กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ทีเซลส์ (TCELS : Thailand Centre of Excellence for Life Sciences) ผนึกความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายภาครัฐ-เอกชน เตรียมจัดงาน Bio Asia Pacific 2020 ระหว่างวันที่ 28-30 ตุลาคม 2563 โดยจัดในงาน Thailand LAB INTERNATIONAL 2020 ร่วมกับ บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่นส์ เอเชีย แปซิฟิค จำกัด เพื่อนำเสนอนวัตกรรม เทคโนโลยีการค้นคว้าวิจัย และความร่วมมือด้านชีววิทยาศาสตร์ พร้อมอัพเดทความก้าวหน้าการพัฒนาวัคซีนและการรับมือกับโรคโควิด-19 โดยผู้เชี่ยวชาญทั้งจากไทยและนานาชาติ ครั้งแรกกับการจัดงานในรูปแบบ Hybrid Exhibition ที่ผสมผสานร่วมกับการจัดงาน On Ground Exhibition ในรูปแบบ New Normal ด้วย Virtual Exhibition & Conference ทั้งการจัดประชุมเชิงวิชาการในหัวข้อต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านชีววิทยาศาสตร์ อาทิ ความร่วมมือในการพัฒนายาที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Technology Based Medicines) และความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านการแพทย์ของประเทศไทยหลังโควิด, ความพร้อมของการทดสอบความปลอดภัยของการผลิตยา วัคซีนโควิดและผลิตภัณฑ์สุขภาพ, การบริหารจัดการความเสี่ยงในช่วงการแพร่ระบาดของโรค การสร้าง Ecosystem สำหรับการผลิตยาในชีวิตวิถีใหม่ (New Normal), การเปิดตัวสมาคมเภสัชพันธุศาสตร์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และความก้าวหน้าด้านจีโนมิกส์ในระดับภูมิภาค, บทบาทของภาคเอกชนในการช่วยกระตุ้นและส่งเสริมอุตสากรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ตลอดจนการจัดกิจกรรมด้านธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ อาทิ การเปิดโอกาสการลงทุนในธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ของไทยกับนักลงทุนต่างประเทศ การประกวดแนวคิดธุรกิจวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
ดร.ศิรศักดิ์ เทพาคำ รองผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ กล่าวว่า “ทีเซลส์ เล็งเห็นถึงความสำคัญของการผลักดันธุรกิจด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทยให้เติบโตและขยายสู่ตลาดต่างประเทศมาอย่างต่อเนื่อง ด้วยการส่งเสริมการนำงานวิจัยและนวัตกรรมออกสู่ตลาด สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอุตสาหกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศ รวมถึงเพิ่มเครือข่ายความร่วมมือในระดับนานาชาติ และสร้างการรับรู้แก่ประชาชนให้มากยิ่งขึ้น สำหรับการจัดงาน Bio Asia Pacific 2020 เป็นอีกหนึ่งโอกาสสำคัญของทีเซลส์ ที่จะมีส่วนสนับสนุนธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ในประเทศไทยและในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิคให้เติบโต และเกิดความร่วมมือที่หลากหลาย ทั้งนี้ จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เกิดขึ้น การจัดงานในครั้งนี้ จึงให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของผู้เข้าร่วมงานเป็นปัจจัยแรก นำมาซึ่งแนวคิดการจัดงานในรูปแบบ Hybrid Exhibition กล่าวคือ มีทั้งการจัดงานที่นำเสนอนวัตกรรมความก้าวหน้าด้านชีววิทยาศาสตร์ของไทย ณ TCELS Pavilion ในงาน Thailand LAB INTERNATIONAL 2020 ณ EH 103 – 104 ไบเทค บางนา ซึ่งอยู่ภายใต้มาตรการป้องกันการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างเข้มงวด และการจัดงานในรูปแบบ New Normal ด้วย Virtual Exhibition & Conference โดยเปิดโอกาสให้นักวิจัย นักวิชาการ นักธุรกิจประเทศต่างๆ ทั้งไทยและทั่วโลกที่ไม่สามารถเดินทางระหว่างประเทศ ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ได้นำเสนอองค์ความรู้ ความก้าวหน้าและผลงานการวิจัย ค้นคว้าด้านชีววิทยาศาสตร์ ผ่านการประชุมด้วยแพลตฟอร์ม Live Streaming ซึ่งผู้ที่สนใจเข้ารับฟังหัวข้อการประชุมต่างๆ สามารถเลือกรับชม ร่วมแสดงความคิดเห็น พูดคุย สอบถามกับผู้บรรยายผ่านช่องทาง https://bioasiapacific.com/conference/”
