กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
  • ข่าวสารหน่วยงาน

ใบยา ไฟโตฟาร์ม สตาร์ทอัพสัญชาติไทย เผยความก้าวหน้าการผลิตวัคซีนโควิด-19 พร้อมทดสอบในมนุษย์เฟส 1 สิ้นเดือนกันยายนนี้ ชี้ไทยมีศักยภาพและโครงสร้างพื้นฐานที่ดี เห็นโอกาสเติบโตของอุตสาหกรรมการผลิตยาในอนาคต

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
09 Sep 2021

1

          สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) จัดรายการพูดคุยผ่านช่องทางออนไลน์ ถึงการเตรียมความพร้อมให้กับประเทศไทยรับมือกับเทรนด์การเปลี่ยนแปลงในอนาคต เพื่อมองหาและสร้างโอกาสให้กับประเทศผ่านการแลกเปลี่ยนมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ตรง ในรายการ Future Talk by NXPO ครั้งที่ 4 พูดคุยในประเด็น “ความก้าวหน้าการพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ของบริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติไทยด้วยกลไกการบ่มเพาะจากสถาบันอุดมศึกษา” ได้รับเกียรติจาก ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา เตชคุณวุฒิ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย Co-founder และ CEO บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด และ รศ.ดร.วรัญญู พูลเจริญ Co-founder และ Chief Technology Officer (CTO) บริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัด มาร่วมพูดคุย ดำเนินรายการโดย ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการ สอวช.

2

         รศ.ดร.วรัญญู เล่าถึงแนวทางการผลิตวัคซีนของบริษัท ใบยาฯ ด้วยการใช้เทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ จากการผลิตเฉพาะโปรตีน หรือชิ้นส่วนของไวรัสที่สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ ที่เรียกว่าซับยูนิตวัคซีนหรือโปรตีนวัคซีน โดยบริษัทฯ ใช้พืชทั้งต้นจากต้นยาสูบ พันธุ์ที่มีปริมาณนิโคตินต่ำในการผลิต ด้วยการปลูกพืชขึ้นมาและทำการส่งถ่ายยีนส์เฉพาะชิ้นส่วนที่สามารถนำไปเป็นโปรตีนของไวรัสที่ต้องการได้ ซึ่งจุดเริ่มต้นของการตั้งบริษัท เกิดจากการที่เรียนจบด้านวิทยาศาสตร์ และได้มาเป็นอาจารย์ที่คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาฯ เริ่มมองเห็นว่าเด็กที่จบในสายนี้ไปไม่มีใครทำงานในด้านการพัฒนายา จึงคิดว่าน่าจะเป็นสิ่งที่ดีหากสามารถเริ่มพัฒนาวัคซีนหรือยาใหม่ๆ ได้เองในประเทศตั้งแต่ต้นน้ำ เช่นเดียวกับ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา ที่เรียนจบด้านเศรษฐศาสตร์สาธารณสุข เกี่ยวกับนโยบายประกันสุขภาพ และการเข้าถึงยา ทำให้เห็นว่าประเทศไทยมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า แต่ประชาชนยังไม่สามารถเข้าถึงยาที่มีราคาแพงได้ ดังนั้นหากสามารถผลิตยาได้เอง ก็น่าจะเป็นการสร้างอุตสาหกรรมใหม่ให้ประเทศ ทำให้ประเทศมีเงินเยอะขึ้น และทำให้คนไทยเข้าถึงยาได้มากขึ้น

34

         “ความจริงแล้วประเทศไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ผลิตวัคซีนได้เมื่อหลายสิบปีก่อน แต่เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีค่อนข้างสูงในเวลาต่อมา ทำให้มีระยะหนึ่งที่เราอาจจะตามประเทศอื่นไม่ทัน แต่โครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ในประเทศไทยยังคงมีอยู่ และยังมีศักยภาพจากการลงทุนในการวิจัยและการพัฒนาที่เกิดขึ้นมาเป็นเวลานานในประเทศ ซึ่งบริษัทฯ ก็ได้ใช้โครงสร้างพื้นฐานเหล่านั้นในการช่วยพัฒนาวัคซีน และเตรียมพร้อมรับการระบาดในครั้งถัดไป โดยวัคซีนโควิด-19 ที่ผลิตขึ้นกำลังจะนำเข้าทดสอบในมนุษย์ระยะที่ 1 ในช่วงสิ้นเดือนกันยายนนี้ ซึ่งในปัจจุบันเรามีโรงงานผลิตวัคซีนและยาชีววัตถุด้วยพืชที่ได้มาตรฐานแล้วที่จะใช้ผลิตสำหรับมนุษย์เป็นแห่งแรกในเอเชีย ในขณะเดียวกันก็ได้มีการเตรียมวัคซีนรุ่นที่ 2 ที่มีการปรับสูตร ที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีขึ้น ซึ่งต้องรอดูผลการศึกษาในเฟส 1 เพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงต่อไป โดยคาดหวังว่าประมาณไตรมาส 3 ปี 2565 จะมีวัคซีนฉีดให้คนไทยได้ ซึ่งถือว่าเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมยาและวิทยาศาสตร์ของไทย” ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา กล่าว

