กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
  • ข่าวสารหน่วยงาน

นาโนเทค สวทช. เปลี่ยนของเหลือจากการเกษตร-รง.กระดาษ สู่ "สารชีวภัณฑ์ไฮบริดระดับนาโน" ป้องกัน-ยับยั้งเชื้อราก่อโรคในนาข้าว ทดแทนสารเคมี ตอบ BCG เพื่อความยั่งยืน 

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
22 Dec 2023

1

         สารเคมีที่ตกค้างใน “ข้าว” นอกจากส่งผลต่อผู้บริโภคแล้ว ยังกระทบการส่งออกพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทยอีกด้วย นักวิจัยนาโนเทค สวทช. ต่อยอดความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการปรับสภาพและการใช้ประโยชน์ชีวมวลสู่ "สารชีวภัณฑ์ไฮบริดระดับนาโน" จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรอย่างฟางข้าว หรือของเสียจากกระบวนการผลิตเยื่อและกระดาษ ที่มีจุดเด่นในการป้องกันและยับยั้งเชื้อราก่อโรคในนาข้าว พร้อมเสริมธาตุอาหารจำเป็น ทดสอบภาคสนามร่วมกับศูนย์วิจัยข้าว จ.ขอนแก่น ประสิทธิภาพเทียบเคียงสารเคมี หวังเป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือก ตอบ BCG หนุนเกษตรไทยเติบโตแบบยั่งยืนในเวทีโลก

4

          ดร. วรรณวิทู วรรณโมลี ทีมวิจัยตัวเร่งปฏิกิริยา กลุ่มวิจัยการเร่งปฏิกิริยาและการคำนวณระดับนาโน ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ข้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ซึ่งเราผลิตและส่งออกเป็นอันดับต้นๆ ของโลก แต่ต้องเผชิญปัญหาจากสารเคมีตกค้างจากการใช้สารเคมีทางการเกษตรที่เพิ่มขึ้นทุกปี นอกจากส่งผลต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังกระทบการส่งออก เนื่องจากมีการตีกลับข้าวที่มีปริมาณสารเคมีเกินกว่าค่ามาตรฐานที่กำหนดอีกด้วย

3

2

         “เราพบว่า เกษตรกรมีความจำเป็นต้องใช้สารเคมีเพื่อยับยั้งโรคในนาข้าว โดยโรคข้าวที่พบบ่อยในทุกส่วนของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่นาน้ำฝนและนาชลประทาน ได้แก่ โรคไหม้ข้าว ซึ่งโรคดังกล่าวมีสาเหตุหลักมาจากเชื้อรา ที่สามารถทำลายผลผลิตของข้าวได้ในทุกระยะของต้นข้าวและสร้างความเสียหายในนาข้าวมากกว่า 80% ของผลผลิตข้าวทั้งหมด ซึ่งมีความรุนแรงและลุกลามอย่างรวดเร็ว” ดร. วรรณวิทูกล่าว พร้อมชี้ว่า ทีมวิจัยนาโนเทคมองเห็นโอกาสในการพัฒนาสารชีวภัณฑ์ทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาให้เกษตรกร ด้วยความเชี่ยวชาญของทีมวิจัยทางด้านการใช้ประโยชน์จากชีวมวล โดยเฉพาะลิกนิน ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่พบได้ในพืชทุกชนิด และมีคุณสมบัติเด่นในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ ต้านอนุมูลอิสระ รวมถึงป้องกันรังสียูวีได้อีกด้วย

         งานวิจัย "การพัฒนาสารชีวภัณฑ์ไฮบริดระดับนาโนจากลิกนินที่สกัดจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อใช้ในการป้องกันและยับยั้งเชื้อราก่อโรคในนาข้าว" จึงเกิดขึ้น ด้วยเป้าหมายเพื่อแก้ไขและลดความเสียหายได้โดยการฟื้นฟูระบบการเกษตรจากการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในท้องถิ่นอย่างฟางข้าว ซึ่งมีปริมาณคงเหลือมากถึง 11 ล้านตันต่อปี หรือของเสียจากกระบวนการผลิตของอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ มาผลิตเป็นสารชีวภัณฑ์จากธรรมชาติ เพื่อทดแทนการใช้สารเคมีอันตราย