“สำหรับการประชุมของการจัดงาน Bio Asia Pacific 2020 ผ่านรูปแบบ Virtual Conference ในครั้งนี้ มีหัวข้อไฮไลท์ที่น่าสนใจ คือ การประชุมนำเสนอความก้าวหน้าของการพัฒนาวัคซีนป้องกันและการรับมือกับโรคโควิด-19 จากนักวิจัยผู้เชี่ยวชาญของไทยและนานาชาติ ในการแสวงหาแนวทางความร่วมมือแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และผลงานวิจัยร่วมกัน เพื่อรับมือป้องกันโรคโควิด-19 ทั้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันและในอนาคต รวมถึงการประชุมสัมมนาในหลากหลายหัวข้อ ซึ่งครอบคลุมในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ ทั้งอุตสาหกรรมยา การใช้เทคโนโลยีด้านดิจิทัลและ AI ในทางการแพทย์ และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง ตั้งแต่งานวิจัยและพัฒนาจนถึงการผลิตออกสู่ตลาด อาทิ ความร่วมมือในการพัฒนายาที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Technology Based Medicines) และความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานด้านการแพทย์ของประเทศไทยหลังโควิด-19, ความพร้อมของการทดสอบความปลอดภัยของการผลิตยาวัคซีนโควิดและผลิตภัณฑ์สุขภาพ, การสร้าง Ecosystem สำหรับการผลิตยาในชีวิตวิถีใหม่ (New Normal), การเปิดตัวสมาคมเภสัชพันธุศาสตร์แห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และความก้าวหน้าด้านจีโนมิกส์ในระดับภูมิภาค, บทบาทของภาคเอกชนในการช่วยกระตุ้นและส่งเสริมอุตสากรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ในประเทศไทย ตลอดจนการจัดกิจกรรมด้านธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ ผ่าน Virtual Conference อาทิ การเปิดโอกาสการลงทุนในธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ของไทยกับนักลงทุนต่างประเทศ การประกวดแนวคิดธุรกิจวิทยาศาสตร์ ตลอดจนการนำเสนอรูปแบบใหม่ๆ ของการลงทุนด้านชีววิทยาศาสตร์”
“การจัดงาน Bio Asia Pacific 2020 ในครั้งนี้ ทีเซลส์ ได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนจากภาคีเครือข่ายภาครัฐและเอกชน อาทิ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์วิจัยไพรเมทแห่งชาติ , ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี, สมาคมผู้วิจัยและผลิตเภสัชภัณฑ์ (Pharmaceutical Research and Manufacturers Association: PReMA), บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท โรช ประเทศไทย จำกัด (Roche Thailand Co., Ltd.), บริษัท ไบโอ เจเนเทค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (BGIC - Bio Genetech International Co., Ltd.) บริษัท คินเจนไบโอเทค จำกัด (KinGen Biotech Co., Ltd.) และ สมาคมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพไทย (ThaiBIO) ซึ่งเป็นความร่วมมือครั้งสำคัญ ในการแสดงให้เห็นถึงศักยภาพด้านชีววิทยาศาสตร์ของไทยในเวทีระดับนานาชาติ ตลอดจนก่อให้เกิดการพัฒนา สร้างสรรค์นวัตกรรม เทคโนโลยี และองค์ความรู้ด้านชีววิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปต่อยอดให้เกิดผลในเชิงเศรษฐกิจต่อไป” ดร.ศิรศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย
พบกับงาน Bio Asia Pacific 2020 โดย ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระหว่างวันที่ 28-30 ตุลาคม 2563 สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานทั้งรูปแบบ On Ground Exhibition ณ TCELS Pavilion EH 103-104 ไบเทค บางนา หรือผ่านช่องทาง Virtual Conference ได้ที่ https://bioasiapacific.com/conference/
.........................................................................................................
ข้อมูลข่าวโดย : ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์
เผยแพร่ข่าว : นายธัชนนท์ บุญหล้า
ส่วนสื่อสารองค์กร สำนักบริหารกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.