GISTDA ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมด้วยข้อมูลภาพจากดาวเทียม Radarsat-2 วันที่ 24 กันยายน 2565 พบพื้นที่น้ำท่วมในบริเวณบางส่วนของลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำสะแกกรัง ลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำท่าจีน และลุ่มน้ำบางปะกง ทั้งสิ้น 1,223,715 ไร่ ในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ 274,920 ไร่ พิจิตร 192,201 ไร่ พระนครศรีอยุธยา 159,864 ไร่ สุโขทัย 144,253 ไร่ สุพรรณบุรี 138,452 ไร่ พิษณุโลก 109,124 ไร่ ปราจีนบุรี 45,973 ไร่ ลพบุรี 28,558 ไร่ ชัยนาท 27,210 ไร่ เพชรบูรณ์ 27,005 ไร่ อ่างทอง 20,721 ไร่ สระบุรี 13,413 ไร่ นครปฐม 12,916 ไร่ สิงห์บุรี 11,428 ไร่ นครนายก 7,666 ไร่ ฉะเชิงเทรา 7,415 ไร่ อุทัยธานี 1,680 ไร่ นครราชสีมา 530 ไร่ และสระแก้ว 385 ไร่
ส่วนพื้นที่ปลูกข้าวได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 139,659 ไร่ นอกจากนี้ยังรวมถึงพื้นที่เกษตรกรรมอื่นๆ ในพื้นที่ลุ่มต่ำริมสองฝั่งแม่น้ำสายหลักและสายรอง ชุมชนที่อยู่อาศัยและเส้นทางคมนาคมบางส่วน
สถานการณ์ดังกล่าว GISTDA ได้ส่งข้อมูลภาพจากดาวเทียมดังกล่าวให้กับหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ เพื่อนำไปใช้สนับสนุนในการบริหารจัดการตามภารกิจ ทั้งด้านการวางแผน และการติดตาม เพื่อประเมินสถานการณ์ต่อไป
สำหรับการติดตามสถานการณ์น้ำท่วมขัง GISTDA ได้วางแผนและปรับแผนรับสัญญาณดาวเทียม เพื่อวิเคราะห์ ติดตามสถานการณ์ในพื้นที่ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมอย่างต่อเนื่อง
ตรวจสอบพื้นที่อื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ https://flood.gistda.or.th
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.