กระทรวง อว.

search

navmobiletoggle
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม
--
+
A
กระทรวง อว.
  • About us
    • History
    • Vision Mission
    • Policy / Strategy
    • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
    • Mission Structure
    • Executive
    • Government Division
    • Government Weblink
    • Legal
    • CIO
  • Flagship Project
  • Scholarships
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • Service
    • บริการทั้งหมด
    • สถาบันอุดมศึกษา
    • นิสิต/นักศึกษา
    • อาจารย์
    • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
    • ผู้ประกอบการ
    • ภาครัฐ
  • News
    • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
      • ข่าวรัฐมนตรี
      • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
      • ข่าวสารหน่วยงาน
    • ข่าวสารและประกาศ
      • ข่าวประกาศ
      • ประกาศงานบุคลากร
      • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
      • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
  • Data Repository
    • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
    • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
    • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
    • e-Book S&T Series
    • Infographic
    • วีดิทัศน์
    • Mobile Application
  • ศูนย์บริการร่วม

extenmenu

เมนู
  • Thai University Consortium
  • ห้องสมุด อว.
  • Search
  • คำถามที่พบบ่อย
  • แบบฟอร์มร้องเรียน
  • Contact
  • Sitemap
  • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
  • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ
Rectangle 150
  • Home
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
  • ข่าวสารหน่วยงาน

สอวช. ร่วมกับ STIPI ศึกษาวิจัยเชิงระบบด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ถอดแนวทางการประเมินขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี (Technological Capability) ของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหาร (เนื ...

  • Facebook
  • Twitter
  • Line
22 Jun 2021

1

         สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) ร่วมกับ สถาบันนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (STIPI) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ดำเนินโครงการศึกษาวิจัยเชิงระบบด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อถอดบทเรียนแนวทางการประเมินขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี (Technological Capability) ของต่างประเทศ และพัฒนาแนวทางการประเมินขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี ศึกษาและวิเคราะห์ขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี ของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร (เนื้อไก่) และอุตสาหกรรมยานยนต์ (ยานยนต์ไฟฟ้า) เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางการประเมินขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมและผลการประเมินขีดความสามารถดังกล่าวของผู้ประกอบการไทยในอุตสาหกรรมเป้าหมาย

ทำไมถึงต้องมีการประเมินขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี Technological capability

         การประเมินขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี จะช่วยทำให้ทราบสถานะขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีของผู้ประกอบการ (Entrepreneurs) และทราบแนวทางการพัฒนาขีดความสามารถทางเทคโนโลยีของผู้ประกอบการ ซึ่งมักขึ้นอยู่กับกระบวนการพัฒนาและผลิตของแต่ละอุตสาหกรรมที่แตกต่างกัน ซึ่งทั้งสองส่วนนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการกำหนดนโยบาย/มาตรการที่จะช่วยส่งเสริมการยกระดับขีดความสามารถของอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในส่วนมาตรการส่งเสริม และการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม

แนวทางการประเมินขีดความสามารถด้านเทคโนโลยี อุตสาหกรรมอาหาร (เนื้อไก่)