6

7

         ดร. วรรณวิทูเผยว่า ทีมวิจัยสกัดลิกนินจาก 2 แหล่งคือ ฟางข้าว โดยเริ่มจากการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาผ่านกระบวนการปรับสภาพทางกายภาพร่วมกับการบำบัดทางเคมีด้วยด่าง เพื่อแยกสารละลายลิกนิน ในขณะเดียวกัน ก็สามารถใช้ลิกนินจากน้ำดำ (Black Liquid) ซึ่งเป็นของเสียจากกระบวนการต้มเยื่อของอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ หรือโรงงานกระดาษต่างๆ ที่มีจำนวนมากถึง 8 แสนตันต่อปี ไปผ่านกระบวนการตกตะกอนด้วยสารละลายกรดร่วมกับการลดขนาดอนุภาคด้วยแรงเชิงกลภายใต้ความดันสูง เพื่อทำให้เกิดเป็นอนุภาคระดับนาโนที่มีความเสถียร

         ทีมวิจัยนาโนเทค สวทช. พัฒนา 3 ต้นแบบผลิตภัณฑ์ คือ ลิกนิน ที่มีสมบัติในการป้องกันเชื้อราก่อโรคในข้าว ซึ่งเหมาะที่จะใช้ก่อนเกิดโรคไหม้ข้าว, ลิกนินผสมสารสกัดธรรมชาติ ที่นอกจากสามารถป้องกันและยับยั้งเชื้อราก่อโรคแล้ว ยังเสริมประสิทธิภาพของสารสกัดธรรมชาติ ต้นแบบสุดท้ายคือ ลิกนินผสมสารสกัดธรรมชาติและพอลิเมอร์ธรรมชาติ ช่วยเพิ่มความสามารถในการยึดเกาะของสารออกฤทธิ์และเพิ่มประสิทธิภาพในป้องกันและยับยั้งเชื้อราที่ก่อโรคไหม้ข้าว รวมถึงมีธาตุอาหารหลักที่ช่วยบำรุงต้นข้าวอีกด้วย นอกจากนี้ สารชีวภัณฑ์ดังกล่าวยังสามารถใช้ร่วมกับชีวภัณฑ์เชื้อราไตรโคเดอร์มาได้โดยไม่เป็นปฏิปักษ์กัน

         ทีมวิจัยมีการทดสอบในระดับภาคสนามจำนวน 4 ไร่ ร่วมกับนายธีระวัช สุวรรณนวล นักวิชาการเกษตรชำนาญการ จากศูนย์วิจัยข้าว จ.ขอนแก่น ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2566 ที่ผ่านมา จากนั้น เก็บข้อมูลเปรียบเทียบสารชีวภัณฑ์นาโนไฮบริดจากลิกนินกับสารเคมีทางการค้าที่เกษตรกรนิยมใช้ โดยดูจากอาการที่ปรากฏบนใบข้าวแสดงอาการของโรค และประเมินความเสียหายของใบข้าวจากการเข้าทำลายของเชื้อราโรคไหม้ตามเกณฑ์ของ Standard Evaluation System for Rice (IRRI, 2013) โดยผลการทดสอบพบว่า สารชีวภัณฑ์นาโนไฮบริดจากลิกนินมีคะแนนการเกิดโรคไหม้ = 3 ต้านทานได้ใกล้เคียงกับสารเคมีทางการค้า

