กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
  • ข่าวสารหน่วยงาน

สอวช. - บพค. - มจธ. เปิดหลักสูตรเฉพาะระยะสั้นด้านนโยบาย อววน. ดึงนักวิชาการเสริมความรู้แนวทางการทำนโยบายอุตสาหกรรม สร้างขีดความสามารถภาครัฐ ขับเคลื่อนเอกชนสู่การแข่งขันในระดับโลก

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
14 Sep 2021

1

          สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมกับหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.) และสถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STIPI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) จัดอบรมหลักสูตรระยะสั้น เฉพาะทางด้านนโยบายวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผ่านระบบออนไลน์ ระหว่างวันที่ 6-23 กันยายน 2564 เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อววน.) ได้มีโอกาสรับทราบนโยบายและมาตรการ รวมถึงกลไกที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาระบบ อววน. และร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ทรงคุณวุฒิ และผู้เข้าร่วมอบรมจากหน่วยงานต่างๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการทำงาน และการสร้างเครือข่ายในการทำงานในอนาคต สำหรับการอบรมวันแรกในหลักสูตรการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (Technology and Innovation Management)ได้รับเกียรติจาก ดร. แบ๊งค์ งามอรุณโชติ STIPI มจธ. เป็นผู้บรรยายในหัวข้อ “นโยบายอุตสาหกรรมเพื่อการไล่กวดทางเทคโนโลยีสำหรับประเทศกำลังพัฒนา (Industrial Policy for Technology Catching-up in Developing Countries)” มีผู้เข้าร่วมการอบรมกว่า 60 คน

2

         ดร. แบ๊งค์ เริ่มการบรรยายด้วยการให้นิยามของนโยบายอุตสาหกรรมว่า เป็นนโยบายที่รัฐทำขึ้นเพื่อที่จะส่งเสริมอุตสาหกรรมอย่างเฉพาะเจาะจง สนับสนุนอุตสาหกรรมบางอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ ผ่านมาตรการต่างๆ ที่เฉพาะเจาะจงตามสาขาของอุตสาหกรรมนั้นๆ ซึ่งรัฐต้องเป็นผู้ขับเคลื่อน และเข้าไปมีส่วนร่วมในเชิงรุก โดยการทำนโยบายอุตสาหกรรมนั้นจะให้ความสำคัญมากกว่าเรื่องการสร้างโครงสร้างพื้นฐาน หรือการทำสินค้าและบริการแบบสาธารณะทั่วไป แต่จะลงไปในระดับหน่วยผลิตหรือกลุ่มบริษัทต่างๆ เพื่อมุ่งเน้นให้กลุ่มคนเหล่านั้นมีขีดความสามารถในการผลิต การแข่งขันและการจำหน่ายที่สูงขึ้น จนกลายเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการเติบโตของประเทศในที่สุด

3

         เมื่อพูดถึงความจำเป็นในการทำนโยบายอุตสาหกรรมของรัฐ ในบริบทการพัฒนาเศรษฐกิจ แบ่งออกได้เป็น 5 ข้อหลัก ได้แก่ 1) การขับเคลื่อนอุตสาหกรรมต้องการความร่วมมือของผู้เล่นที่หลากหลาย ถ้ารัฐเข้ามาทำนโยบายอุตสาหกรรมเป็นคนกลางก็จะทำให้การประสานความร่วมมือเหล่านั้นทำได้ราบรื่น รวดเร็วและมีโอกาสสำเร็จมากขึ้น 2) การที่ภาคเอกชนในอุตสาหกรรมหนึ่งจะขึ้นมาทำการผลิต มีความสามารถทางการแข่งขัน จนเป็นหัวจักรทางเศรษฐกิจที่สำคัญให้กับประเทศได้ต้องใช้เวลาในการสั่งสมขีดความสามารถ ในช่วงแรกรัฐจึงต้องเข้ามาช่วยสนับสนุน เพื่อให้บริษัทเติบโตต่อไปได้ 3) ความเสี่ยงเรื่องของความไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในหลายรูปแบบ เช่น การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี ที่ทำให้เราต้องเริ่มต้นเรียนรู้ใหม่ จึงเป็นข้อเสนอทางทฤษฎีว่าการทำนโยบายอุตสาหกรรมจะเข้ามาช่วยในการสนับสนุนภาคเอกชนได้ 4) จากการถอดบทเรียนพบว่าหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนถึงปัจจุบัน ประเทศที่ประสบความสำเร็จโดยวัดจากการเติบโตทางเศรษฐกิจ จนกลายเป็นประเทศพัฒนาแล้ว มีรายได้สูงและมีเทคโนโลยีสูง ล้วนแต่เป็นประเทศที่ทำนโยบายอุตสาหกรรม และ 5) แม้แต่ประเทศโลกเสรีอย่างสหรัฐอเมริกา ที่ในยุค 80-90 เลือกที่จะไม่ทำนโยบายอุตสาหกรรม แต่เมื่อไปดูกลไกการทำงานจริงพบว่ามีการใช้นโยบายอุตสาหกรรมแบบหลบซ่อน เนื่องจากมีการจัดตั้งหน่วยงานเฉพาะของรัฐ ที่เข้ามาสนับสนุนห้องปฏิบัติการวิจัยในการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ และใส่เงินลงมาสนับสนุนนวัตกรรมเหล่านั้น เพื่อจะผลักดันออกสู่ตลาดอย่างเป็นระบบ นโยบายอุตสาหกรรมในอเมริกาจึงเปลี่ยนจากการหลบซ่อนมาสู่การทำอย่างเปิดเผยมากขึ้นในปัจจุบัน

