ดร.กิติพงค์ พร้อมวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) เปิดเผยว่า สอวช. ภายใต้กำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ได้ดำเนินการสำรวจข้อมูลตำแหน่งงานและสมรรถนะงานที่สำคัญ ซึ่งเป็นที่ต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรมยุทธศาสตร์ของประเทศ ในระยะเวลา 5 ปี (พ.ศ.2563 - 2567) โดยมุ่งเน้นที่ตำแหน่งงานระดับสูงที่ต้องการผู้สำเร็จการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้ การสำรวจจะครอบคลุมสถานประกอบการที่อยู่ใน 12 อุตสาหกรรม
โดยจากการสำรวจ พบว่าใน 12 กลุ่มอุตสาหกรรมมีความต้องการกำลังคนรวมทั้งงสิ้น 177,606 ตำแหน่งประกอบด้วย
1) อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Industrial Robotics) มีความต้องการกำลังคนรวม 10,020 ตำแหน่ง โดยมีตำแหน่งงานที่สำคัญ เช่น Data Scientist มีความต้องการ 2,697 ตำแหน่ง Robotic Controls Engineer มีความต้องการ 1,869 ตำแหน่ง และ Mechanical Engineer มีความต้องการ 1,862ตำแหน่ง
2) อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hubs) มีความต้องการกำลังคนรวม 17,732 ตำแหน่ง โดยมีตำแหน่งงานที่สำคัญ เช่น Clinical Investigator มีความต้องการ 1,505 ตำแหน่ง Bioprocess engineer / technician มีความต้องการ 1,354 ตำแหน่ง และ Biomedical engineer มีความต้องการ 273 ตำแหน่ง
3) อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation & Logistics) มีความต้องการกำลังคนรวม 29,289 ตำแหน่ง โดยมีตำแหน่งงานที่สำคัญ เช่น Ground Services Officer มีความต้องการ 7,914 ตำแหน่ง Warehouse Officer / Inventory Controller มีความต้องการ 3,920 ตำแหน่ง และ Project Engineer มีความต้องการ 2,356 ตำแหน่ง
4) อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Bioenergy & Biochemicals) มีความต้องการกำลังคนรวม 9,836 ตำแหน่ง โดยมีตำแหน่งงานที่สำคัญ เช่น Biologist มีความต้องการ 2,860 ตำแหน่ง Mechanical engineer มีความต้องการ 1,550 ตำแหน่ง และ Agricultural Specialist, Mechanic Technician มีความต้องการตำแหน่งละ 1,230 ตำแหน่ง
5) อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital) มีความต้องการกำลังคนรวม 30,742 ตำแหน่ง โดยมีตำแหน่งงานที่สำคัญ เช่น Data Scientist มีความต้องการ 5,767 ตำแหน่ง Full-Stack Developer มีความต้องการ 5,287 ตำแหน่ง และ Mobile Developer มีความต้องการ 2,405 ตำแหน่ง
6) อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Advanced Agriculture and Biotechnology) มีความต้องการกำลังคนรวม 14,907 ตำแหน่ง โดยมีตำแหน่งงานที่สำคัญ เช่น Marketing Specialist มีความต้องการ 3,221 ตำแหน่ง Aerospace Engineer มีความต้องการ 2,686 ตำแหน่ง และ Laboratory Technician มีความต้องการ 1,863 ตำแหน่ง
7) อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร (Food For The Future) มีความต้องการกำลังคนรวม 12,458 ตำแหน่ง โดยมีตำแหน่งงานที่สำคัญ เช่น Food Scientist มีความต้องการ 2,054 ตำแหน่ง Regulatory Scientist มีความต้องการ 1,361 ตำแหน่ง และ Packaging Technologist มีความต้องการ 466 ตำแหน่ง
8) อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Future Mobility) มีความต้องการกำลังคนรวม 12,231 ตำแหน่ง โดยมีตำแหน่งงานที่สำคัญ เช่น Product Specialist มีความต้องการ 4,080 ตำแหน่ง Commercial Designer มีความต้องการ 2,049 ตำแหน่ง และ Automation Engineer มีความต้องการ 1,880 ตำแหน่ง
9) อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Intelligent Electronics) มีความต้องการกำลังคนรวม 6,434 ตำแหน่งโดยมีตำแหน่งงานที่สำคัญ เช่น Electrical Engineer มีความต้องการ 1,588 ตำแหน่ง Mechanical Engineer มีความต้องการ 1,316 ตำแหน่ง และ Industrial Engineer มีความต้องการ 816 ตำแหน่ง
10) อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (High Wealth & Medical Tourism)มีความต้องการกำลังคนรวม 15,432 ตำแหน่ง โดยมีตำแหน่งงานที่สำคัญ เช่น Digital Marketing Specialist มีความต้องการ 4,313 ตำแหน่ง Customer Service Specialist มีความต้องการ 3,614 ตำแหน่ง และ Digital Platform Developer มีความต้องการ 3,176 ตำแหน่ง
11) อุตสาหกรรมป้องกันประเทศ (National Defense) มีความต้องการกำลังคนรวม 5,219 ตำแหน่ง โดยมีตำแหน่งงานที่สำคัญ เช่น Material Engineer มีความต้องการ 811 ตำแหน่ง Weapon Mechanic มีความต้องการ 711 ตำแหน่ง และ Aerospace Engineer มีความต้องการ 600 ตำแหน่ง
12) อุตสาหกรรมพัฒนาทักษะและกำลังคน (Workforce and Education) มีความต้องการกำลังคนรวม 13,306 ตำแหน่ง โดยเป็นความต้องการบุคลากรสำหรับสถาบันการศึกษาระดับอาชีวศึกษา รวม 12,254 ตำแหน่ง มีตำแหน่งงานที่สำคัญ เช่น IT Instructor มีความต้องการ 1,881 ตำแหน่ง และ Digital Competency Instructor มีความต้องการ 1,615 ตำแหน่ง และ Career and Skill Development Counsellor มีความต้องการ 532 ตำแหน่ง นอกจากนี้ ยังมีความต้องการบุคลากรสายวิชาการในสถาบันอุดมศึกษาทั้งสิ้น 1,052 ตำแหน่ง
>>Download รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสมรรถนะบุคลากรในอนาคตสำหรับ 12 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย (พ.ศ. 2563 - 2567) ได้ที่ : https://www.nxpo.or.th/th/report/5532/
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.