         สำหรับการประเมินความสามารถด้านเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมอาหาร (เนื้อไก่) ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นและอยู่ในประเทศไทยเป็นเวลานาน มีระดับการเติบโตสูง อาจเรียกได้ว่าเป็นอุตสาหกรรมอยู่ตัว (Well-established Sector) จากผลการศึกษาได้มีการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะด้านการประเมินว่า การประเมินความสามารถด้านเทคโนโลยีในสถานภาพอุตสาหกรรมอยู่ตัว อย่างอุตสาหกรรมเนื้อไก่ สามารถใช้หลักการกรอบคิดพื้นฐานของการสะสมและพัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยี ของ Bell และ Pavitt ที่ได้เสนอไว้ว่า การพัฒนาความสามารถด้านเทคโนโลยี ไม่ใช่แค่การซื้อเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีใหม่และการรับถ่ายทอดชุดความรู้ (codified knowledge) ในการใช้งานเท่านั้น แต่ยังต้องการการสร้างความรู้ที่ฝังลึก (tacit knowledge) อยู่ภายในผลิตภัณฑ์ กระบวนการ ให้เกิดขึ้นและคงอยู่ในองค์กร ซึ่งความรู้เหล่านี้จะเกิดได้ก็ต้องมีการลองผิดลองถูกในการดำเนินกิจกรรมทางเทคโนโลยี และการสะสมความรู้เชิงลึกและมีระยะเวลาการเรียนรู้ที่มากพอ โดยหลักการดังกล่าวทำให้ได้ผลลัพธ์จากการประเมินที่ชัดเจนสามารถแยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการได้ดี นอกจากนี้ในส่วนผู้ประเมินจำเป็นต้องมีความรู้เชิงลึกในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อที่จะสามารถจำแนกกิจกรรมทางธุรกิจของผู้ประกอบการออกเป็นกิจกรรมหลักและกิจกรรมสนับสนุน เข้าใจถึงรายละเอียดของกิจกรรมทางธุรกิจดังกล่าว และสามารถพัฒนาเกณฑ์การประเมินสำหรับระดับความสามารถ 4 ระดับ คือ ระดับ Routine (ระดับต่ำสุด) หมายถึง ความสามารถที่ผู้ประกอบการทำได้เพียงกิจกรรมพื้นฐานที่จำเป็นต้องทำเพื่อให้ธุรกิจสามารถดำเนินต่อไปได้เท่านั้น ระดับ Basic (adoptive) หมายถึง ผู้ประกอบการมีความรู้ความเข้าใจ สามารถใช้ประโยชน์เทคโนโลยีได้อย่างเต็มที่ เล็งเห็นว่าเทคโนโลยีเหล่านั้น จำเป็นต่อการประกอบกิจการหรือการบริหารจัดการ หรือมีการใช้กันทั่วไปเป็นปกติอยู่แล้ว ระดับ Intermediate (adaptive) หมายถึง ผู้ประกอบการสามารถใช้เทคโนโลยีในระดับที่สูงขึ้น หรือ สามารถปรับเปลี่ยนคุณสมบัติของเทคโนโลยีให้เข้ากับการบริหารจัดการได้ดียิ่งขึ้น โดยอาจเริ่มสังเกต/บันทึกข้อมูล เพื่อวิเคราะห์หาแนวทางการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น และระดับ Advanced (innovative) หมายถึง ผู้ประกอบการมีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบเพื่อคิดค้นและสร้างเทคโนโลยีหรือนวัตกรรมใหม่ได้ ในบางกิจกรรม อาจเป็นการร่วมวิจัยและพัฒนากับหน่วยงานหรือสถาบันอื่น ๆที่มีความพร้อมมากกว่า ส่งผลให้ประสิทธิภาพการผลิตเพิ่มสูงขึ้น

         นอกจากนี้ จากรายงานผลการศึกษา พบว่า องค์ประกอบสำคัญที่จำเป็นต้องมีการพิจารณาเมื่อทำการศึกษาวิจัยเชิงระบบ (systems research) คือ ผู้กระทำหรือผู้ดำเนินกิจกรรม (actor) ในระบบ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วมักจะถูกแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1) ภาครัฐและหน่วยงานของรัฐ 2) ภาคเอกชนหรือผู้ประกอบการ 3) สถาบันวิชาการ/ สถาบันการศึกษา และ 4) สังคมหรือผู้ใช้ ภายใต้บริบทของสิ่งแวดล้อม การที่จะทำความเข้าใจระบบเพื่อยกระดับคุณภาพหรือประสิทธิภาพในการดำเนินงานของระบบจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจถึงความสามารถของผู้ดำเนินกิจกรรมในระบบเหล่านั้น ซึ่งในรายงานวิจัยชิ้นนี้ได้เน้นไปที่การประเมินความสามารถด้านเทคโนโลยีของผู้ประกอบการภาคเอกชน และได้จัดทำข้อเสนอแนะ ดังต่อไปนี้ 1) ผู้ประเมินจะต้องศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะของอุตสาหกรรมเป้าหมายว่าเป็นอุตสาหกรรมอยู่ตัว (well-established sector) หรืออุตสาหกรรมที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน (in-transition sector) และเลือกเครื่องมือการประเมินที่เหมาะสม 2) ผู้ประเมินจะต้องมีความรู้เชิงลึกในอุตสาหกรรม มีความเข้าใจถึงกิจกรรมที่ผู้ดำเนินธุรกิจจำเป็นต้องทำ ตัวเลือกเทคโนโลยีที่มีในตลาด เทคโนโลยีพลิกผันและผลกระทบต่ออุตสาหกรรมทั้งในระดับภายในประเทศและระดับสากล รวมทั้งนโยบายอุตสาหกรรม เพื่อการประเมินที่เข้าใจถึงข้อจำกัดและอุปสรรคที่ผู้ประกอบการกำลังประสบ 3) บทวิเคราะห์และผลการประเมินความสามารถด้านเทคโนโลยีจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในระบบ ควรจะมีหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ศึกษา ประเมิน วิเคราะห์และสรุปภาพรวมภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรม เพื่อให้ผู้ดำเนินกิจกรรมในระบบสามารถนำองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้นจากการประเมินไปใช้ได้ อาทิ ภาครัฐสามารถยกระดับหรือเพิ่มขีดความสามารถของผู้ประกอบการ โดยออกนโยบายหรือมาตรการที่เหมาะสมกับขนาดและประเภทของธุรกิจ และตรงกับความต้องการหรือช่องว่างทางธุรกิจของผู้ประกอบการได้ ภาคเอกชน มองเห็นจุดแข็งและจุดอ่อนของผู้ประกอบการโดยรวม และต้องเพิ่มศักยภาพของตนหรือสร้างความร่วมมือกับผู้ประกอบการรายอื่น สถาบันการศึกษา สามารถสร้างกำลังคนสนับสนุนที่มีทักษะในจำนวนที่เพียงพอและตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรม สถาบันวิจัยได้โจทย์วิจัยที่นำไปใช้ได้จริง เป็นต้น

ขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีอุตสาหกรรมอาหาร (เนื้อไก่)

         จากแนวทางการประเมินข้างต้น พบว่า ผู้ประกอบการฟาร์มไก่มีความสามารถด้านเทคโนโลยีที่ระบุได้ชัดเจนว่ามีระดับแตกต่างกัน ซึ่งเกณฑ์การประเมิน ประกอบด้วย การสร้างและเตรียมโรงเรือน การระบายอากาศ ควบคุมอุณหภูมิ และควบคุมแสง การให้อาหารและน้ำ การทำความสะอาดและการจัดการของเสีย การตรวจสอบคุณภาพ และการคัดเลือกไก่ พันธุ์ไก่ อาหารไก่ ยาและวัคซีน และการจำหน่าย โดยผู้ประกอบการรายใหญ่ มีความสามารถด้านเทคโนโลยีสูงกว่าผู้ประกอบการรายเล็กในเกือบทุกมิติของเกณฑ์การประเมิน ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากความพร้อมด้านปัจจัยทุนและอำนาจการต่อรองเป็นสำคัญ ส่วนฟาร์มขนาดเล็ก มีระดับความสามารถใกล้เคียงกันในมิติของการทำความสะอาดและจัดการของเสีย อาหารไก่ และการจำหน่าย และฟาร์มขนาดใหญ่และฟาร์มขนาดเล็กมีระดับความสามารถที่แตกต่างกันมากที่สุดคือ มิติด้านอาหารไก่ และด้านการจำหน่าย เป็นต้น

         ทั้งนี้ การประเมินความสามารถด้านเทคโนโลยีของผู้ประกอบการข้างต้นสามารถนำมาใช้เพื่อวัตถุประสงค์ด้านการจัดสรรทุนงบประมาณด้าน ววน. ได้อีกด้วย เช่น การประกาศรับข้อเสนอโครงการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับด้าน ววน. หรือการออกมาตรการสนับสนุนในด้านที่ผู้ประกอบการยังขาดความเข้มแข็ง หรือการสร้างเครือข่ายวิจัยที่ต้องการดึงให้ผู้ประกอบการเข้ามามีส่วนร่วม เพราะสามารถเลือกจากระดับความสามารถของผู้ประกอบการที่มีความเหมาะสม

         อย่างไรก็ตาม ประเด็นปัญหาในเชิง ววน. ของอุตสาหกรรมเนื้อไก่ได้มีการถูกวิเคราะห์ไว้แล้วในโครงการวิจัย “การกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมของประเทศ (Priority Setting)” โดยตัวอย่างเนื้อหาจากการศึกษาวิเคราะห์ Priority Setting ของอุตสาหกรรมเนื้อไก่ ที่เป็นกิจกรรมต้นน้ำ ประเภทอาหารสัตว์ยาสัตว์ พบว่า ทิศทางของอาหารสัตว์ ยาสัตว์และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมและเป็นที่พึงประสงค์ ควรมีลักษณะเป็นอาหารที่ส่งเสริมให้ไก่เติบโตดี มีอัตราการแลกเนื้อสูง การเลี้ยงให้ไก่เติบโตและมีสุขภาพดีโดยปราศจากยาปฏิชีวนะและสารเร่งประเภทต่างๆ คือ กินดี (สูตรอาหารที่เหมาะสม / functional feed supplement / gut microbiome) อยู่ดี (precision livestock farming) และป้องกันรักษา (autogenous vaccine / biopharma / precision medicine) ดังนั้น ตัวอย่างของ Priority issue ที่มีความสอดคล้องกับทิศทางและความประสงค์ของอุตสาหกรรมนี้ คือ 1) การพัฒนาสูตรอาหารไก่ที่เหมาะสม และทำให้มีอัตราการแลกเนื้อสูง 2) การเลือกและพัฒนาสูตร functional ingredient จากสมุนไพร pre/probiotics เพื่อทดแทนการใช้ยา 3) การศึกษาระบบและกลไกจุลชีพในทางเดินอาหารของไก่ (gut microbiome) 4) การพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต autogenous vaccine และ 5) precision medicine สำหรับปศุสัตว์ / drug delivery