         ขณะเดียวกันในมุมของกลุ่มที่โต้แย้งการทำนโยบายอุตสาหกรรม ส่วนแรกเสนอว่า การทำนโยบายอุตสาหกรรม ควรเริ่มจากเรื่องทั่วไป เป็นกลาง และไม่ลำเอียงก่อน เพื่อไม่ให้มีผู้ได้รับประโยชน์แบบพิเศษในบางอุตสาหกรรมเหนือกว่าผู้เล่นคนอื่น โดยหันไปลงทุนเรื่องระบบการศึกษา โครงสร้างพื้นฐาน การวิจัยและพัฒนา เป็นต้น แต่ข้อเสนอนี้ถูกปฏิเสธโดยนักวิชาการหลายคนที่มองว่า แม้แต่โครงสร้างพื้นฐานหรือการศึกษาก็ล้วนแล้วแต่สร้างผลกระทบและลำเอียงต่อบางอุตสาหกรรมเสมอ ดังนั้นควรให้ความสำคัญกับการตัดสินใจที่ชัดเจน การมีหลักการที่ดี และมีความรับผิดชอบต่อผลที่ตามมาให้ชัดเจนมากกว่า ในส่วนที่สอง เป็นข้อโต้แย้งในด้านความล้มเหลวของภาครัฐ นักวิชาการที่ไม่เห็นด้วยกับบทบาทของรัฐในการทำนโยบายอุตสาหกรรมมองว่า รัฐอาจมีขีดความสามารถไม่พอที่จะทำนโยบายอุตสาหกรรม และเมื่อไม่มีขีดความสามารถที่จะทำก็จะล้มเหลวในการขับเคลื่อนนโยบาย ในส่วนนี้เป็นข้อโต้แย้งที่สามารถรับฟัง เพื่อนำมาออกแบบนโยบายอุตสาหกรรมให้รัดกุม มีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลมากขึ้น ลดโอกาสเกิดความล้มเหลวของรัฐหรือปัญหาด้านธรรมาภิบาลให้น้อยลง

4

         โดยการออกแบบนโยบายอุตสาหกรรมในหลายระดับ เพื่อลดปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากข้อโต้แย้งข้างต้นนั้นมี 3 ระดับด้วยกัน ระดับแรก คือ State Capacity การจะทำนโยบายอุตสาหกรรมให้ประสบความสำเร็จรัฐต้องมีขีดความสามารถสูงเพียงพอ โดยทั่วไปแล้วหมายถึง 5 มิติ ได้แก่ 1) ขีดความสามารถในการสร้างเครือข่าย ช่วยทำให้ภาคเอกชนซึ่งเป็นผู้ผลิตหลักในแต่ละอุตสาหกรรมสามารถผลิตได้เก่งขึ้น รัฐต้องสร้างเครือข่ายที่จะเข้าไปสนับสนุน 2) ขีดความสามารถในการคิดนโยบาย รัฐต้องมีคลังสมองเป็นของตัวเอง มองขาดในอุตสาหกรรมที่อยากเข้าไปสนับสนุน มีข้อมูลที่จะสามารถสร้างนโยบายสนับสนุนอุตสาหกรรมนั้นได้ 3) มีขีดความสามารถในการขับเคลื่อนนโยบาย มีความเข้มแข็งพอที่จะผลักดันนโยบายไปได้ 4) มีขีดความสามารถในการปรับนโยบายได้อย่างรวดเร็ว เมื่อทำผิดพลาด และยังสามารถทำงานต่อไปได้ และ 5) ขีดความสามารถในการธำรงเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการเมือง เพราะภาพรวมของประเทศมีผลอย่างมากต่อความเร็วในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมรายสาขา

         ระดับที่สอง คือ Institutional Setting หรือการออกแบบเชิงสถาบันที่ทำให้การทำนโยบายอุตสาหกรรมสามารถทำได้อย่างเหมาะสม ในหลายประเทศที่ทำนโยบายอุตสาหกรรม ใช้การขับเคลื่อนผ่านหน่วยงานที่มีลักษณะครอบคลุมในระดับหนึ่งคือ จัดการทั้งด้านการวิจัย กำลังคน งบประมาณ เป็นหน่วยงานกลางที่ดูประเด็นภาพรวม และขับเคลื่อนด้วยเครื่องมือต่างๆ อย่างรอบด้าน องค์กรที่มีขีดความสามารถสูงในภาครัฐ ซึ่งสามารถจะทำนโยบายอุตสาหกรรมได้ เรียกว่าเป็น Pockets of Competence (POC) หรือกระเปาะของขีดความสามารถภายในรัฐ เมื่อมีหน่วยงานที่มีขีดความสามารถสูงแล้ว หน่วยงานเหล่านี้ต้องไปร่วมกันทำงานกับภาคเอกชนในการทำนโยบายอุตสาหกรรม ซึ่งการจะทำนโยบายอุตสาหกรรมให้ดี ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หน่วยงานและภาคเอกชนต้องเป็นความสัมพันธ์ที่เหมาะสมด้วย คือในด้านหนึ่งรัฐต้องดึงภาคเอกชน ภาคประชาสังคมเข้ามาในกลไกการมีส่วนร่วมในการทำนโยบายหรือการพัฒนา แต่อีกด้านหนึ่งรัฐต้องมีอิสระที่จะขับเคลื่อนนโยบายเหล่านั้นด้วย

         ระดับสาม คือ Core Principles of Industrial Policies เป็นหลักการสำคัญในการออกนโยบายอุตสาหกรรม ก่อนที่จะเข้าไปถึงนโยบายอุตสาหกรรมรายสาขา แบ่งได้เป็น 1) Directionality การเลือกทิศทางอุตสาหกรรมที่ชัดเจน เพื่อป้องกันการสูญเสียทรัพยากรและค่าใช้จ่ายที่มีจำกัด 2) Touch upon Firms คือการที่รัฐต้องเข้าไปเห็นถึงขีดความสามารถของบริษัท เข้าไปดูว่าผลิตสินค้าอะไร มีโครงสร้าง มีกลยุทธ์ของอุตสาหกรรมอย่างไร เพื่อให้เกิดประโยชน์เชิงพาณิชย์ได้มากที่สุด 3) Good Governance การคำนึงถึงธรรมาภิบาลที่ดี และ 4) Socializing risks and benefits การคำนึงถึงความเสี่ยงและประโยชน์ที่มีต่อสังคม ลดปัญหาความไม่เท่าเทียม

5

         นอกจากหัวข้อการบรรยายเกี่ยวกับนโยบายอุตสาหกรรมแล้ว การฝึกอบรมในหลักสูตรย่อยด้านการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรมยังมีประเด็นการบรรยายอื่นๆ ที่น่าสนใจ ที่ผู้เข้าร่วมอบรมจะสามารถนำไปเป็นส่วนสำคัญในแนวทางการพัฒนานโยบายที่เกี่ยวข้องกับ อววน. และนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานให้เหมาะสมกับแต่ละหน่วยงานต่อไป

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
คพ. ผนึก สวทช. ใช้ ‘ซูเปอร์คอมพิวเตอร์’คาดการณ์ฝุ่น PM 2.5 รู้ล่วงหน้า 3 วัน วว. ให้บริการโรงรมซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ช่วยเกษตรกรแก้ปัญหาผลผลิตลำไยล้นตลาด @ ลำพูน
  • วช. และเครือข่ายนักวิจัย ร่วมเ ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    วช. และเครือข่ายนักวิจัย ร่วมเสวนา “ขับเคลื่อนแรงงานสูงวัย ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” 
    12 May 2023
    วศ. ผลักดันการร่างคุณลักษณะ Po ...
    ภาพข่าวและกิจกรรม
    วศ. ผลักดันการร่างคุณลักษณะ Power Air Purifying Respirator (PAPR) ร่วมกับเครือข่าย รองรับสถานการณ์โร...
    12 May 2020
    วว. ลงพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ อบรม ...
    ข่าวสารหน่วยงาน
    วว. ลงพื้นที่ จ.เพชรบูรณ์ อบรมการผลิตปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพสูง/การป้องกันกำจัดโรคพืชด้วยชีววิถี
    11 Oct 2022
    ดูทั้งหมด >

เรื่องล่าสุด

“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. ม ...
ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. มอบวุฒิบัตรและปิดการฝึกอบรม "หลักสูตรการบริหารงานอุดมศึกษาสายสนับสนุนระ...
16 May 2025
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไทยด้วยกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)“ ผลักดันกำลังคนสมรรถนะ...
16 May 2025
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบับที่ 2 รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ผลักดันเทคโนโลยีสู้วิก...
15 May 2025

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.