กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมเดินหน้าสร้างความเข้มแข็งกลุ่มมวลชน ปราชญ์เพื่อความมั่นคงและภาคประชาชน โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างอาชีพและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม อันสอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564 เวลา 09.00 น. ที่ ชลพฤกษ์ รีสอร์ท จังหวัดนครนายก พลเอกวรเกียรติ รัตนานนท์ เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และ ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดกิจกรรมเสริมสร้างปราชญ์เพื่อความมั่นคงและเครือข่ายภาคจังหวัดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมเยี่ยมชมผลงานผลิตภัณฑ์การเกษตร จากเครือข่ายภาคประชาชนในหลายจังหวัด กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคความมั่นคง และภาคการวิจัย ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ปราชญ์เพื่อความมั่นคง และเครือข่ายภาคจังหวัด ซึ่งเป็นฐานสำคัญของประเทศในการร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงการเสริมสร้างความรู้ด้านความมั่นคงของชาติ การพัฒนาปราชญ์ พัฒนาชุมชนต้นแบบ นำสู่ตำบลมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม – 1 เมษายน 2564
สำหรับการดำเนินงาน ศปป.1 กอ.รมน. ได้คัดกรององค์ความรู้ที่พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาในพื้นที่ 61 ชุมชน ใน 21 จังหวัด และ วช. ได้คัดกรององค์ความรู้ที่พร้อมถ่ายทอดขยายผลและสอดคล้องกับบริบทความต้องการของพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 11 องค์ความรู้/เทคโนโลยี ซึ่งในระยะที่ 1 ปีงบประมาณ 2562 วช. ได้สนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมในการเพิ่มศักยภาพชุมชนให้มีความเข้มแข็งตามโจทย์ความต้องการของพื้นที่ชุมชน ซึ่งเป้าหมายของ กอ.รมน. จำนวน 231 ชุมชน ซึ่งชุมชนได้กำหนดความต้องการไว้ 5 เทคโนโลยี
ปีงบประมาณ 2563 เป็นการดำเนินงานระยะที่ 2 ระยะนี้ได้เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน จนสามารถพึ่งพาตนเองได้ และตั้งเป้าให้เป็นชุมชนต้นแบบนำวิจัยและนวัตกรรมมาปรับวิถีชีวิตเป็นชุมชนเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ 2564 นี้ วช. และ ศปป.1 กอ.รมน. ได้มีเป้าหมายสร้างตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ต้นแบบ ใน 15 จังหวัด โดยดำเนินการตามนโยบายบูรณาการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานของทั้งสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง (สยย.) กอ.รมน. ร่วมด้วย ศปป.1 กอ.รมน. และ ศปป. 4 กอ.รมน ซึ่งได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายระดับตำบล ให้สอดคล้องกับการนำงานวิจัยและนวัตกรรม ไปช่วยในการยกระดับศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชนและตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ตลอดจนสามารถประเมินผลสัมฤทธิ์ได้
โดยการส่งมอบงานวิจัยและนวัตกรรม ผ่านศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ ๔ (ศปป.๔) ในการขยายผลเทคโนโลยี เรื่อง “เครื่องวัดข้อมูลฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศด้วยระบบเซ็นเซอร์เชื่อมต่อข้อมูลด้วยระบบสถาปัตยกรรมเน็ตเวิร์คอัจฉริยะ” ในพื้นที่ทำงานของ กอ.รมน. จังหวัด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้ง ๔ ภาค ในปี ๒๕๖๓ และในปี ๒๕๖๔ มีแผนขยายผลนวัตกรรมเรื่อง “ถังหมักประสิทธิภาพสูงเพื่อการจัดการขยะอินทรีย์ในระดับชุมชน” โดยขยายผลเทคโนโลยีในพื้นที่ดูแลของ ศปป.๔ กอ.รมน. ให้ครอบคลุมทั้ง ๔ ภาค ใน ๒๒ พื้นที่ ๑๔ จังหวัด และศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ ๕ (ศปป.๕) กอ.รมน. ในการขยายผลการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม เรื่อง เสื้อเกราะกันกระสุนน้ำหนักเบาที่ผ่านมาตรฐานสากลระดับ NIJ III (NIJ 3) ในพื้นที่การดูแลของ กอ.รมน. ภาค ๔ ส่วนหน้า (๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้) และกองทัพภาคที่ 4
ข้อมูล : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวสุวดี เหมือนอ้น
กลุ่มสื่อสารองค์กร กองกลาง
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3880 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Twitter : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป
© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.