5

         สำหรับความท้าทายในการเริ่มจัดตั้งบริษัทฯ และเริ่มดำเนินการผลิตวัคซีนจริง ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา กล่าวว่า การผลิตวัคซีนขึ้นมาแต่ละตัวต้องอาศัยการทำงานแบบสหวิชาชีพ ถึงแม้จะมีนักวิทยาศาสตร์ในทีมแล้ว ขณะเดียวกันก็ยังต้องการองค์ความรู้ในการผลิตระดับอุตสาหกรรม ความรู้เรื่องเภสัชกรรม การผลิต การประกันคุณภาพ รวมถึงการออกแบบการศึกษาในสัตว์ทดลอง เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายในการขึ้นทะเบียนวัคซีนเพื่อการนำไปใช้จริง ในการทำงานจึงต้องมีคนจากหลากหลายสาขาเข้ามาทำงานร่วมกัน ขณะที่ รศ.ดร.วรัญญู เผยว่า การได้เริ่มตั้งบริษัทฯ ผลิตวัคซีนขึ้นเอง ทำให้มองระบบการทำงานต่างไปจากเดิม หันมาให้ความสำคัญกับการเตรียมพร้อมการทำวิจัยก่อนการผลิตจริง ทำให้เริ่มทำการวิจัยตั้งแต่ต้นน้ำได้ดียิ่งขึ้น

6

         อย่างไรก็ตาม ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท ใบยาฯ ทั้ง 2 ท่าน ยังคงทำหน้าที่เป็นอาจารย์ควบคู่ไปกับการทำบริษัทสตาร์ทอัพ โดยต้องใช้การผสมผสานการทำงานเข้าด้วยกัน ด้วยการให้นิสิตที่สอนได้เข้ามาทดลองในห้องปฏิบัติการ พัฒนายาและวัคซีนในบริษัทฯ นำโปรเจกต์มาเสนอกับบริษัทฯ ซึ่งเป็นแนวทางที่ช่วยให้เด็กได้ลองทำจริง และอาจารย์เองได้นำไปประยุกต์ใช้ในการสอน ทำให้วันนี้นิสิต นักศึกษาเริ่มเห็นเส้นทางอาชีพในสายไบโอเทคสตาร์ทอัพมากขึ้น เมื่อจบไปอาจไปทำให้เกิดสตาร์ทอัพอื่นๆ ในประเทศได้มากขึ้น จากประสบการณ์จริงที่เด็กได้รับระหว่างเรียน

7

         ในด้านการระดมทุนของบริษัท ใบยาฯ ผศ.ภญ.ดร.สุธีรา กล่าวว่า แนวคิดการระดมทุนเป็นวิธีการเพื่อให้ไปถึงเป้าหมายที่เราต้องการ โดยเงินก้อนแรกมาจากเงินทุนส่วนตัวของเรา 2 คนที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้งตั้งแต่เริ่มตั้งบริษัท และมีการสนับสนุนห้องปฏิบัติการจากมหาวิทยาลัย ต่อมาเมื่อมีผลงานที่คนเริ่มให้ความสนใจก็ได้มีการระดมทุนในหลากหลายรูปแบบทั้งจากภาคเอกชนและภาคประชาชน เพราะการผลิตยาตัวนึงใช้เงินค่อนข้างมาก ซึ่งวิธีการระดมทุนเป็นวิธีเพื่อให้สามารถทำงานวิจัยในช่วงที่เร่งด่วนได้อย่างรวดเร็วอย่างในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 นอกจากนี้ยังมีการทำ Crowdfunding ผ่านมูลนิธิของมหาวิทยาลัย หรือ CU Enterprise รวมถึงได้ทุนสนับสนุนจากภาครัฐในการทำ Critical Try ในการทดลองเฟส 1 และคาดว่าจะได้รับทุนต่อเนื่องในเฟสที่ 2-3 ต่อไปด้วย เพื่อให้บริษัทฯ มีการเติบโตได้อย่างมั่นคงต่อไป