8

         “ไม่ว่าจะเป็นน้ำดำจากอุตสาหกรรมเยื่อและกระดาษ หรือฟางข้าวจากภาคเกษตรกรรม ล้วนเป็นวัสดุเหลือใช้ในกระบวนการผลิต ซึ่งหลายคนต่างพยายามหาวิธีใช้ประโยชน์ การพัฒนาเป็นสารชีวภัณฑ์นาโนไฮบริดจากลิกนินก็เช่นกัน เรามองว่า นวัตกรรมนี้เป็น Waste to Worth ที่สามารถลดต้นทุนการผลิตเป็นทางเลือกให้เกษตรกร รักษาสภาพแวดล้อม อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและเป็นการเพิ่มรายได้แก่เกษตรกร จนนำไปสู่การพัฒนาระบบการเกษตรที่ปลอดภัยจากสารเคมีจนถึงระบบเกษตรอินทรีย์ และระบบเกษตรกรรมที่ยั่งยืน ตอบโจทย์ BCG ทั้ง 3 มิติไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และ เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy)” ดร. วรรณวิทูชี้

         สารชีวภัณฑ์ไฮบริดระดับนาโนจากลิกนิน โดยนาโนเทค สวทช. จดสิทธิบัตรเรียบร้อยแล้ว และพร้อมสำหรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ผู้ที่สนใจ ซึ่งอาจเป็นกลุ่มธุรกิจเคมีภัณฑ์ที่ต้องการผลิตภัณฑ์ทางเลือกใหม่ หรือกลุ่มเกษตรกรต่างๆ ที่ให้ความสนใจจากการทดสอบใช้ผลิตภัณฑ์ โดยล่าสุด ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ซึ่งเป็นแหล่งทุนนั้น มีแผนต่อยอดนำผลิตภัณฑ์ต้นแบบสารชีวภัณฑ์ไฮบริดระดับนาโนจากลิกนินนี้ ไปใช้ในเชิงสาธารณประโยชน์ เพื่อตอบโจทย์องค์กรทั้งด้านนวัตกรรม ความยั่งยืน และความรับผิดชอบต่อสังคม รวมถึงเพื่อเกษตรกรไทยเช่นกัน

 

ข้อมูลโดย : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : 02 564 7000

 

เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3729
E-mail : pr@mhesi.go.th
Facebook : @MHESIThailandth                                                     
Instagram : mhesi_thailand
Tiktok : mhesi_thailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
วศ.อว.ร่วมกับ สนง.พาณิชย์ฯ และอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น หนุน ผปก. จัดกิจกรรมถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ เสริมแกร่งธุรกิจอาหารโปรตีนสูงจากแมลง  วว. /สวทช. / CRRC จัดการประชุมเทคนิครถไฟความเร็วสูงจีน-อาเซียน แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ พัฒนาความร่วมมืองานวิจัยระบบราง 
  • “เอนก” โต้ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ชี ...
    ข่าวรัฐมนตรี
    “เอนก” โต้ ส.ส.พรรคเพื่อไทย ชี้ทุนจีนไม่ได้ฮุบมหาวิทยาลัย แต่กฎหมายระบุว่าสามารถเป็นผู้บริหารและกรรม...
    17 Feb 2023
    รมว.อว. เปิดการประชุมวิชาการแล ...
    ข่าวรัฐมนตรี
    รมว.อว. เปิดการประชุมวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ (GNR...
    09 Jun 2021
    ดร.สุวิทย์ ผลักดัน มศว. เป็นต้ ...
    ภาพข่าวและกิจกรรม
    ดร.สุวิทย์ ผลักดัน มศว. เป็นต้นแบบผลิตครู
    12 Sep 2019
    ดูทั้งหมด >

เรื่องล่าสุด

“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. ม ...
ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. มอบวุฒิบัตรและปิดการฝึกอบรม "หลักสูตรการบริหารงานอุดมศึกษาสายสนับสนุนระ...
16 May 2025
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไทยด้วยกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)“ ผลักดันกำลังคนสมรรถนะ...
16 May 2025
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบับที่ 2 รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ผลักดันเทคโนโลยีสู้วิก...
15 May 2025

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.