          ในกรณีของกิจกรรมกลางน้ำ กระบวนการแปรรูป ปรุงสุกและปรุงรส พบว่าทิศทางที่เหมาะสม คือ การปรุงสุกและปรุงรสชาติอาหารแบบแม่นยำตรงกับความต้องการของผู้บริโภค การใช้สารปรุงรสโดยลดการใช้สารที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ เช่น เกลือและน้ำตาล รวมถึงการแช่เย็นแช่แข็งที่รักษารสชาติและคุณภาพของเนื้อไก่ (taste & texture) โดยตัวอย่างของ priority issue ที่สอดคล้องกับทิศทางดังกล่าว คือ 1) การพัฒนาระบบการปรุงสุกแบบแม่นยำ (precision cooking) 2) การพัฒนาองค์ความรู้เรื่องการรับรส/ประสาทสัมผัสแบบละเอียดในระดับโมเลกุล (molecular sensory science) เพื่อที่จะสามารถหาสารปรุงรสที่มาทดแทนเกลือหรือน้ำตาลได้ และ 3) การพัฒนา freezing technology ที่รักษาคุณภาพของอาหาร เช่น cell-alive system (CAS) สำหรับตัวอย่างกิจกรรมปลายน้ำ ทิศทางที่เหมาะสมสำหรับการตรวจสอบย้อนกลับ คือ ผลิตภัณฑ์อาหารสามารถมีระบบตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดห่วงโซ่คุณค่า มีระบบที่สามารถวิเคราะห์และชี้เป้าสาเหตุ และพยากรณ์ปัญหา food safety และปัญหาอื่นๆ ในผลิตภัณฑ์อาหาร ในส่วน priority issue ที่เหมาะสม คือ 1) การสร้างเครื่องมือการตรวจสอบการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต (ตั้งแต่ฟาร์ม โรงเชือด โรงงานแปรรูป และการขนส่ง) และ 2) ระบบ big data สำหรับวิเคราะห์และพยากรณ์สาเหตุของปัญหาด้าน food safety

ติดตามอ่านผลการศึกษาวิจัยเชิงระบบด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย ตอนที่ 2 ที่จะมาถอดแนวทางการประเมินขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมยานยนต์ (ยานยนต์ไฟฟ้า) ได้เร็วๆ นี้ ทาง Facebook Fanpage สอวช.

ข้อมูลข่าวโดย : สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)
เผยแพร่ข่าว : นางสาวพรนภา สวัสดี
ส่วนสื่อสารองค์กร
กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
โทรศัพท์ 0 2333 3700 ต่อ 3728 - 3732 โทรสาร 0 2333 3834
Facebook : @MHESIThailand
Call Center โทร.1313
สวทช. โปรแกรม ITAP หนุนผู้ประกอบการ ‘พัฒนาชุดตรวจสอบภาคการเกษตร’ – ‘น้ำยาล้างผักผลไม้’ ช่วยลดปนเปื้อนจุลินทรีย์-สารเคมีตกค้าง ใช้ง่ายทราบผลทันที เลี้ยงปลาหนาแน่นระบบน้ำไหลเวียนอัตโนมัติ ความเสี่ยงต่ำ กำไรสูง

เรื่องล่าสุด

“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. ม ...
ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
“วราภรณ์” รองปลัดกระทรวง อว. มอบวุฒิบัตรและปิดการฝึกอบรม "หลักสูตรการบริหารงานอุดมศึกษาสายสนับสนุนระ...
16 May 2025
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” ร่วมงาน “กระตุก GDP ไทยด้วยกองทุนวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.)“ ผลักดันกำลังคนสมรรถนะ...
16 May 2025
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบ ...
ข่าวรัฐมนตรี ศุภมาส
“ศุภมาส” เปิดตัวโครงการ TNA ฉบับที่ 2 รองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของไทย ผลักดันเทคโนโลยีสู้วิก...
15 May 2025

กระทรวงการ อว.