         เมื่อมองถึงการเติบโตในอนาคต รศ.ดร.วรัญญู กล่าวว่า บริษัทฯ ยังมีผลิตภัณฑ์ตัวยาและวัคซีนอีกหลายอย่างที่อยากทำ และถ้าเราเริ่มทำตัวแรกได้ ก็จะพัฒนายาหรือวัคซีนตัวอื่นได้ต่อไป เพื่อมารองรับการรักษาโรคอีกมากมายที่บริษัทใหญ่ยังไม่ได้ผลิตขึ้น แต่เราต้องผลิตได้เองตั้งแต่ต้นน้ำ และเมื่อทำไปอย่างต่อเนื่อง มั่นคง มีประสบการณ์มากขึ้น ถ้าเกิดโรคระบาดขึ้นอีกในอนาคต เราก็จะสามารถผลิตวัคซีนที่มีประสิทธิภาพได้ดี รวดเร็วและมีปริมาณมากขึ้น หากเราสามารถนำเข้าควบคู่ไปกับการผลิตเองด้วย คนไทยก็จะเข้าถึงยาหรือวัคซีนที่มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น คิดว่าระบบที่สร้างขึ้นนี้ จะช่วยสร้างความมั่นคงทางสุขภาพในประเทศเราและประเทศในภูมิภาคของเราให้ดีขึ้นได้ต่อไป

         เมื่อถามว่าบริษัท ใบยาฯ มีความฝันว่าจะพัฒนาไปให้เทียบเท่ากับบริษัทยักษ์ใหญ่ อย่างไฟเซอร์ หรือบริษัทยาชั้นนำอื่นๆ หรือไม่ ดร.สุธีรา กล่าวว่า ทุกครั้งที่ทำงานมีการตั้งเป้าหมายที่สูงไว้เพื่อไปให้ถึง อย่างน้อยก็ได้เริ่มทำโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เห็นว่าคนไทยทำได้ และประเทศไทยยังมีความหวัง เหมือนโครงสร้างของคนรุ่นก่อนที่ทำมาเพื่อเป็นพื้นฐานที่ดีให้กับเราในปัจจุบัน ถ้าเราสร้างพื้นฐานที่ดีขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง ก็จะทำให้ลูกหลานของเราในรุ่นต่อไปพัฒนาสร้างความมั่นคงให้กับประเทศไปได้ไกลกว่านี้

         ดร. กิติพงค์ ได้กล่าวปิดท้ายถึงการทำงานของ สอวช. ที่ได้มีส่วนในการอำนวยความสะดวก สร้างให้เกิดระบบนิเวศที่ดีในการดำเนินการเหล่านี้ โดยเฉพาะการผลักดันแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ เช่น แนวทางส่งเสริมการลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน, การส่งเสริมการจัดตั้ง Holding Company ในมหาวิทยาลัย รวมถึงกฎหมายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. …. นอกจากนี้ ยังร่วมกันกับ Innovation Club ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยขับเคลื่อนเรื่องสตาร์ทอัพ หาแนวทางแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้สามารถทำงานและระดมทุนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ซึ่งการพูดคุยในครั้งนี้ สอวช. จะเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้ เพื่อมองหาโอกาสสำหรับประเทศไทย ในการต่อยอดในเชิงนโยบาย เพื่อสร้างให้เกิดโอกาสกับคนรุ่นใหม่ โดยเฉพาะในสายวิทยาศาสตร์ ให้มีเส้นทางเดินต่อในสายอาชีพในอนาคต

8

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
สอวช. ถกกลุ่มนโยบายรัฐ เอกชน หาคานงัดสำคัญสร้างระบบนิเวศเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียนให้เกิดขึ้นในไทย Khon Kaen Business Forum “The VIRTUAL Event”
  • NIA เสิร์ฟพลังความคิดสร้างสรรค ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    NIA เสิร์ฟพลังความคิดสร้างสรรค์ กระตุ้นแรงบันดาลใจในงาน ร้อยคนไทยหัวใจนวัตกรรม 2
    01 Sep 2021
    วว. ได้รับรางวัลดีเด่น Thailan ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    วว. ได้รับรางวัลดีเด่น Thailand Energy Awards 2020 ด้านผู้ส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน & พลังงานทดแทน ...
    18 May 2021
    อว. จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ แล ...
    ข่าวรัฐมนตรี
    อว. จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และถวายพวงมาลัยสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ ร.4 เนื่องในโอกาส "ครบรอบ 3 ปี...
    02 May 2022
    ดูทั้งหมด >

เรื่องล่าสุด

“ศุภมาส” เอาจริงแก้ปัญหานักศึก ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” เอาจริงแก้ปัญหานักศึกษาต่างชาติหนีมาทำงานในไทย ออกประกาศคุมเข้ม “หลักสูตรระยะสั้น (Non-degr...
15 May 2025
“เพชรดาว” ที่ปรึกษา รมว. อว. เ ...
ข่าวรัฐมนตรี
“เพชรดาว” ที่ปรึกษา รมว. อว. เปิดการประชุมวิชาการ ปขมท. 2568 ขับเคลื่อน AI ยกระดับสถาบันอุดมศึกษาไทย...
15 May 2025
“ศุภชัย” ผู้ช่วย รมว. อว. ลงพื ...
ข่าวรัฐมนตรี
“ศุภชัย” ผู้ช่วย รมว. อว. ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานขับเคลื่อนงานด้าน อววน. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต หนุ...
15 May 2025

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.