิทธิภาพของวัคซีนอยู่ที่ร้อยละ 95 เป็นต้น

ในประเด็นผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนพบว่า อาการที่เกิดขึ้นอยู่ในระดับปานกลางและไม่รุนแรง โดยส่วนใหญ่กลุ่มอาการที่พบ ได้แก่ ความเจ็บปวด ณ บริเวณที่ถูกฉีดยา (ร้อยละ 84) อาการง่วงและอ่อนเพลีย (ร้อยละ 63)  ปวดหัว (ร้อยละ 55)  อาการหนาวสั่น (ร้อยละ 32)  อาการปวดตามข้อต่อ (ร้อยละ 24)  และมีไข้ (ร้อยละ 14)  เป็นต้น โดยอาการเหล่านี้จะหายไปเองในเวลา 1-2 วัน นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ป่วย 4 รายที่ได้รับวัคซีนที่มีอาการอัมพาตในกล้ามเนื้อบางส่วนของใบหน้า ซึ่งอยู่ในระหว่างการตรวจสอบว่ามีสาเหตุมาจากวัคซีนหรือไม่ และในรายงานได้บ่งชี้ว่าผู้สูงอายุมีโอกาสได้รับผลข้างเคียงจากวัคซีนน้อยกว่าผู้ที่มีอายุน้อยกว่า โดยเบื้องต้นผู้เชี่ยวชาญบางท่านคิดว่าการพบผลข้างเคียงในระดับที่ไม่รุนแรงถือเป็นสัญญาณที่ดี เพราะผลข้างเคียงดังกล่าวอาจแสดงให้เห็นว่าวัคซีนนั้นกำลังทำงานและออกฤทธิ์ได้จริง

นอกจากนี้ยังพบว่ามีผู้ที่ได้รับวัคซีนของบริษัท Pfizer-BioNTech ในสหราชอาณาจักร เกิดอาการแพ้เป็นจำนวน 2 ราย แต่ได้หายเป็นปกติแล้ว ซึ่งสันนิฐานว่าอาจมีสารบางอย่างในวัคซีนที่ทำหน้าที่เป็นสารก่อภูมิแพ้ในกลุ่มบุคคลที่มีอาการแพ้ยาหรืออาหารบางประเภท โดยทั่วไปอาการของการแพ้วัคซีนจะประกอบด้วย การเกิดผื่นคันที่ผิวหนัง มีอาการหายใจถี่ และใบหน้าหรือลิ้นบวม ด้วยเหตุนี้องค์กรกำกับดูแลยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพของสหราชอาณาจักร (Medicines and Healthcare products Regulatory Agency, MHRA) จึงได้ออกประกาศแนวทางการฉีดวัคซีนฉบับใหม่ให้แก่บุคลลากรทางการแพทย์ โดยมีคำแนะนำว่าผู้ที่มีประวัติแพ้วัคซีน ยา หรืออาหารแล้วมีอาการตอบสนองรุนแรง หรือผู้ได้รับคำแนะนำจากแพทย์ให้ใช้เครื่องฉีดอะดรีนาลีนแบบพกพา ไม่ควรได้รับวัคซีนของบริษัท Pfizer-BioNTech เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแพ้ชนิดรุนแรงได้

บริษัท Pfizer-BioNTech มีแผนที่จะศึกษาและติดตามอาการของผู้ที่ได้รับวัคซีนเป็นเวลา 2 ปี เพื่อประเมินถึงผลข้างเคียงและประสิทธิภาพของวัคซีน ว่าสามารถป้องกันผู้ที่ได้รับวัคซีนจากการติดเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ได้เป็นระยะเวลานานเท่าใด และจำเป็นต้องฉีดวัคซีนซ้ำ ณ เวลาไหน

 

ที่มา : สำนักงานที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ ,
          สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

https://www.fiercepharma.com/pharma/despite-pfizer-s-high-efficacy-expectations-other-covid-vaccines-may-have-a-logistics-edge

https://ec.europa.eu/commission/presscorner/detail/en/ip_20_2200

https://www.biospace.com/article/comparing-covid-19-vaccines-pfizer-biontech-moderna-astrazeneca-oxford-j-and-j-russia-s-sputnik-v/

https://www.vrt.be/vrtnws/nl/2020/11/24/overzicht-vaccincontracten/

https://ec.europa.eu/info/sites/info/files/research_and_innovation/research_by_area/documents/ec_rtd_cv-projects.pdf

https://www.wsj.com/articles/takeaways-from-the-pfizer-biontech-vaccine-reports-11607449550

เลขาฯ ดวงฤทธิ์ พบผู้บริหาร Uninet : มอบนโยบายการดำเนินงาน อว. เผยไบเดนยกเครื่องนโยบายเรื่องโควิด ฟื้นความไว้วางใจของคนอเมริกัน เร่งฉีดวัคซีน ใส่หน้ากากอนามัย เพิ่มบทบาทนำในเวทีนานาชาติและเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต พร้อมเซ็นคำสั่ง 12 ฉบับรวด
  • อว. ร่วมกับ สกสว. หารือนักวิจั ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    อว. ร่วมกับ สกสว. หารือนักวิจัย "การแพทย์และสาธารณสุข" ปลดล็อกข้อจำกัด เพิ่มประสิทธิภาพงานวิจัยรับมื...
    03 Sep 2021
    อว. ส่งมอบนวัตกรรมให้เครือข่าย ...
    ข่าวรัฐมนตรี
    อว. ส่งมอบนวัตกรรมให้เครือข่าย รพ. กลุ่มสถาบันแพทย์ รับมือโควิด-19
    22 Jan 2021
    รมว.อว. เป็นประธานเปิดการประชุ ...
    ข่าวรัฐมนตรี
    รมว.อว. เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการด้านอิสลามศึกษาและมุสลิมศึกษาระดับชาติ ครั้งที่ 6 พร้อมกล่าวปา...
    02 Dec 2021
    ดูทั้งหมด >

เรื่องล่าสุด

“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. ม ...
ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. มอบวุฒิบัตรและปิดการฝึกอบรม "หลักสูตรการบริหารงานอุดมศึกษาสายสนับสนุนระ...
16 May 2025
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไทยด้วยกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)“ ผลักดันกำลังคนสมรรถนะ...
16 May 2025
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบับที่ 2 รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ผลักดันเทคโนโลยีสู้วิก...
15 May 2025

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.