  • อว.พารับส่วนลด
    • รวมรายการสินค้าและบริการ
    • ท่องเที่ยว
    • อาหาร
    • บริการ
    • ชอปปิง
  • User Menu (Discount)
    • เนื้อหาของฉัน
    • แก้ไขข้อมูลส่วนตัว
    • ออกจากระบบ
  • เมนูหลัก
    • Home
    • About us
      • History
      • Vision Mission
      • Policy / Strategy
      • เครื่องหมายราชการ และ ตราสัญลักษณ์กระทรวง
      • Mission Structure
      • Executive
      • Government Division
      • Government Weblink
      • Legal
      • CIO
    • Flagship Project
    • Scholarships
      • ทุนกระทรวงทั้งหมด
      • ทุนพัฒนาอาจารย์
      • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
      • ทุนวิจัย
    • Service
      • บริการทั้งหมด
      • สถาบันอุดมศึกษา
      • นิสิต/นักศึกษา
      • อาจารย์
      • นักวิทยาศาสตร์/นักวิจัย
      • ผู้ประกอบการ
      • ภาครัฐ
    • News
      • ประมวลภาพกิจกรรม "น้อมรำลึก ในหลวง ร.9"
      • ภาพข่าวและกิจกรรม
        • ข่าวรัฐมนตรี
        • ข่าวผู้บริหาร สป.อว.
        • ข่าวสารหน่วยงาน
      • ข่าวสารและประกาศ
        • ข่าวประกาศ
        • ประกาศงานบุคลากร
        • ข่าวประชุม อบรม สัมนา
        • ข่าวสารน่าสนใจ [พรบ.ข่าวสาร]
    • Data Repository
      • เอกสารเผยแพร่กระทรวง
      • เอกสารเผยแพร่จากภายนอก
      • e-Book เพราะเธอเป็นลมหายใจ
      • e-Book S&T Series
      • Infographic
      • วีดิทัศน์
      • Mobile Application
        • สำหรับ iOS
        • สำหรับ Andriod
    • ศูนย์บริการร่วม
      • ความเป็นมาศูนย์บริการประชาชน
      • รางวัลและผลงานเด่น
      • ติดต่อศูนย์บริการร่วม
      • สาระน่ารู้
  • แนะนำหน่วยงาน
    • ความเป็นมา
    • Vision and Mission
    • นโยบาย/ยุทธศาสตร์กระทรวง
    • โครงสร้างภารกิจกระทรวง
    • ผู้บริหารกระทรวง
    • การแบ่งส่วนราชการ
    • ลิงก์หน่วยงาน
    • กฏหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ
    • เกี่ยวกับซีไอโอ
  • ทุนกระทรวง
    • ทุนกระทรวงทั้งหมด
    • ทุนพัฒนาอาจารย์
    • ทุนสำหรับนิสิต/นักศึกษา
    • ทุนวิจัย
  • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ภาพข่าวและกิจกรรม
    • ข่าวผู้บริหาร
    • ข่าวสารหน่วยงาน
  • เมนูอื่นๆ
    • Thai University Consortium
    • ห้องสมุด อว.
    • Search
    • คำถามที่พบบ่อย
    • แบบฟอร์มร้องเรียน
    • Contact
    • Sitemap
    • สถิติการเข้าชมเว็บไซต์
    • เข้าสู่ระบบ/ออกจากระบบ

map แผนที่และการเดินทาง

faqคำถามที่พบบ่อย

faqเสนอแนะ/ร้องเรียน

faqแผนผังเว็บไซต์

กระทรวง อว.

แอปพลิเคชั่นทั้งหมดของกระทรวง

ios app andriod app 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)
เป็นหน่วยงานของรัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อขับเคลื่อนการอุดมศึกษาไทย วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ไปสู่มาตรฐานในระดับสากล และเพิ่มอันดับความสามารถการแข่งขันในระดับนานาชาติอย่างยั่งยืน ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสวงหากำไร หากท่านพบว่ามีข้อมูลใดๆ ที่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาปรากฏอยู่ในเว็บไซต์นี้ โปรดแจ้งให้ทราบ เพื่อดำเนินการแก้ปัญหาดังกล่าวโดยเร็วที่สุดต่อไป

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.

WCAG 2.0 (Level AAA)

ติดตามเราได้ที่   facebook twitter youtube This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

© 2020 Ministry of Higher Education, Science, Research and Innovation. ALL RIGHTS RESERVED.